หน้าแรก เรียนธุรกิจดิจิทัล ข่าว/บทความ

ยุคดิจิทัลมาแล้ว! เมื่อตัวเลขบอกว่าประเทศไทย ติดอันดับประเทศที่ใช้ E-commerce มากที่สุด!!

วันที่เวลาโพส 24 มีนาคม 60 17:48 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium


ไม่รู้เมื่อไหร่ที่การซื้อของออนไลน์กลายเป็นเรื่องง่ายกว่าจ่ายตลาด เราไม่จำเป็นต้องกดเงินออกมาจากตู้ ATM เลยด้วยซ้ำ แค่มี Smart Phone สักเครื่องก็ซื้อของออนไลน์กันได้แล้ว ยังไม่ต้องพูดถึงการออกไปตากแดด หรือทนรถติดบนถนนเมืองไทยที่หายนะพอๆ กัน แต่ถ้าตั้งใจจะไปเดินซื้อของ ช็อปปิ้ง พบปะผู้คนนั้นก็อีกเรื่อง เพราะไม่ว่าจะเป็นการซื้อของออนไลน์ หรือออกไปซื้อเองต่างก็เป็นทางเลือก ที่แล้วแต่สะดวกของแต่ละคน

UploadImage

 
ว่าด้วยเรื่องของการ ซื้อ-ขาย ของออนไลน์ ดูเหมือนจะเป็นอีกเรื่องที่กำลังมีแนวโน้มไปในทางที่ดี และเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจตัวเลขผู้ใช้อินเตอร์เน็ต และ Social Media ประจำปี 2017 ที่เก็บข้อมูลโดย We Are Social ดิจิทัลเอเจนซี่ในประเทศสิงคโปร์ และ Hootsuite เครื่องมือเพื่อการจัดการ Social Media พบว่า นอกจากคนไทยจะใช้ Social Media สูงติดอันดับโลกแล้ว เรายังใช้บริการ E-commerce กันสูงมากอีกด้วย



UploadImage

ไม่ใช่เรื่องง่ายกับการบอกตัวเลขที่ชัดเจนของมูลค่าการชอปปิงออนไลน์ทั่วโลก แต่ eMarketer คาดการว่ามีผู้ใช้บริการ E-commerce มากกว่า 1.6 พันล้านรายทั่วโลก คิดเป็น 22% ในปี 2016 การใช้จ่ายรวมกันทั้งหมดประมาณ 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เฉลี่ยแล้วมีการใช้จ่ายต่อคนอยู่ที่ ประมาณ 1,189 เหรียญสหรัฐฯ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ผู้ให้บริการ E-commerce จะมีรายได้จากลูกค้าหนึ่งคนมากกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน
 


UploadImage


ตัวเลขการใช้ E-commerce ในไทย
 

UploadImage

ประเทศไทยมีผู้ซื้อของผ่านระบบ E-commerce ในเดือนที่ผ่านมา (ธันวาคม 2016) 51% อยู่ในลำดับที่ 15 ของโลก


UploadImage

ในส่วนของการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน Smart Phone ประเทศที่มีสัดส่วนเยอะที่สุดคือ เกาหลีใต้ 55% ส่วนประเทศไทย อยู่ในลำดับที่ 3 มี 41%


UploadImage

เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ไทยมีอัตราการเติบโตของตลาด E-commerce เพิ่มขึ้นถึง 60% สูงเป็นอันดับที่ 6 ของโลก


UploadImage 

แต่ค่าเฉลี่ยการใช้จ่ายต่อคนยังถือว่าไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ คือ อยู่ที่ 212 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 7,434 บาท)


UploadImage

ข้อมูล และรูปภาพจาก
We Are Social 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด