Master Degree

รมช.คมนาคม ถกหน่วยงานการศึกษาควรเร่งพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากรด้าน "การคมนาคมระบบราง" ให้เพียงพอต่อความต้องการ

          นายพิชิต อัคราทิตย์ รมช.คมนาคม กล่าวปาฐกถาเรื่อง "โอกาสของการยกระดับศักยภาพของบุคลากรไทยผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทางราง" ในการประชุมผู้บริหารเครือข่ายสถาบันวิชาการระบบขนส่งทางราง เพื่อกำหนดความต้องการด้านการพัฒนาบุคลากร และองค์ความรู้ที่สำคัญ ณ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ ว่าด้วยการพัฒนาระบบรางเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ไทยเป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง โดยอีกประมาณ 5 ปีหลังจากนี้โครงการรถไฟฟ้าต่างๆ จะทยอยเปิดให้บริการ ทั้งรถไฟฟ้าหลากสีในกทม. รถไฟฟ้ารางเบา รถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งไทยจะต้องการบุคลากรด้านราง ตั้งแต่ระดับสูงถึงระดับปฏิบัติการ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นคน


          ปัจจุบันศักยภาพในการผลิตบุคลากรด้านรางของไทยยังมีไม่มากนัก ซึ่งในขณะนี้มีสถาบันที่ผลิตบุคลากรด้านนี้เพียงไม่กี่แห่ง อาทิ โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ มหิดล, ม.เกษตรศาสตร์, ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ม.หอการค้า, ม.รังสิต และสถาบันอาชีวศึกษา 12 แห่ง รวมแล้วผลิตบุคลากรได้ปีละประมาณ 1,000 คน อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีบุคลากรด้านการขนส่งทางรางแล้ว 1 หมื่นคน ในระยะเวลาเหลืออีก 4 - 5 ปีจึงต้องเร่งดำเนินการผลิตบุคลากรให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้



          การจะพัฒนาหรือสร้างบุคลากรทางระบบรางให้มีคุณภาพนั้น องค์ความรู้ต่างๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่ว่าจะเป็น การสร้างระบบราง, ระบบอาณัติสัญญาณ, ระบบการควบคุมสถานี และการควบคุมรถ เป็นต้น จึงต้องร่วมกันคิดว่าจะมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบรางอย่างไรที่จะทำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะการผลิตบุคลากรแต่ละประเภทต้องลงทุนทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือในการเรียนรู้ วิจัย และพัฒนา ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ดังนั้นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวคงไม่สามารถทำได้ จึงต้องแบ่งกันว่าสถาบันใดจะรับผิดชอบผลิตบุคลากรในด้านใด  จำเป็นที่จะต้องทำเป็นโรงเรียนหรือวิทยาลัยต่างๆ เพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งภายใน 6 เดือนหลังจากนี้จะเห็นภาพชัดเจนว่าจะเป็นอย่างไรและเปิดสอนในระดับใดบ้าง
 

          โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบรางครั้งนี้จะให้ทางจีนเข้ามาร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับไทยด้วย เพราะเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขในสัญญาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-หนองคายที่รัฐบาลไทยได้กำหนดไว้ โดยเบื้องต้นจะให้มีการจัดตั้งบริษัทร่วมกันระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และทางจีน เป็นบริษัทบริหารจัดการเดินรถและซ่อมบำรุง ซึ่งจากการหารือเบื้องต้นทางจีนก็พร้อม เพราะเป็นหน้าที่หลักที่จีนต้องทำให้ไทยสามารถเดินรถได้ และต้องซ่อมรถให้ได้ด้วย


 

ข้อมูลจาก : dailynews
 

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

เทคโนโลยีชีวภาพ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์และหลากหลาย ...

วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีซ่อมบำรุงอากาศยาน มหาวิทยาลัยรังสิต

อุตสาหกรรมการบินของโลกตอนนี้ปัจจุบันมีสายการบินโลว์คอสแอร์ไลน์ ...

วิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม

น้องๆ คนไหนที่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ เช่น เคมี ชีวะ และมีความสนใจเกี่ยวกับการแปรรูปอาหาร ...