สอบเข้ามหาวิทยาลัย

ตั้งคำถามการศึกษาไทย เมื่อวุฒิ ป.เอก ไม่ได้ทำให้หายจน

จากกรณีที่รัฐบาลเปิดให้ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย และมีการเปิดเผยข้อมูลตัวเลข “คนจน” จำแนกตามวุฒิการศึกษาออกมาว่ามีผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกกว่า 698 คนมาลงทะเบียนคนจนนักวิชาการด้านแรงงานทีดีอาร์ไอ แนะรัฐตรวจสอบ ตั้งข้อสังเกตใครจนจริงไม่จริงหรือระบบผิดพลาด


 

ร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึง กรณีที่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับเอกมาลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยถึง 698 คน และจบปริญญาโทลงทะเบียน เกือบ 5,810คน ว่าจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่แท้จริงว่าเรื่องนี้เป็นอย่างไร คนที่จบการศึกษาระดับสูงขนาดนั้น เป็นผู้ที่มีรายได้น้อยจริงหรือไม่ หรือมีการลงทะเบียนข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง หรือถ้าเป็นจริง ต้องตรวจสอบหรือไม่ว่า เกิดอะไรขึ้นกับผู้คนเหล่านั้น ถึงได้มาลงทะเบียนคนจน หรือว่าระบบการลงทะเบียนมีการคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
 

ทั้งนี้ผู้ใช่ Facebook ในชื่อ Pa-thai Yenchitsomanus ซึ่งเป็นอาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า “เกิดอะไรขึ้นกับระบบการศึกษาไทย” ที่ทำให้มีคนที่จบการศึกษาในระดับที่สูงกว่าการศึกษาภาคบังคับจำนวนมากกลายเป็นคนจน
 
 
“กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) คงจะต้องวิเคราะห์ หาสาเหตุที่แท้จริง (root cause) กันโดยด่วน
เรียนกันมาแทบตาย เสียเงินของครอบครัว และงบประมาณของประเทศไปอย่างมากมาย แต่เมื่อจบการศึกษามาแล้ว กลับตกงาน กลายมาเป็นคนจน ลงทะเบียนขอเงินจากรัฐอีก แทนที่รัฐจะได้เอาเงินไปช่วยคนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาและยากจนมากกว่าจริงๆ
ก่อนจะปฏิรูปการศึกษา ตั้งกระทรวงอุดมศึกษาใหม่ และปฏิรูปประเทศไทย แก้ปัญหาเรื่องนี้กันให้ได้ก่อนจะดีไหมครับ ถ้าแก้ไม่ได้ การปฏิรูปทั้งหลาย ก็คงจะเป็นไปได้ยาก
"คุณภาพของคนไทย คือ คีย์เวิร์ด (keyword) ของการปฏิรูปประเทศไทยในทุกๆ เรื่อง" 



 
 
สำหรับการตรวจสอบคุณสมบัติผู้มีรายได้น้อยที่มาลงทะเบียนกว่า 14 ล้านคน ชั้นแรกเป็นการตรวจสอบเรื่องรายได้โดยกรมสรรพากร, การตรวจสอบบัญชีเงินฝาก โดยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารรัฐ การตรวจสอบสัญชาติ โดยกรมการปกครอง เป็นต้น ทั้งนี้ พบมีผู้ถูกตัดสิทธิไป 2.6 ล้านคน เพราะมีรายได้และทรัพย์สินเกิน 1 แสนบาท ทำให้เหลือจำนวนผู้ผ่านหลักเกณฑ์ 11.67 ล้านคน
 
 
มีการตั้งข้อสังเกตว่าข้อมูลที่ประชาชนให้มาในการลงทะเบียนอาจจะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น ตอนกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มตอนลงทะเบียนว่า รายได้ไม่เกิน 1 แสนบาท แต่เมื่อนักศึกษาไปสอบถามรายละเอียดอาจจะบอกมีรายได้เดือนละ 1 หมื่นบาท เมื่อคูณ 12 เดือน รายได้เกิน 1 แสนบาท เป็นต้น   ถ้ามีการตรวจสอบแล้วไม่ผ่าน จะไม่แจกบัตร
 
 
ทั้งนี้ก่อนวันที่ 15 ก.ย. ผู้ที่ลงทะเบียนไว้ควรไปตรวจสอบสิทธิให้แน่ชัดก่อนว่าตัวเองจะเป็นผู้ได้รับสิทธิในโครงการนี้หรือไม่ จากหน่วยที่ลงทะเบียนไว้ หรือที่สำนักงานเขต หรือที่ธนาคารทั้ง 3 แห่งที่เปิดรับลงทะเบียนคือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย โดยผลการกลั่นกรองรอบ 2 นี้ จะส่งผลสำรวจทั้งหมด และสรุปตัวเลขสุดท้ายก่อน 21 ก.ย. แจกจ่ายบัตรให้แก่ประชาชนได้ตั้งแต่วันที่ 21-30 ก.ย.นี้ เพื่อให้ทันกับการเริ่มโครงการในวันที่ 1 ต.ค.



ขอบคุณข้อมูลจาก : คม ชัด ลึก
                              คุณ  Pa-thai Yenchitsomanus