สอบเข้ามหาวิทยาลัย

ปฏิรูปการศึกษาไทยในสมัยราชกาลที่ 5 [23 ตุลาคม วันปิยมหาราช]



วันปิยมหาราช วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในรัชสมัยของพระองค์ สยามประเทศได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างความวัฒนาให้กับชาติเป็นจำนวนมาก และนอกจากการเลิกทาสที่พวกเรารู้กันอยู่แล้ว พระองค์ยังให้ความสำคัญกับการศึกษามากอีกด้วย
 
การศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากที่พระองค์ได้ครองราชย์แล้ว ก็ได้ทรงปรับปรุงประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน ทั้งในด้านการปกครอง การศาล การคมนาคมและสาธารณสุข เป็นต้น โดยเฉพาะด้านการศึกษานั้นพระองค์ได้ทรงตระหนัก เพื่อปรับปรุงคนในประเทศให้มีความรู้ความสามารถจะช่วยให้ ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน ดังพระราชดำรัสที่ว่า


“ วิชาหนังสือเป็นวิชาที่น่านับถือและเป็นที่น่าสรรเสริญมาแต่โบราณว่า เป็นวิชาอย่างประเสริฐซึ่งผู้ยิ่งใหญ่นับแต่ พระมหากษัตริย์เป็นต้นมา ตลอดจนราษฎรพลเมืองสมควรและจำเป็นจะต้องรู้เพราะเป็นวิชาที่อาจทำให้การทั้งปวงสำเร็จในทุกสิ่งทุกอย่าง…"
(ประไพ เอกอุ่น. 2542 : 83 - 84)


การที่พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงได้มีการจัดการศึกษาอย่างมีระเบียบแบบแผน (Formal education) มีโครงการศึกษาชาติ มีโรงเรียนเกิดขึ้นในวังและในวัด มีการกำหนดวิชาทีเรียน มีการเรียนการสอบไล่ และมีทุนเล่าเรียนหลวงให้ไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยที่มีผลในการปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้มีหลายปัจจัย 
 


Timeline การปฏิรูปการศึกษาไทยในสมัยราชกาลที่ 5
 
พ.ศ. 2414 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร) เรียบเรียงแบบเรียนหลวงขึ้น 1 เล่ม ชุดมูลบรรพกิจ เพื่อใช้เป็นบทหลักสูตรวิชาชั้นต้นปี เริ่มมีการจัดแบบเรียนหลักสูตรและการสอบไล่ จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อฝึกคนให้เข้ารับราชการ มีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร) ในขณะนั้นเป็นหลวงสารประเสริฐเป็นอาจารย์ใหญ่ โดยมีการสอนหนังสือไทย การคิดเลข และขนบธรรมเนียมราชการ นอกจากมีการจัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับสอนภาษาอังกฤษในพระบรมมหาราชวัง เกิดจากแรงผลักดันทางการเมืองที่ส่งผลให้ไทยต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อจะได้เจรจากับมหาอำนาจตะวันตก และมีการส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาครูที่ประเทศอังกฤษ
 
พ.ศ. 2423 จัดตั้งโรงเรียนสุนันทาลัยในพระบรมมหาราชวังเป็นโรงเรียนสตรี
 
พ.ศ. 2424 ปรับปรุงโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบให้เป็นโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก ต่อมาได้กลายเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน
 
พ.ศ. 2427 กำหนดหลักสูตรชั้นประโยคหนึ่ง โดยอนุโลมตามแบบเรียนหลวงหกเล่ม นับเป็นปีแรกที่จัดให้มีการสอบไล่วิชาสามัญ และมีการกำหนดหลักสูตรชั้นประโยคสอง ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เกี่ยวกับวิชาสามัญศึกษา หมายถึง ความรู้ต่าง ๆ ที่ต้องการใช้สำหรับเสมียนในราชการพลเรือนตามกระทรวงต่าง ๆ จัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นตามวัดในกรุงเทพมหานครหลายแห่ง และแห่งแรก คือ โรงเรียนมหรรณพาราม
 
พ.ศ. 2430 ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกรมศึกษาธิการโดนโอนโรงเรียนที่สังกัดกรมทหารมหาดเล็กมาทั้งหมด ให้กรมหมื่นดำรงราชานุภาพเป็นผู้บัญชาการอีกตำแหน่งหนึ่ง
 
พ.ศ. 2432 รวมกรมศึกษาธิการเข้าไปอยู่ในบังคับบัญชาของกรมธรรมการ ตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น เรียกว่า โรงเรียนแพทยากร ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำหน้าโรงพยาบาลศิริราช ใช้เป็นที่สอนวิชาแพทย์แผนปัจจุบัน
 
พ.ศ. 2435 ประกาศตั้งกระทรวงธรรมการ มีเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เป็นเสนาบดี มีหน้าที่ในการจัดการศึกษา การพยาบาล พิพิธภัณฑ์และศาสนา จัดตั้งโรงเรียนมูลศึกษาขึ้นในวัดทั่วไปทั้งในกรุงเทพมหานครและหัวเมือง โดยประสงค์จะขยายการศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยให้แพร่หลายเป็นแบบแผนยิ่งขึ้น และตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเป็นแห่งแรกที่ตำบลโรงเลี้ยงเด็ก ต่อมาย้ายไปอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาส
 
พ.ศ. 2459 จัดตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
 
ขอบคุณข้อมูลจาก : CurriculumDesignBySu