สอบเข้ามหาวิทยาลัย

แซงไปอีกหนึ่ง! ระบบการศึกษาเวียดนามก้าวนำไทยไปอีกราย ขึ้นแท่นที่ 2 ของอาเซียนเป็นรองแค่สิงคโปร์

UploadImage
 

          ณ เวลานี้ ถ้าพูดถึงอันดับ 1 ประเทศในอาเซียนที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดละก็ คงหนีไม่พ้นเจ้าของแชมป์อย่างสิงคโปร์เป็นแน่นอน รองลงมาเป็นประเทศไทยของเรากับเวียดนาม ซึ่งเมื่อก่อนหลายคนอาจจะมองว่าไทยทำอันดับได้ดีกว่าเวียดนามแน่นอน แต่ขอโทษจ๊ะ! คิดผิดเสียแล้ว เพราะตอนนี้การศึกษาของเวียดนามแซงไทยไปทุกด้านแล้วจ้า อยากรู้แล้วใช่ไหมว่าอะไรที่ทำให้ระบบการศึกษาของเวียดนามก้าวนำเราไปได้มากขนาดนี้ ตามไปดูกันเลยจ้า
 

UploadImage
 

          จากการประเมินนักเรียนร่วมกับนานาชาติ Programme for International Student Assessment หรือ PISA ที่มีกว่า 70 ประเทศเข้าร่วมโครงการ โดยจะสุ่มประเมินความรู้เด็กอายุ 15 ปีจากโรงเรียนทุกสังกัด 3 ด้านไม่ว่าจะเป็น การรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) และ การรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) พบว่าผลประเมินของไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งหมดก็คืออันดับที่ 57, 54, 54 ตามลำดับจาก 70 ประเทศ (OMG!) ซึ่งข้ามมาทางฝั่งของเวียดนามบอกได้เลยว่าทำอันดับได้ดีกว่าไทยเยอะมาก โดยอยู่ที่อันดับ 32, 22, 8 ตามลำดับ จึงทำให้เกิดคำถามว่าต่างๆ นาๆ ว่าเวียดนามทำได้อย่างไร? มานี่มะคนดี เดี๋ยวพี่จะบอกให้ว่าปัจจัยที่ให้ระบบการศึกษาของเวียดนามประสบความสำเร็จได้ถึงขนาดนี้คือ

 

1.) วัฒนธรรม: โดยธรรมชาติของคนเวียดนามเป็นขยันและรับผิดชอบต่อหน้าที่มาก จึงทำให้การดำเนินแผนงานต่างๆ ประสบความสำเร็จและสมบูรณ์ในระยะเวลาอันรวดเร็ว

 

2.) ลักษณะการทำงานของครู: อย่างที่บอกไปในข้อแรกทำให้ครูที่เวียดนามมีระเบียบวินัยสูง รับผิดชอบหน้าที่ของตัวเองอย่างเคร่งครัด ทำงานหนัก แทบจะไม่เคยขาดสอนเลย รวมไปถึงการได้รับคำแนะนำจากครูใหญ่หรือได้รับการสนับสนุนจากองค์กรที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาอย่างใกล้ชิด

 

3.) หน้าที่รับผิดชอบของนักเรียน: ด้วยวัฒนธรรมของประเทศที่หล่อหลอมให้เด็กเป็นคนทุ่มเท เป็นคนขยันหมั่นเพียร จึงทำให้นักเรียนมุ่งมั่นในเรื่องการเรียนและตั้งเป้าหมายความสำเร็จทางการศึกษาของพวกเขาไว้สูงพอสมควร โดยวัดจากจำนวนนักเรียนขาดเรียน มาสาย หรือหนีเรียนที่มีเปอร์เซ็นต์น้อยมากแค่ 9% เท่านั้น

 

4.) ความใส่ในของพ่อแม่: แม้ว่าพ่อแม่ชาวเวีนดนามจะมีการศึกษาที่ไม่สูงนัก แต่พวกเขาได้คาดหวัง ใส่ใจ และช่วยวางเป้าหมายด้านการศึกษาของบุตรหลานได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการติดตามผลการเรียนของเด็ก การให้ความร่วมมือกับครูประจำชั้น/ประจำวิชา รวมไปถึงการช่วยเหลือหรือการเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียนต่างๆ อีกด้วย

 

5.)  การลงทุนด้านการศึกษา: ทางรัฐบาลของเวียดนามได้มีการลงทุนสนับสนุนด้านการศึกษาที่สูงมากเมื่อเทียบกับค่า GDP ทั้งหมดของประเทศ โดยไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในเมืองใหญ่หรือโรงเรียนเล็กๆ ในชนบท ทุกโรงเรียนจะได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐให้เป็นโรงเรียนที่ได้มาตรฐานเท่ากันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นในด้านของโครงสร้างการศึกษาพื้นฐาน ทรัพยากรทางการศึกษา เทคโนโลยีสมัยใหม่ คอมพิวเตอร์ หรือ ระบบอินเตอร์เน็ตที่ทางภาครัฐพยายามผลัดดันให้คอมพิวเตอร์ทางการศึกษาทุกตัวของประเทศมีอินเตอร์เน็ตเข้าถึง
 

UploadImage
 

          กลับมาที่ระบบการศึกษาของไทยกันบ้าง ปัญหาใหญ่ๆ ที่ทำให้เราก้าวช้ากว่าคนอื่นก็คือ “ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของโรงเรียนในเมืองใหญ่กับโรงเรียนในชนบท” การกระจุกตัวกันของระบบการศึกษาที่ดี ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอยู่แค่ในกรุงเทพฯ ไม่สามารถกระจายออกไปยังต่างจังหวัดหรือชนบทได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องด้วยปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรทางการศึกษา เทคโนโลยี ระบบอินเตอร์เน็ต เส้นทางการเดินทาง ไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งถ้าภาครัฐสามารถแก้ไขจุดๆ นี้ได้จะเป็นการยกระดับคุณภาพระบบการศึกษาไทยให้ดีขึ้น เหมือนที่สิงค์โปร์และเวียดนามมุ่งเน้นเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศตัวเอง

 

 

อ้างอิง : THE MOMENTUM, BBC Thai