สอบเข้ามหาวิทยาลัย

สร้างความเข้าใจใหม่ ดูคะแนนในใบประกาศผลให้เป็น




ใกล้สอบกันแล้ว น้องๆ หลายคนคงกำลังตั้งหน้าตั้งตาอ่านหนังสือ เตรียมตัวสอบกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง และพอหลังสอบเสร็จอีกเหตุการณ์ตามมาที่จะทำให้เราตื่นเต้นกันก็คือ การประกาศผลคะแนนนั้นเอง ซึ่งในการประกาศผลนี่เองมีหลายคนเลยดูแค่คะแนนดิบอย่างเดี๋ยว ซึ่งอันที่จริงแล้วคะแนนดิบ หรือคะแนนที่เราทำได้นี่ไม่ได้บอกอะไรไปมากกว่าบอกว่าเราทำข้อสอบชุดนั้นได้หรือไม่
 
ยังมีส่วนสำคัญอื่นๆ ที่น้องๆ ต้องดูประกอบด้วยทั้งค่า S.D. คะแนนเฉลี่ย หรือ T-Score วันนี้เราจะมาดูกันว่าคะแนนแต่ละอย่างบอกอะไรเราได้บ้าง และมีวิธีคิด ที่มาที่ไปอย่างไร
 

คะแนนเฉลี่ย
เริ่มกันที่คะแนนเฉลี่ย สิ่งที่น้องๆ คุ้นเคยกันที่สุด ซึ่งคะแนนเฉลี่ยเองอาจจำแนกออกเป็น จำแนกตามโรงเรียน, จำแนกตามจังหวัด, จำแนกตามภูมมิภาค และ คะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ การนำมาใช้ประโยชน์ง่ายๆ คือนำมาเปรียบเทียบกับคะแนนดิบที่เราได้ หากน้องๆ ได้คะแนนมากว่าคะแนนเฉลี่ยถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีนั้นเอง
 


ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
S.D. นั้นย่อมาจาก Standard Deviation หรือที่คุ้นหูในภาษาไทยก็ คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นค่าที่บ่งบอกถึงการกระจายของข้อมูล

การหาค่า S.D.

การคำนวณหาค่า S.D. นั้นออกจะซับซ้อนซักหน่อย โดยค่านี้คำนวณมาจากการนำข้อมูลแต่ละตัวมาลบกับคะแนนเฉลี่ยแล้วไปยกกำลังสองทีละตัว พอลบแล้วไปยกกำลังสองเสร็จก็จับทั้งหมดมาบวกกัน หลังจากนั้นก็หารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด แล้วก็ไปถอดรากที่สองอีกครั้ง 
สูตรในการหาค่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคือ


จากสูตรในการหา ค่า S.D. เราจะเห็น สัญลักษณ์
คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตนั่นเอง ดังนั้นก่อนที่เราจะหาค่า S.D. ได้ เราต้องหาค่าเฉลี่ยให้ได้ก่อน
n คือ จำนวนของข้อมูลว่ามีข้อมูลทั้งหมดกี่ตัว
Xi คือ ข้อมูลแต่ละตัว
 

S.D. ใช้ทำอะไร

จากส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานนี่  สิ่งแรกที่สามารถบอกเราได้นั้นก็ คือ บอกว่าข้อมูลนี้เกาะกลุ่มกันมากเพียงใด  ยิ่งค่า S.D. ยิ่งสูงแสดงว่าคะแนนกระจายตัวกันมาก  แต่ถ้าค่า S.D. ยิ่งใกล้ศูนย์แสดงว่าข้อมูลชุดนี้ค่อนข้างเกาะกลุ่มกัน  แต่ควรจะดูประกอบไปกับคะแนนเฉลี่ยด้วย  จึงจะให้ข้อมูลที่ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น โรงเรียน A ได้คะแนนเฉลี่ย 33 จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน แต่ได้ค่า S.D. = 2 แสดงว่าเด็กที่นี่เรียนอ่อนกันทั้งโรงเรียน  แต่ โรงเรียน P ได้คะแนนเฉลี่ย 88 จาก 100 ได้ค่า S.D. = 12 ก็แสดงว่าเด็ก โรงเรียน P จะมีทั้งเด็กเก่งๆ และเด็กอ่อนอยู่พอสมควรเช่นเดียวกัน  เพราะคะแนนไม่เกาะกลุ่มเท่าที่ควร
 




คะแนนมาตรฐาน (T-Score)
เป็นคะแนนที่นำคะแนนดิบมาผ่านขั้นตอนทางสถิติ ทำให้สามารถวัดได้ว่าผู้เข้าสอบมีความสามารถเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับผู้เข้าสอบในวิชาเดียวกัน

การหา T-Score

ในการคำนวณเราจะหาคะแนนซี (Z-Score) ก่อน โดยคำนวณได้จากสูตร
ถ้าน้องๆ มีคะแนนดิบเท่ากับค่าเฉลี่ยจะได้คะแนน Z-Score เท่ากับศูนย์ ถ้าคะแนนดิบน้อยกว่าค่าเฉลี่ยจะได้คะแนน Z-Score ที่มีค่าติดลบ ดังนั้นเราจึงนิยมแปลงให้เป็นคะแนน T-Score เพื่อให้พ้นค่าติดลบเหล่านี้โดยใช้สูตร

T-Score = (Z-Score x 10) + 50

จึงเป็นการแปลงคะแนนของกลุ่ม โดยทำให้มีคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มเป็น 50 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 10 นั่นเอง คะแนนสอบทั้งกลุ่มจึงมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 100
 

T-Score ใช้ทำอะไร

เนื่องจาก T-Score เป็นคะแนนที่ผ่านขั้นตอนทางสถิติมาแล้ว ทำให้สามารถใช้ในการอ้างอิงความสามารถ และการประสบผลสำเร็จในการเรียนวิชานั้นๆ ของน้องได้ เมื่อเทียบกับเพื่อนๆ ในรุ่นเดียวกัน นำไปสู่การนำไปใช้ในการวางแผนในการเรียน การเลือกสอบโควตา การแอดมิชชัน ในระบบ TCAS ได้


 
นอกจากน้องๆ จะได้เห็นคะแนนเหล่านี่ ในการประกาศผลสอบ O-Net, 9 วิชาสามัญ และการสอบอื่นๆ แล้ว น้องๆ คนไหนที่สมัคร PRETCAS ไปก็จะเห็นคะแนนเหล่านี้ปรากฏอยู่ในรายงานสรุปผลคะแนนอีกด้วย