สอบเข้ามหาวิทยาลัย

ศูนย์การผลิตเซลล์เชิงพาณิชย์

UploadImage

                ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามความร่วมมือจัดตั้งศูนย์บริการผลิตเซลล์เชิงพาณิชย์ กับ รศ.ดร.บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ) โดยมี ดร.สุมล ปวิตรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญจาก TCELS และ รศ.ดร.ขวัญชนก พสุวัต อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ร่วมเป็นสักขีพยาน
                ดร.นเรศ ดำรงชัย กล่าวว่า ภายใต้ความร่วมมือระหว่างดังกล่า TCELS ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนงบประมาณ
โครงการศูนย์บริการผลิตเซลล์เชิงพาณิชย์ มจธ.ในการพัฒนาระบบเลี้ยงเซลล์อัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยผลักดันและกระตุ้นให้เกิดงานวิจัยและธุรกิจทางด้านเวชศาสตร์ ฟื้นฟูภาวะเสื่อมขึ้นในประเทศรวมทั้งจัดทำข้อกำหนด และมาตรฐานตามข้อกำหนดสากล เพื่อควบคุมการผลิตและคุณภาพของเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่จะนำมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์และความปลอดภัยต่อผู้ป่าวในการรักษาโรคต่างๆ
                ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นเพื่อพัฒนา สนับสนุน การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเซลล์ด้วยระบบอัตโนมัติที่พัฒนาจากเทคโนโลยีเซลล์บำบัดและยีนบำบัดและนำไปสู่การบำบัดรักษาโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ในปัจจุบัน และผลักดันให้มีการผลิตผลิตภัณฑ์เซลล์และการบริการสู่เชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งร่วมกันบริหารจัดการ ศูนย์ให้บริการผลิตเซลล์เชิงพาณิชย์เพื่อรองรับการผลิตเซลล์ด้วยระบบอัตโนมัติที่พัฒนาจากเทคโนโลยีเซลล์บำบัดและยีนบำบัดต่อไปในอนาคต
                รศ.ดร.บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร กล่าวว่า มจธ. มีปณิธานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และมุ่งมั่นผลิตผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ ซึ่งสอดคล้องต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก ความร่วมมือในครั้งนี้จังเป็นไปตามปณิธานของมหาวิทยาลัย ที่มีผลิตผลงานวิจัยคุณภาพและได้ความร่วมมือจาก TCELS ที่จะช่วยพัฒนางานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ
                ด้าน รศ.ดร.ขวัญชนก พสุวัต ประธานหลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. กล่าวว่า เป้าหมายของโครงการคือการใช้เครื่องเลี้ยงเซลล์อัตโนมัติผลิตเซลล์ในระดับอุตสาหกรรม เพื่อเสริมการเลี้ยงเซลล์แบบเดิมซึ่งเป็นระบบมือ การนำระบบเลี้ยงเซลล์อัตโนมัติมาช่วยจะทำให้ต้นทุนการผลิตเซลล์และเนื้อเยื่อต่ำลง อีกทั้งยังสามารถควบคุมภาวะการผลิตได้ตามมาตรฐานสากล ดังนั้นคนไทยจะสามารถเข้าถึงการรักษาแบบเวชศาสตร์ฟื้นฟูความเสื่อมได้มากขึ้น


ที่มา : โลกวันนี้