สอบเข้ามหาวิทยาลัย

โอกาสบนความท้าทายของไทย ในการเป็นศูนย์กลางทางการบินครบวงจรของภูมิภาคอาเซียน

UploadImage
     “การเติบโตของธุรกิจการบินไทย โอกาสบนความท้าทายของไทยในการเป็นศูนย์กลางทางการบินครบวงจรของภูมิภาคอาเซียน” บมจ.ท่าอากาศยานไทยเผยจำนวนปริมาณผู้โดยสารที่เดินทางมายังสนามบินในสังกัดของ บมจ.ท่าอากาศยานไทยและกรมท่าอากาศยานรวม 31 แห่งทั่วประเทศ เพิ่มขึ้นต่อปีเฉลี่ยร้อยละ 15.2 ต่อปี บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ได้มีการพยากรณ์ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า (ปี 2578) จะมีผู้โดยสารที่มีจุดหมายปลายทางมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 2,360 ล้านคน หรือเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.0 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าของการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางทั่วโลกที่เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 4.8 ต่อปี ซึ่งจะส่งผลให้ขนาดตลาดธุรกิจการบินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตขึ้นจากเดิม

     นาวาอากาศตรี ดร.วัฒนา มานนท์ คณบดี วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน เสริมเวลานี้อุตสาหกรรมการบินมีการเจริญเติบโตอย่างมากมาย นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยมากกว่า 20 มหาวิทยาลัย ที่ไปปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการบินยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงาน เนื่องจากสายการบินเกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา ไม่ต้องพูดถึงโอกาสงานในอนาคตมีรองรับนักศึกษาอยู่แล้ว

UploadImage

     หลังจากที่ที่ทีมงาน AdmissionPremium ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์เพิ่มเติม นาวาอากาศตรี ดร.วัฒนา มานนท์ คณบดี วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน ถึงประเด็นที่มีข้อสงสัยสอบถามมาอย่างต่อเนื่องถึงหลักสูตรการบินน้องใหม่ที่มาแรงแซงทางโค้ง 2 หลักสูตรวิชาธุรกิจการบิน (Aviation Business) และหลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีการบินวิชาเอก การจัดการอำนวยการบิน (Flight Operation Management) วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT)

เจาะลึกหลักสูตรการบิน

     ความแตกต่างของ 2 หลักสูตรนี้ การเรียนยากหรือง่ายกว่ากันมากน้อยแค่ไหน ? เริ่มจากพิจารณาตัวเองก่อนว่าถ้าหากน้องๆ คนไหนที่มีความประสงค์ใฝ่ฝันอยากจะทำงานที่เกี่ยวข้องกับคนมากๆ ชอบเดินทาง ชอบพบปะผู้คน ใช้ภาษาได้ดี ชอบงานด้านบริการ เน้นงานบริการซึ่งจะเป็นการบริการภาคอากาศ เป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินก็ตามหรือจะเป็นพนักงานบริการภาคพื้น น้องๆ จะต้องเรียน “สาขาการจัดการธุรกิจการบิน” แต่ที่สำคัญคือภาษาต้องได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด เพราะถ้างานบริการ ถ้าเป็นงานบริการภาคอากาศหรือพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินแล้วจะต้องใช้ภาษาค่อนข้างมาก ถ้าเป็นงานบริการภาคพื้นก็อาจจะใช้ภาษาน้อยลงมาหน่อย เพราะฉะนั้นความยากง่ายคงไม่ยากเกินความสามารถ

UploadImage

     นอกเหนือจากการไปทำงานบริการแล้วยังมีงานอีกหนึ่งงาน ซึ่งเป็นงานที่บางคนอาจจะไม่รู้จักมากนักในปัจจุบันนี้ก็คือ “สาขาการจัดการเทคโนโลยีการบิน วิชาเอกการจัดการอำนวยการบิน” (หลักสูตรสองภาษา) หรือที่เราเรียกว่า Flight Operation โดยหลักสูตรที่สองจะเน้นผู้ที่ไปทำงานในส่วนที่กำกับดูแลเรื่องความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัย การรักษากฎระเบียบต่าง ๆ เนื่องจากว่าหลักสูตรนี้จะเป็นหลักสูตรที่เรียนตามเนื้อหาที่กำหนดโดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ เน้นในเรื่องของความปลอดภัยเป็นหลัก เพราะว่าจะต้องเป็นผู้ที่เตรียมข้อมูลต่าง ๆ ให้กับนักบิน ก่อนที่นักบินจะขึ้นทำการบินในทุกครั้ง จะต้องมีการติดตามดูว่าการบินในเที่ยวบินนั้นเป็นอย่างไร จะต้องดูสภาพอากาศในเส้นทางบินว่าเป็นอย่างไร จะต้องมีการวางแผนในเรื่องของการบินต่าง ๆ และที่สำคัญหลักสูตรนี้ยังมีการเรียนรายวิชาที่เราเรียกว่านักบินส่วนบุคคลอีกด้วย


 
พร้อมพัฒนานักศึกษา เพื่อเป็นบุคลากรด้านอุตสาหกรรมการบินที่สมบูรณ์แบบ

     มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยวิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน มีความตั้งใจในการที่จะจัดทำหลักสูตรและก็พัฒนาบุคลากรเข้าไปทำงานในอุตสาหกรรมการบิน นอกเหนือจากการพัฒนาและผลิตบุคลากรระดับปริญญาตรีแล้ว เรายังดำเนินการประสานงานและสมัครเป็นสมาชิก โครงการฝึกอบรมของสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ที่เราเรียกว่า IATA โดยที่ IATA เองก็มาประเมินแล้วเรียบร้อย และเราผ่านการประเมินเป็นสมาชิกการฝึกอบรมของ IATA เราเรียกว่า ATC ซึ่งสามารถที่จะฝึกอบรมในหลักสูตรของ IATA ได้ ในเบื้องต้นจะมีอยู่ 4 วิชาด้วยกัน รายวิชาแรกก็คือเป็นในส่วนของการเรียนทางด้านการเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน หรือ Cabin crew Training

     สามารถที่จะจัดสอนที่ CADT ได้โดยใช้หลักสูตรของ IATA แล้วก็ได้รับประกาศนียบัตรของ IATA ด้วย
รายวิชาที่ 2 ก็คือในส่วนของ Airport Operation ซึ่งเป็นการปฏิบัติการในท่าอากาศยานก็มีหลายเนื้อหาวิชาที่เราสามรถเปิดได้ ก็จะเปิดหลักสูตรฝึกอบรมที่นี่เช่นเดียวกัน ณ ปัจจุบันประเทศไทยอาจจะถูกประเมินโดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ในส่วนเรื่องของความปลอดภัย CADT เองก็มีโอกาสที่จะดำเนินการฝึกอบรมในหลักสูตรพวกนี้ได้ เนื่องจากว่าเราได้รับการอนุมัติจาก IATA ให้เป็นสถาบันฝึกอบรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความปลอดภัยทางด้านการบิน โดยใช้หลักสูตรของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA

UploadImage
 
     เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะน้องๆ ที่วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT) ไม่ได้มีเพียงแค่หลักสูตรระดับปริญญาตรีที่มุ่งเน้นการปผลิตบุคลากรที่สมบูรณ์แบบ เมื่อก้าวเข้าสู่การทำงานจริง ยังมีหลักสูตรที่เปิดสอยบุคคลภายนอกอย่าง หลักสูตรฝึกอบรมสำหรับคนทั่วไป และหลักสูตรฝึกอบรมตามมาตรฐาน IATA อีกด้วย พี่เชื่อว่า CADT ยังคงขับเคลื่อนตามวิสัยทัศน์ของท่านคณบดี นาวาอากาศตรี ดร.วัฒนา มานนท์ คณบดี วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน ไม่แน่อีก 2 หรือ 3 ปีข้างหน้าอาจจะมีหลักสูตรใหม่ เปิดสอนเป็นที่แรกเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมการบินในอนาคตและวิสัยทัศน์ของ CADT อย่างแน่นอน 



ข้อมูลเพิ่มเติม 

   - เว็บไซต์ วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT)