สอบเข้ามหาวิทยาลัย

พระอัจฉริยภาพทางด้านศิลปะและการกีฬาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระอัจฉริยภาพด้านงานศิลปะ 



พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระราชสมัญญาว่า“อัครศิลปิน”เนื่องจากทรงพระปรีชาสามารถในงานศิลปะหลายแขนง และทรงนำพระอัจฉริยภาพเหล่านี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศตลอดมา
 
 
UploadImage
 

- ด้านจิตรกรรม
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเชี่ยวชาญด้านจิตรกรรม ทรงเริ่มวาดภาพเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๒ ภาพวาดฝีพระหัตถ์เป็นแบบภาพเหมือน โดยทรงศึกษาและเขียนจากต้นแบบจริงต่อมาระหว่าง พุทธศักราช ๒๕๐๕-๒๕๐๗ ผลงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ที่มีลักษณะการตัดทอนรูปทรงจากแนวเหมือนจริง(Realistic)เป็นการเขียนแบบไม่ยึดติดรูปแบบที่เหมือนจริง พุทธศักราช ๒๕๐๘ - ๒๕๑๐ ลักษณะงานเป็นแบบแสดงออกถึงรูปทรง (Figurative)และไร้รูปทรงหรือนามธรรม (Abstraction) ตลอดจนกึ่งนามธรรม (Semi – Abstraction) และในระยะต่อมาทรงเริ่มเขียนแบบฉับพลัน ที่เรียกว่า แบบเอ็กเพรสชันนิสซึ่ม
(Expressionism) เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๖ ได้พระราชทานภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ร่วมแสดงในงานศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ ๑๔ เป็นการแสดงนิทรรศการภาพฝีพระหัตถ์ครั้งแรกของพระองค์ ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๕ ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์จำนวน ๔๗ องค์ ไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และเมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๙ ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้รัฐบาลเชิญผลงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ไปจัดแสดง ณ ห้องพระอัจฉริยภาพในการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี ที่ อิมแพคเมืองทองธานี




ด้านประติมากรรม
ผลงานประติมากรรมฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สำคัญคือ ประติมากรรมลอยตัว (RoundRelief) สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถครึ่งพระองค์ สูง ๑๒ นิ้ว และประติมากรรมหญิงเปลือยนั่งคุกเข่าสูง ๙ นิ้ว ที่ทรงปั้นด้วยดินน้ำมัน และยังโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างพระพุทธรูปและพระพิมพ์ในโอกาสต่างๆ เช่น พระพุทธรูปปางประทานพร ภปร. พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล และทรงแกะแบบแม่พิมพ์ พระพิมพ์ที่เรียกกันว่าสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน ทรงบรรจุผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ด้วยพระองค์เอง โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท และเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๓ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้าง พระพุทธนวราชบพิตร พระราชทานแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ เชิญไปประดิษฐานเพื่อความเป็นสิริมงคล
 
 
UploadImage
 


- ด้านการถ่ายภาพ
ทรงเชี่ยวชาญการถ่ายภาพทั้งกล้องธรรมดาและกล้องถ่ายภาพยนตร์ ในระยะแรกทรงถ่ายภาพด้วยกล้องที่ไม่มีเครื่องวัดแสงในตัวจึงต้องทรงคำนวณความเร็วของแสงด้วยพระองค์เองจนสามารถวัดแสงได้อย่างแม่นยำ ทรงประดิษฐ์แผ่นกรองแสงขึ้นเองที่เรียกว่า Bicolocer Filter ได้ตั้งแต่ยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย ทั้งยังทรงเชี่ยวชาญในการล้างฟิล์มอัดขยายภาพขาวดำและภาพสี เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นต่างๆ จะทรงถ่ายภาพด้วยพระองค์เองตามพระราชประสงค์ที่จะทรงใช้โดยเฉพาะในการพัฒนาประเทศ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์มิได้แสดงคุณลักษณะแห่งศิลปะเพียงอย่างเดียว หากยังอำนวยประโยชน์อเนกอนันต์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน 
 
UploadImage
 


พระปรีชาสามารถด้านกีฬา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดทรงกีฬาต่างๆเป็นต้นว่า เรือใบ แบดมินตัน สกีน้ำ และการออกกำลังพระวรกายด้วยการว่ายน้ำ ทรงพระปรีชาสามารถในการทรงเรือใบ และเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๐ ได้ทรงเรือใบประเภทโอเคที่ทรงต่อเองเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเรือใบระหว่างประเทศในการแข่งขันกีฬาแหลมทองโดยทรงชนะเลิศ 
 
UploadImage
 


- ด้านการช่าง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีฝีพระหัตถ์เป็นเยี่ยมในด้านการช่าง ทั้งช่างไม้ ช่างโลหะ และช่างกล ซึ่งเป็นงานพื้นฐานด้านวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อยังทรงพระเยาว์ ทรงสร้างมอเตอร์ไฟฟ้าใช้เอง ทรงสร้างเครื่องรับวิทยุร่วมกับพระเชษฐาธิราช โดยซื้ออุปกรณ์ราคาถูกมาประกอบเอง ทรงจำลองสิ่งของต่างๆ ได้หลายอย่าง ทรงประดิษฐ์เครื่องร่อนที่บินร่อนได้จริง ทรงจำลองเรือรบหลวงของไทยชื่อ “ศรีอยุธยา”ซึ่งยาวเพียงสองฟุต มีทั้งสายเคเบิ้ล และปืนเรือครบครันเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มต่อเรือใบ ตามมาตรฐานสากล ประเภท เอ็นเตอร์ไพรส์ (EnterpriseClass) ชื่อ ราชปะแตน ในปีต่อมา ทรงต่อเรือใบประเภท โอเค (OKClass) ลำแรกในประเทศไทย ชื่อ นวฤกษ์ และทรงต่อเรือใบประเภทโอเคอีก ๓ ลำ ชื่อ เวคา๑ เวคา๒ เวคา๓ ระหว่างพุทธศักราช๒๕๐๙–๒๕๑๐ ทรงต่อเรือใบประเภท มด (MothClass) ๓ ลำ ชื่อ มด ซุปเปอร์มด และ ไมโครมด และลำสุดท้ายคือเรือใบโม้ค (Moke) ในการสร้างเรือใบทรงร่างแบบ คิดคำนวณ เลื่อยไม้ ไสไม้ และทรงประกอบด้วยพระองค์เองทุกขั้นตอน ทรงใช้วิธีการที่ง่ายและประหยัดและทรงใช้วัสดุที่หาได้ในประเทศ ทรงประดิษฐ์คิดค้นให้เรือใบที่ทรงสร้างมีสมรรถนะสูง


จากข้อมูล​พระอัจฉริยภาพทางด้านศิลปกรรมและการกีฬาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น   ทำให้พี่อยากพาน้องๆไปรู้จักคณะสาขาที่พระองค์ท่านทรงศึกษามาให้น้องได้รู้จักเพิ่มเติมกันนะคะ 
โดยเรียงลำดับสาขาต่างๆ ได้ดังนี้

1. สาขาทางด้านจิตรกรรม


    เรียนเกี่ยวกับ การขีดเขียน  การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ เป็นงานศิลปะที่มี 2 มิติ เป็นรูปแบบไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนลวงตาให้เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้ 

    จบมาทำงานเป็น จิตรกร ปาฏิมากร,
ครู อาจารย์ผู้สอนศิลปะในสถาบันการศึกษาต่างๆ , นักวิชาการทางด้านศิลปะ , นักวิจัยศิลปะ , ผู้ประกอบการอิสระที่เกี่ยวเนื่องด้วยศิลปะ  และพนักงานของรัฐหรือบริษัทเอกชนที่เกี่ยวเนื่องด้วยศิลปะ ดูมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน คลิกที่นี่


2. สาขาทางด้านปาติมากรรม

    
เรียนเกี่ยวกับ การปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ 

    จบมาทำงานเป็น ปาฏิมากร,ครู อาจารย์ผู้สอนศิลปะในสถาบันการศึกษาต่างๆ , นักวิชาการทางด้านศิลปะ , นักวิจัยศิลปะ , ผู้ประกอบการอิสระที่เกี่ยวเนื่องด้วยศิลปะ  และพนักงานของรัฐหรือบริษัทเอกชนที่เกี่ยวเนื่องด้วยศิลปะ
 ดูมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน คลิกที่นี่


3. สาขาทางด้านการถ่ายภาพ

    
เรียนเกี่ยวกับ ศิลปะการถ่ายภาพ การฝึกความความคิดสร้างสรรค์การถ่ายภาพ

จบมาทำงานเป็น 

 > ช่างภาพ

> นักตกแต่งภาพ

> กองบรรณาธิการ

> ภัณฑารักษ์

> สไตล์ลิสต์

> นักประวัติศาสตร์ศิลป์

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะสถาปัตยกรรม สาขาการถ่ายภาพ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์และภาพนิ่ง
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีการพิมพ์
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาวิชาภาพยนตร์และภาพถ่าย
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ
และมหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมถึงเทคโนโลยีราชมงคลอีกหลายที่ค่ะ 

ท้ายสุดนี้พี่มีวิธี ที่จะทำงานหรือการเรียนที่เราทำนั้น ประสปความสำเร็จได้นั้น มาฝากกันค่ะ 

หลักอิทธิบาท 4  ประกอบด้วย 

1. ฉันทะ - ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
2. วิริยะ  - ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย
3. จิตตะ - ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
4. วิมังสา - หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น


หากน้องๆ น้อมนำหลักอิทธิบาท 4  ได้ครบหมดทุกข้อแล้ว พี่เชื่อได้เลยว่า ความสำเร็จและเป็นเลิศในสิ่งนั้น จะก่อเกิดกับตัวน้องๆ แน่นอนค่ะ 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.moe.go.th , www.identity.opm.go.th