หน้าแรก เรียนการโรงแรม และการท่องเที่ยว ข่าว/บทความ

นักเดินทางควรรู้ไว้ 8 ด้านดีและแย่ที่สุดของ 10 ประเทศอาเซียน

วันที่เวลาโพส 07 ธันวาคม 60 13:59 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium
ใครที่ชอบท่องเที่ยวหรือเป็นนักเดินทางตัวยง ก่อนออกเดินทางไปที่ไหนแต่ละที ก็ต้องหาข้อมูลพื้นฐานของแต่ละประเทศเอาไว้ก่อน ไม่ว่าจะเรื่อง ค่าครองชีพ ความปลอดภัย การจราจร อาชญากรรม หรือพาสปอร์ต เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด โดยเฉพาะประเทศใกล้ๆ ในแถบอาเซียนบ้านเรา ดังนั้นบทความนี้ AdmissionPremium เราขอนำเสนอ 8 ด้านดีและแย่ที่สุดของ 10 ประเทศอาเซียน จากผลการสำรวจและสถิติเกี่ยวกับด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปในแต่ละประเทศ ตามมาดูกันเลยว่ามีอะไรต้องรู้ไว้บ้าง


1. ด้านการท่องเที่ยว
ประเทศที่ดีที่สุด: ไทย, มาเลเซีย
เรื่องนี้ไม่ต้องสงสัย ไทย เป็นประเทศระดับท็อปเรื่องการท่องเที่ยวของภูมิภาคนี้ (และมีอันดับดีในระดับโลกด้วย) โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่อปีสูงที่สุด ตามมาด้วยมาเลเซีย สิงคโปร์และอินโดนีเซีย

ประเทศที่แย่ที่สุด: บรูไน
มีสถิติเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่แย่ที่สุดในภูมิภาคนี้ ตามมาด้วยเมียนมาร์, ลาว, กัมพูลา, ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม


2. ด้านการจราจร
ประเทศที่ดีที่สุด: สิงคโปร์, มาเลเซีย

ประเทศที่แย่ที่สุด: ไทย, อินโดนีเซีย

เรื่องแรกหลายคนอาจคิดว่า กรุงเทพ คืออันดับ 1 เมืองที่มีการจราจรแย่ที่สุดในอาเซียน ต้องบอกว่าจริงที่ว่าแย่แต่ไม่ใช่ที่สุด เพราะจากการวัดจำนวนชั่วโมงที่รถติดในช่วงเร่งด่วน ประเทศไทยอยู่ที่ 61 ชั่วโมง แต่อินโดนีเซียอยู่ที่ 74 ชั่วโมง และนั่นทำให้ จาการ์ตาเป็นเมืองที่การจราจรแย่ที่สุดในโลก ตามมาด้วย กรุงเทพ และมนิลา


3. ค่าครองชีพ
ประเทศที่ดีที่สุด: มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และบรูไน
ตามสถิติ กัวลาลัมเปอร์ มีค่าครองชีพต่ำที่สุดในอาเซียน โดยเป็นอันดับที่ 96 ของโลก ต่ำกว่ามนิลา และบรูไน รวมถึงจาการ์ตา พนมเปญ และโฮจิมินห์ แต่ทั้งนี้ไม่มีข้อมูลของเมียนมาร์และลาว

ประเทศที่แย่ที่สุด: สิงคโปร์
สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีค่าครองชีพแพงที่สุด ไม่ใช่แค่ในอาเซียนเท่านั้น แต่หมายถึงระดับโลก ส่วนกรุงเทพ ตามมาเป็นอันดับสองแบบห่างๆ (สิงคโปร์อยู่อันดับ 51 ส่วนไทยอยู่ 133 จากทั่วโลก)


4. พาสปอร์ต
ประเทศที่ดีที่สุด: ญี่ปุ่น
ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีพาสปอร์ตทรงพลังที่สุดในอาเซียน และทรงพลังเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยสามารถไปได้ 189 ประเทศทั่วโลกโดยไม่ต้องขอวีซ่า ตามมาด้วยสิงคโปร์ 

ประเทศที่แย่ที่สุด: เมียนมาร์, ลาว, เวียดนาม และกัมพูชา
การวัดพลังของพาสปอร์ต โดยการดูว่าพาสปอร์ตสามารถเข้าประเทศใดได้บ้างโดยไม่ต้องขอวีซ่า ซึ่งเมียนมาร์ เป็นประเทศที่พาสปอร์ตมีพลังน้อยที่สุด โดยสามารถเข้าประเทศโดยไม่ต้องขอวีซ่าได้ 41 ประเทศ ขณะที่ลาวเข้าได้ 47 ประเทศ เวียดนามและกัมพูชา 49 ประเทศ อินโดนีเซีย 59 ประเทศ ฟิลิปินส์ 61 ประเทศ 


5. สิทธิสตรี
ประเทศที่ดีที่สุด: ฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ติดท็อป 10 โดยอยู่อันดับ 7 ขณะอันดับ 2 คือ ลาว แต่อยู่อันดับที่ 43 ของโลก

ประเทศที่แย่ที่สุด: กัมพูชา, มาเลเซีย และบรูไน
มีการรณรงค์เรื่องสิทธิและเสรีภาพของสตรีอย่างมาก แต่หลายประเทศก็ยังมีปัญหาเรื่องนี้ กัมพูชามีช่องว่างทางเพศที่ใหญ่ที่สุดในด้านการเข้าถึงทรัพยากรและโอกาสต่างๆ รวมถึงการเข้าถึงด้านสุขภาพ, การศึกษา, การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ และอำนาจทางการเมือง โดยกัมพูชาอยู่อันดับที่ 112 จาก 144 ประเทศ ตามมาด้วยมาเลเซีย (106) บรูไน (103) ไทย (71) และ เวียดนาม (65)


6. ความยากจน
ประเทศที่ดีที่สุด: สิงคโปร์, บรูไน

ประเทศที่แย่ที่สุด: เมียนมาร์, ฟิลิปปินส์
จากข้อมูล เมียนมาร์มีประชากร 25.6% มีฐานะยากจนต่ำกว่าเกณฑ์ ฟิลิปปินส์ ตามมาติดๆ ที่ 25.2% ตามด้วย ลาว 23.2% กัมพูชา 13.5% อินโดนีเซีย 11.2% ไทย 10.9% เวียดนาม 8.4% และมาเลเซีย 0.6%


7. อาชญากรรม
ประเทศที่ดีที่สุด: สิงคโปร์
เมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียทั้งหมด ประเทศสิงคโปร์ ถือว่าปลอดภัยเป็นอันดับ 2 ตามหลังโตเกียว

ประเทศที่แย่ที่สุด: อินโดนีเซีย, เวียดนาม และกรุงเทพ
ตามสถิติ จาการ์ตา เป็นเมืองที่ปลอดภัยน้อยที่สุดในเอเชีย ตามมาด้วย โฮจิมินห์, มุมไบ และเดลี ขณะที่กรุงเทพ ตามมาเป็นอันดับที่ 5 ซึ่งการสำรวจตัวชี้วัดกว่า 40 ประเภท เช่น ความปลอดภัยทางดิจิทัล ความปลอดภัยทางสุขภาพ ความปลอดภัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงความปลอดภัยส่วนบุคคล


8. การคอรัปชั่น
ประเทศที่ดีที่สุด: สิงคโปร์, บรูไน

ประเทศที่แย่ที่สุด: อินโดนีเซีย, เมียนมาร์ และเวียดนาม

การสำรวจความกังวลใจเกี่ยวกับการคอรัปชั่น อินโดนีเซีย, เมียนมาร์ และเวียดนาม เป็นกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงสูงในการคอรัปชั่น ตามมาด้วยลาว ไทย กัมพูชา มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ ถ้าดูจากอันดับแล้ว ไทยก็ตามมาเป็นอันดับ 5 ก็ถือว่าน่าเป็นห่วงเช่นกัน


ที่มา :
brandinside.asia
www.rappler.com



 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด