หน้าแรก เรียนเป็นผู้ประกอบการ ข่าว/บทความ

มหาวิทยาลัยรัฐหรือเอกชน จะไม่ใช่สิ่งวัดความสำเร็จในตลาดงานยุคไทยแลนด์ 4.0 อีกต่อไป

วันที่เวลาโพส 14 กุมภาพันธ์ 61 18:19 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium
 
เวลาเปลี่ยน ทุกสิ่งในโลกก็เปลี่ยน ไม่เว้นแม้แต่งานหรืออาชีพที่สร้างรายได้ดี ได้รับความนิยม และเป็นที่ต้องการของตลาดงาน อนาคตก็อาจกลายเป็นงานที่ไม่มีใครอยากทำ และอาชีพบางอย่างก็อาจหายไปจากโลก ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะมีเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ รวมไปถึงค่านิยมและวิถีชีวิตของผู้คนที่ปรับเปลี่ยน ยิ่งกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ตลาดงานเปลี่ยนตามไปด้วย 

และที่สำคัญ ประเทศไทย(กำลัง)ก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ตลาดงานก็ยิ่งปรับเปลี่ยนไปจากเดิม แล้วคุณคิดว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ลูกหลานหรือแม้แต่ตัวคุณเอง จะเป็นบัณฑิตหรือบุคลากรแบบไหนที่สามารถจะตอบโจทย์ตลาดงานที่เปลี่ยนไปนี้ได้? ซึ่งบทความนี้ เรามีคำตอบและคำแนะนำจากกูรูด้านตลาดงานหลายท่านมาให้ผู้อ่านทุกคนได้ศึกษาไว้เป็นแนวทางในการปรับตัวสำหรับอนาคตกัน


ผศ.ดร.ลักคณา วรศิลป์ชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในฐานะมหาวิทยาลัยเอกชนที่ต้องก้าวตามความเปลี่ยนแปลงของเทรนด์โลกให้ทัน ด้วยการเปิดสอนสาขาวิชาเฉพาะทางเพื่อผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์ตลาดงานมากขึ้น ได้ให้ความคิดเห็นในประเด็น บัณฑิตแบบไหนจะไปรอด ในตลาดงานยุคไทยแลนด์ 4.0? ไว้ว่า

" เด็กไทยมักขาดความเข้าใจว่า สาขา คณะ หรือมหาวิทยาลัยที่เลือกเรียนนั้น จะนำไปสู่การประกอบอาชีพอะไร เขาจะชอบอาชีพนั้นจริงไหม หรืออาชีพนั้นจะยังมีอยู่ในอนาคตหรือไม่ ทั้งนี้เพราะ สังคมยังสนใจแค่ว่าจะสอบติดที่ไหน มากกว่าสอบติดสาขาอะไร โดยไม่สนใจว่า เรียนไปแล้วจะทำอาชีพอะไรกันแน่ ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ มหาวิทยาลัยต้องเล็งเห็นความสำคัญด้วยการเปิดสอนหลักสูตรที่ทันสมัย ตอบโจทย์ตลาดงานและอาชีพในอนาคต

รวมทั้งส่งเสริมให้เด็กเข้าใจและค้นพบสิ่งที่เขาชอบตั้งแต่เนิ่นๆ แล้วให้เขาเลือกเรียนสาขาวิชาที่ถนัด เพื่อจะผลิตบัณฑิตที่มีโอกาสทำงานรายได้งามและมีอนาคตที่ดี เป็นอาชีพที่เทคโนโลยีหรือหุ่นยนต์ทำแทนไม่ได้ ไม่ใช่จบไปแล้วเคว้งคว้าง ไม่รู้จะทำงานอะไร หรือกลายเป็นงานที่ตกสมัยไปแล้ว " 


ซึ่งจากข้อมูลและความคิดเห็นของกูรูด้านตลาดงาน มหาวิทยาลัยรัฐหรือมหาวิทยาลัยเอกชน ไม่ใช่มาตรวัดความสำเร็จอีกต่อไป แต่บัณฑิตที่จะ “ไปรอด” ในตลาดงานยุคไทยแลนด์ 4.0 นั้น จำเป็นต้อง สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาเฉพาะทาง ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดงาน โดยเฉพาะงานที่สอดรับกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ 

และในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นงานที่ใช้ทักษะเฉพาะตัวและเทคโนโลยีไม่สามารถแทนที่ได้ อีกทั้งต้องมีทักษะภาคปฏิบัติที่แข็งแรงควบคู่กับทักษะภาควิชาการ และ ถ้ามีวิสัยทัศน์ของการเป็นเจ้าของกิจการด้วย ก็จะยิ่งส่งเสริมให้บัณฑิตคนนั้นไม่เพียงแค่ไปรอด แต่สามารถ "ไปได้ไกลกว่า บัณฑิตคนอื่น" ในตลาดงานยุคไทยแลนด์ 4.0 หรืออนาคตต่อจากนี้


ที่มา :
jobsdb.com  
www.mangozero.com

 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด