หน้าแรก เรียนเป็นผู้ประกอบการ ข่าว/บทความ

เพราะมีคนเหงามากกว่าเสาไฟฟ้า "บริการเช่าลุง" ธุรกิจแปลก แต่โดนใจคนเหงาในญี่ปุ่น

วันที่เวลาโพส 09 พฤษภาคม 60 11:50 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium

"บริการเช่าลุง" ธุรกิจให้เช่าคนแปลกหน้าเพื่อรับฟังเรื่องราวต่างๆ ในใจที่บอกใครไม่ได้
ธุรกิจที่สะท้อนความเคร่งเครียดในสังคมญี่ปุ่นได้อย่างชัดเจน

UploadImage

อย่างที่เรารู้กันมาตลอดว่า สังคมของประเทศญี่ปุ่นโดยเฉพาะในเมืองใหญ่นั้น แทบทุกเพศทุกวัยต้องเผชิญกับสารพัดปัญหา ชีวิตแต่ละวันเต็มไปด้วยความเคร่งเครียดและความรู้สึกเก็บกด อยากระบายให้ใครสักคนฟัง แต่หันไปทางไหนก็หาคนๆ นั้นไม่ได้ ด้วยภาวะเคร่งเครียดสะสมทั้งหมดที่กล่าวมา คือที่มาของ “บริการเช่าลุง” หรือ Ossan Rental  บริการเช่าชายวัยกลางคนให้มาคอยรับฟังเรื่องราวความในใจที่ไม่สามารถระบายให้ใครฟังได้แม้แต่คนในครอบครัว ของชายผู้มองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจอย่าง ทะกะโนะบุ นิชิโมะโตะ


UploadImage

เขานำแนวคิดดังกล่าวมาต่อยอดทำเป็นธุรกิจเมื่อ 4 ปีก่อน โดย นิชิโมะโตะ ซึ่งตอนนี้อายุ 48 ปี เคยทำงานในวงการแฟชั่นมาก่อน เขาบอกว่าบริการนี้เป็นเหมือนงานอดิเรกมากกว่า คนที่มาใช้บริการเช่าส่วนใหญ่แค่อยากมีใครสักคนอยู่ข้างๆ สักชั่วโมงสองชั่วโมงคอยรับฟังเรื่องราวในใจ และลูกค้าประจำคนหนึ่งของเขาเป็นหญิงชราอายุกว่า 80 ปีที่อาศัยอยู่ลำพังคนเดียว คุณยายจองคุณนิชิโมะโตะทุกสัปดาห์ให้ไปเดินสวนสาธารณะใกล้บ้านด้วยกัน ซึ่งก็ทำแบบนี้มาหลายปี จนเขารู้สึกราวกับว่าตัวเองเป็นเหมือนลูกชายของคุณยายไปแล้วจริงๆ 


UploadImage

นิชิโมะโตะ บอกอีกว่า ความรู้สึกเก็บกดและความเครียดก็ไม่ได้เป็นเหตุผลเดียวที่คนหันมาใช้ “บริการเช่าลุง” ความรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวเป็นเพียงเหตุผลหนึ่งเท่านั้น เพราะลูกค้าของเขามีความต้องการและเหตุผลที่หลากหลายด้วยกัน เช่น คนที่อยากได้ใครสักคนคอยรับฟังเรื่องราวในใจ คนที่อยากได้คำแนะนำจากคนที่มีวุฒิภาวะและผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร อย่างเช่นนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ยังไม่แน่ใจเรื่องอนาคตของตัวเองแต่ไม่มีใครในครอบครัวที่ให้คำปรึกษาได้ หรือคนที่เพิ่งเข้าทำงานในบริษัทและไม่รู้ว่าจะปฏิบัติตัวกับหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานยังไงดี


UploadImage

คนที่ใช้ “บริการเช่าลุง” บอกว่าบริการนี้ช่วยให้พวกเขาลืมความคาดหวังของครอบครัว รวมถึงคนรอบข้าง และสามารถพูดเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างอิสระ อย่างเช่น โนะโดะกะ เฮียวโด พนักงานบริษัทวัย 24 ปี ที่เคยใช้บริการนี้บอกว่า เธอมักสร้างหน้ากากแบบต่างๆ ให้กับตัวเองแล้วแต่ว่าอยู่กับเพื่อน ครอบครัว หรือแฟน แต่ทั้งหมดนั้นไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของเธอ หน้ากากทั้งหมดหายไปเวลาที่เธอได้พูดคุยกับใครสักคนที่เธอไม่รู้จักและคนๆ นั้นก็ไม่รู้จักเธอ ช่วยให้เธอได้เข้าใจตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง


UploadImage

​ทั้งหมดนั้น ทำให้เขาเห็นโอกาสและรู้สึกว่าปัญหาหรือความเครียดเหล่านี้ควรได้รับการช่วยเหลือทางใดทางหนึ่ง และปัจจุบัน “ลุง” ในสังกัดของนิชิโมะโตะ คือชายที่มีอายุระหว่าง 45-55 ปี มีการคิดค่าบริการชั่วโมงละ 1,000 เยน (ประมาณ 300 บาท) ลูกค้าส่วนใหญ่อายุระหว่าง 30-40 ปี ประมาณ 70% เป็นผู้หญิง และตอนนี้เขามีเครือข่าย “ลุง” ที่พร้อมออกให้บริการทั่วประเทศiกว่า 60 คน


ที่มา : 
www.japantimes.co.jp
workpointtv.com/news
en.rocketnews24.com

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด