สอบเข้ามหาวิทยาลัย

เมื่อดิจิทัลเข้ามา Skill อนาล็อกของเราก็หายไป!

UploadImage
          เทคโนโลยีสมัยใหม่ทุกนำเข้ามาใช้อำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์มากขึ้นทุกวัน แต่หลายคนก็อาจจะลืมไปว่าทุกสิ่งอย่างบนโลกนี้เมื่อมีประโยชน์ก็ต้องมีโทษตามมาเช่นกัน ไม่ได้หมายความว่าเทคโนโลยีไม่ดีนะจ๊ะ แต่พี่กำลังจะบอกว่าบางครั้งมนุษย์เราก็เอาแต่พึ่งพาสิ่งอำนวยความสะดวกมันมากเกินไป จนลืมไปว่าบางอย่างเราก็เคยทำได้ด้วยตัวเอง วันนี้พี่ก๊อตจิก็เลยมี A Skill We lose, when Digitel Technology has come! มาฝากน้องๆ ชาว AdmissionPremium กันสักเล็กน้อย ไปดูกันดีกว่าว่ามีทักษะอะไรบ้างที่หายไปจากเราบ้าง
 

UploadImage

Skill การจำเบอร์โทรศัพท์

          - ในยุคที่โทรศัพท์หรือสมาร์ทโฟนยังไม่แพร่หลาย เราจะต้องใช้ทักษะในการจำเบอร์โทรศัพท์ของคนที่เราต้องการติดต่อด้วยไว้ให้ดี หรือในบางครั้งก็อาจจะจดบันทึกไว้ในสมุดโทรศัพท์ต่างๆ ที่ในสมัยนี้คงหาได้ยากแล้ว เพราะด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เราสามารถบันทึกเบอร์โทรศัพท์ไว้ในมือถือหรือในสมาร์ทโฟนของเราได้เลย ไม่ต้องมานั่งนึก นั่งจำ ควานหาสมุดโทรศัพท์โนให้เสียเวลา จึงทำให้ทักษะในการจำเบอร์โทรศัพท์ของเรานั้นค่อยๆ ลดลงไป
 

UploadImage

Skill เย็บ ปัก ถัก ร้อย

          - เด็กสมัยนี้คงไม่รู้จักกันแล้วมั่ง? การด้น การเนา การสอย การชุน ทักษะการเย็บผ้าในวิชา กพอ. ของเด็กยุดอนาล็อกแบบพี่(ปล่อยแก่)โดยทักษะนี้เราจะได้รับการฝึกฝนจากโจทย์การเย็บผ้าด้วยมือของคุณครู เพื่อนำมาส่งเป็นการบ้านของรายวิชา พี่มองว่าก็เป็นทักษะที่ดีในการเอาตัวรอดหรือแก้ไขเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ดีเลยนะ ยกตัวอย่างพวกเป้ากางเกงแตก กระดุมหลุด เย็บเก็บชายเสื้อเมื่อมันรุย ฯลฯ คนที่มีทักษะนี้ก็จะซ้อมแซมเสื้อหรือกางเกงได้เอง ซึ่งถ้าเป็นน้องๆ รุ่นใหม่คงเอาไปให้ร้านเขาแก้ไขให้แล้วล่ะ ไม่มานั่งทำเองให้เสียเวลาเล่นเฟสฯ หรอก อุ๊ปส์!
 

UploadImage

Skill การทำอาหาร

          - ข้อนี้มีองค์ประกอบหลายๆ อย่างนอกเหนือจากเทคโนโลยีที่ทำให้ทักษะนี้ของเราค่อยๆ ลบเลือนหายไป นั้นก็คือ “เวลาอันมีค่า” ยิ่งชีวิตคนเมืองที่ทุกๆ อย่างต้องแข่งกับเวลาแล้วละก็ การที่จะมัวมายืนหั่นผัก เตรียมส่วนประกอบ บลา บลา บลา ก็คงไม่ได้ออกไปไหนกันพอดี สู้ออกไปหาอะไรกินข้างนอกร้านอาหารต่างสั่งหรือร้านสะดวกซื้อ7-Eleven น่าจะง่ายกว่าเป็นไหนๆ แต่พี่ว่าคนที่ทำกับข้าวเป็นจะเพิ่มเสน่ห์ในตัวขึ้นไปอีกประมาณ 50-60% เลยนะ ถ้าไม่เชื่อลองฝึกทำกับข้าวและถ่ายโชว์โลกโซเชียลดูซิ ยอด Like จะพุ่งแบบผิดหูผิดตาเลยล่ะ
 

UploadImage

Skill คิดเลข

          - เข้าใจนะว่าการคิดเลขเป็นอะไรที่ยากมากสำหรับน้องหลายๆ คน แต่ถ้าเราเอาแต่พึ่งพาเครื่องคิดเลขตลอดเวลาไม่เว้นแม้แต่การบวกลบง่ายๆ จะทำให้สมองส่วนของการคิดคำนวณไม่ได้รับการกระตุ้น ส่งผลให้การคิดเลขของเราช้าลง การฝึกคิดเลขด้วยตัวเองพี่ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบมากๆ เลยนะ ลองคิดดูซิเวลาเราไปเดินซื้อของแล้วเจอของ SALE ของลดราคา เราจะสามารถคิดคำนวณราคาออกมาได้เร็วกว่าคนที่ิติดใช้เครื่องคิดเลข เพราะกว่าคนเหล่านั้นจะหยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมา กว่าจะกดเข้าแอปฯ เครื่องคิดเลข ฝั่งเราคำนวณราคาเสร็จแล้ว เดินไปจ่ายเงิน รับของกลับบ้านไปแล้วจ้า า า า า (The Winner)
 

UploadImage

Skill การนำทาง

          - Google Map ที่แสนจะชาญฉลาดของเราในบางครั้งก็อาจจะเล่นตลกกันเราได้ง่ายๆ ดังนั้นการขุดทักษะการดูแผนที่ การช่างสังเกต วิธีการอันแสนจะอนาล็อกออกมาใช้ถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาได้ดีเยี่ยมในเวลาคับขันเลยทีเดียว เวลาเราเดินทางไปเที่ยวในที่ๆ เราไม่เคยไปมาก่อน การศึกษาเส้นทาง การดูแผนที่ก่อนเพื่อเก็บข้อมูล พอไปถึงสถานที่จริงแล้วเราสามารถบอกเส้นทางได้อย่างแม่นยำ จะทำให้เราดูเท่ ดูคูลในสายตาคนที่ไปด้วยขึ้นมาทันที เจ๋งไหมละ
 

UploadImage

Skill การสะกดคำ

          - นอกจากภาษาอังกฤษที่ชอบสะกดผิดสะกดถูกกันแล้ว ภาษาบ้านตัวเองอย่างภาษาไทยก็ใช้ผิดกันเยอะไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นตัวสะกดเอย สระเอย พยัญชนะเอย บางที่ก็แอบคิดนะว่าหลักการเขียนภาษาไทยมันเยอะไปหรือเปล่า? แต่อย่างไรก็ตามการสะกด การขียน การพิมพ์คำทให้ถูกต้อง ถือเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือในการสื่อสารกับผู้อื่น หากสื่อสารกันในเรื่องที่เป็นทางการก็ควรใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ถูกเวลา ถูกกาละเทศะนะจ๊ะเด็กๆ 

 

          น้องๆ เห็นไหมว่าทักษะ (Skill) อนาล็อกเก่าเก็บที่ใครๆ ต่างมองว่าเชย ยุ่งยาก กลับไปใช้ทำไมในเมื่อมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกแบบดิจิทัลเข้ามาช่วยแล้ว แต่อย่าลืมนะว่า...หากวันใดวันหนึ่งที่ดิจิทัลเกิดมีปัญหาขึ้นมาละก็ เราจำเป็นที่จะต้องขุดเอาทักษะแบบอนาล็อกนี้ล่ะออกมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหา อ่านจบแล้วก็อย่าลืมไปขุดทักษะเก่าเก็บเหล่านี้ขึ้นมาปัดฝุ่นและฝึกฝนติดตัวไว้ เพื่อต่อตัวเราในอนาคต เจอกันใหม่บทความหน้าบั๊ยบาย ย ย ย ย ย 

 

 

อ้างอิง : The MATTER