สอบเข้ามหาวิทยาลัย

1 กันยายน วันสืบ นาคะเสถียร ต้นแบบแห่งนักอนุรักษ์

UploadImage



หลายคนรู้จักสืบ นาคะเสถียรผ่านบทเพลง “สืบทอดเจตนา (สืบ นาคะเสถียร)” ที่ถ่ายทอดผ่านวงคาราบาว หลายคนรู้จักสืบในถานะนักอนุรักษ์ผู้พลีชีพเพื่อพื้นป่า แต่น้อยนักสำหรับคนรุ่นหลังที่จะรู้จักเขาคนนี้ สืบ นาคะเสถียรเป็นใคร มีความสำคัญอย่างไร เรามาค่อยๆ ทำความรู้จักผู้ชายคนนี้ในมิติของ AdmisionPremium.com ผ่านสิ่งที่เขาเรียน และงานที่เขาทำไปพร้อมกันเลยครับ


 
สืบสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และระดับปริญญาโทในสาขาวิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สาขาที่เรียนเกี่ยวกับ การเกิด การเติบโต ผลผลิต องค์ประกอบ และคุณภาพของพืช ในป่าธรรมชาติ ป่าปลูกและระบบวนเกษตร เน้นการเรียนด้านทฤษฎี หลักการ และเทคโนโลยีในการปลูก การบำรุง และการปรับปรุงพันธุ์พืช ไปจนถึงการจัดการดินในป่าไม้ การจัดการไฟป่า รวมทั้งการอารักขาป่าไม้เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการป่าธรรมชาติ สวนป่า และพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง ต่อมาปี พ.ศ. 2522 สืบได้รับทุนการศึกษาจากบริติชเคาน์ซิล จึงศึกษาระดับปริญญาโทสาขาอนุรักษวิทยา มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ด้วยเหตุนี้เองงานของสืบจึงเกี่ยวเนื่องอยู่กับการอนุรักษ์ป่า และสัตว์ป่า
 


งานแรกของสืบเริ่มต้นหลังเขาจบปริญญาตรี ที่การเคหะแห่งชาติ ก่อนจะเข้าไปทำงานเชิงอนุรักษ์เต็มตัวหลังจบการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในถานะข้าราชการเป็นพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ เพราะต้องการงานเกี่ยวกับสัตว์ป่า งานแรกของสืบคือการประจำอยู่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ จังหวัดชลบุรี


 
หลังจากจบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ จึงกลับมารับตำแหน่งหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ ก่อนจะขอย้ายไปเป็นนักวิชาการประจำกองอนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว ต่อมาจึงเข้าทำงานที่แก่งเชี่ยวหลาน เป็นหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าในพื้นที่มากกว่าหนึ่งแสนไร่ แต่มีงบประมาณเริ่มต้นเพียงแปดแสนบาท


 
สุดท้ายที่ห้วยขาแข้งในปี พ.ศ. 2531 สืบกลับเข้ารับราชการที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า และพยายามเสนอให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งเป็นมรดกโลกเพื่อเป็นหลักประกันว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดังกล่าวจะได้รับการพิทักษ์รักษาถาวร และพยายามผลักดันการสร้างแนวป่ากันชนเพื่อกันชาวบ้านออกนอกแนวกันชน และพัฒนาพื้นที่ในแนวกันชนให้เป็นป่าชุมชนที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์ได้ แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจ จนกระทั้งเขาตัดสินใจปลิดชีพตัวเองในเช้าของวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 ด้วยความที่ต้องรับแรงกดดันกดดันหลายๆด้าน และเป็นการเรียกร้องต่อหน่วยงานภาครัฐให้ใส่ใจต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างแท้จริง




ขอบคุณข้อมูลจาก : wikipediaforest.ku.ac.th
ขอบคุณภาพจาก : pantip.com