สอบเข้ามหาวิทยาลัย

ประกาศผลสอบ O-NET ป.6 และ ม.3 สทศ. ประกาศแล้ว!!! คะแนน สอบโอเน็ต 60 (ปีการศึกษา 2559)

UploadImage
 
   สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) ได้ดำเนินการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ประจำปีการศึกษา 2559 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สอบวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560 และประกาศผลสอบวันที่ 24 มีนาคม 2560 (เดิมกำหนดวันที่ 25 มีนาคม 2560) สำหรับ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สอบวันที่ 4 และ 5 กุมภาพันธ์ 2560 และประกาศผลสอบวันที่ 25 มีนาคม 2560 (เดิมกำหนดวันที่ 26 มีนาคม 2560) ทางเว็บไซต์ www.niets.or.th โดย สทศ. ได้วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานจำแนกตามสังกัด ขนาดโรงเรียน ที่ตั้ง ภูมิภาค และรายสาระการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา ปรากฎผลดังนี้

UploadImage
UploadImageUploadImage
 
จากผลสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559

       1.1 จำแนกตามสังกัด พบว่า โรงเรียนที่อยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (โรงเรียนสาธิต) มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดทุกวิชา (วิชาภาษาไทย 59.82 สังคมศึกษาฯ 64.32 ภาษาอังกฤษ 57.58 คณิตศาสตร์ 56.58 และวิทยาศาสตร์ 50.11)

       1.2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน (ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่พิเศษ) ที่ตั้ง (ในเมือง นอกเมือง) และภูมิภาค (กรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก) พบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในการสอบทุกวิชา โรงเรียนที่ตั้งในเมืองมีคะแนนสูงกว่าโรงเรียนที่ตั้งนอกเมืองทุกวิชา และโรงเรียนในกรุงเทพมหานครมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด และมีคะแนนสูงกว่าโรงเรียนที่ตั้งในภาคอื่นๆ ทุกวิชา ทั้งนี้ โรงเรียนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ภาคตะวันออก และภาคเหนือมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศทุกวิชา

      1.3 จำแนกตามรายสาระการเรียนรู้ พบว่า สาระการเรียนรู้ที่มีคะแนนเฉลี่ย () สูงสุดในแต่ละวิชาดังนี้

          1.3.1 วิชาภาษาไทย คือ สาระการฟัง การดู และการพูด

          1.3.2 วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม คือ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม

          1.3.3 วิชาภาษาอังกฤษ คือ สาระภาษาเพื่อการสื่อสาร

          1.3.4 วิชาคณิตศาสตร์ คือ สาระเรขาคณิต

          1.3.5 วิชาวิทยาศาสตร์ คือ สาระสิ่งมีชีวิตกับการดำรงชีวิต

       1.4 ภาพรวมผลสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าผลสอบ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 3 วิชา คือ ภาษาไทย สังคมศึกษาฯ และภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาที่เหลือ (คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์) มีคะแนนเฉลี่ยใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559

UploadImage
UploadImage

จากผลสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559

      2.1 จำแนกตามสังกัด พบว่า โรงเรียนที่อยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (โรงเรียนสาธิต) มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดทุกวิชา (วิชาภาษาไทย 65.06 สังคมศึกษาฯ 64.02 ภาษาอังกฤษ 63.36 คณิตศาสตร์ 64.02 และวิทยาศาสตร์ 53.71)

     2.2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน (ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่พิเศษ) ที่ตั้ง (ในเมือง นอกเมือง) และภูมิภาค (กรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก) พบว่า โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในการสอบทุกวิชา โรงเรียนที่ตั้งในเมืองมีคะแนนสูงกว่าโรงเรียนที่ตั้งนอกเมืองทุกวิชา และโรงเรียนในกรุงเทพมหานครมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด และมีคะแนนสูงกว่าโรงเรียนที่ตั้งในภาคอื่นๆ ทุกวิชา ทั้งนี้ โรงเรียน ที่อยู่ในกรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศทุกวิชา

     2.3 จำแนกตามรายสาระการเรียนรู้ พบว่า สาระการเรียนรู้ที่มีคะแนนเฉลี่ย () สูงสุดในแต่ละวิชาดังนี้

          2.3.1 วิชาภาษาไทย คือ สาระการฟัง การดู และการพูด

          2.3.2 วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม คือ สาระเศรษฐศาสตร์

          2.3.3 วิชาภาษาอังกฤษ คือ สาระภาษาเพื่อการสื่อสาร

          2.3.4 วิชาคณิตศาสตร์ คือ สาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

          2.3.5 วิชาวิทยาศาสตร์ คือ สาระดาราศาสตร์และอวกาศ

       2.5 ภาพรวมผลสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าผลสอบปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 วิชา คือ ภาษาไทย ส่วนวิชาที่เหลือ (สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, คณิตศาสตร์,ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์) มีคะแนนเฉลี่ยใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา นอกจากการประกาศผลสอบ O-NET จำแนกตามตัวแปรแล้ว สทศ. ได้จัดทำใบรายงานผลสอบ O-NET แบ่งเป็น

      3 ระดับ คือ (1) ระดับรายบุคคล (2) ระดับโรงเรียน (3) ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (4) ระดับศึกษาธิการจังหวัดและระดับศึกษาธิการภาคเพื่อให้นักเรียน โรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครูอาจารย์ ต้นสังกัดและผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำผลสอบ O-NET ไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป