รีวิวนิเทศศาสตร์ สาขาวาทวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

19 ก.ย. 59 16:58 น.

การพูดถือว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของการสื่อสาร  “พูดอย่างไรให้ได้มีรายได้” “พูดอย่างไรให้เขาเชื่อถือ”  น้องๆ เคยมีคำถามกับตัวเองบ้างไหม? วาทวิทยาเป็นสาขาวิชาที่ศึกษา "แก่น" ของศาสตร์และศิลปะแห่งการสื่อสารของมนุษย์หรือนิเทศศาสตร์ที่แตกเป็นแขนงวิชาต่างๆ นั่นเอง ก็คือเน้นที่การพัฒนาคุณภาพของบุคคลในการสื่อสาร ที่จะต้องมีทักษะในการคิดอย่างเป็นระบบ มีศักยภาพในการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน ซึ่งเป็นทักษะที่จะประยุกต์สู่ความสามารถในการใช้ภาษาสื่อความ ในการออกแบบสาร สร้างสรรค์วิธีการสื่อสาร วิเคราะห์สถานการณ์การ

ส่วนของสาขาวาทวิทยา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้นมีการเรียนการสอนพื้นฐานเหมือนสาขาอื่นๆ ในคณะ แต่จะมีวิชาเรียนที่แตกต่างจากสาขาอื่น อย่างเช่น วิชาหลักและการปฏิบัติทางวาทนิเทศ, การสื่อสารระหว่างบุคคลและมนุษยสัมพันธ์, การสื่อสารกลุ่มและการเป็นผู้นำ, หลักการโน้มน้าวใจ, การสื่อสารองค์กรและวัฒนธรรม, หลักการเจรจาต่อรอง, จิตวิทยาการพูดและการฟัง, บุคลิกภาพและมรรยาทวัฒนธรรม, การพูดเพื่อธุรกิจ และการเป็นผู้ประกาศและพิธีกร เป็นต้น  ทางสาขายังมีกิจกรรมเสริมหลักสูตรในลักษณะต่างๆขึ้น เช่น “โครงการพัฒนาบุคลิกภาพ การพูดและการแสดงออก” หรือโครงการ Extraordinary Speech and Personality (โครงการ ESP) จัดขึ้นโดยโครงการเผยแพร่ความรู้ด้านวาทนิเทศ เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือตั้งแต่ระดับคณาจารย์ รุ่นพี่ -ศิษย์เก่ามหาบัณฑิตของภาควิชา เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนไทยในการพัฒนาบุคลิกภาพ การพูด และการแสดงออกที่เหมาะสม ภายใต้ความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้ปกครองและสามารถนำไปใช้ได้จริง เป็นแบบอย่างของครอบครัวสมัยใหม่ได้อย่างดี

ถ้าหากน้องๆ คนไหน ชอบพูด มีความกล้าแสดงออก มีทักษะการพูด สาขานี้จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้น้องๆ มีทักษะและวิชาความรู้ที่จะเสริมสร้างความสามารถเพื่อพัฒนาความสามารถให้น้องๆ ปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพของน้องได้อย่างดีที่สุด ซึ่งมีตัวอย่างศิษย์เก่าที่เป็นที่รู้จักคือ คุณศรสวรรค์ พิธีกรและนักข่าวกีฬาทางช่อง 7 สี,  นีน่า-กุลธิดา ปัจฉิมสวัสดิ์ พิธีกรช่อง 3, ตุ๊ยตุ่ย-พุทธชาติ 

จบมาทำงานอะไร
1. งานด้านการเป็นผู้พูด/ผู้นำเสนอ (presenter) ได้แก่ พิธีกร โฆษก วิทยากร ผู้ดำเนินรายการ ในงานวาทกิจกรรม การประชุมอภิปรายต่างๆ ทั้งประเภทงานในโอกาสพิเศษและในรายการทางสื่อสารมวลชน วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ 
2. งานด้านวาทนิพนธ์และการใช้วาทศิลป์สร้างสรรค์การเขียนต่างๆ ได้แก่ การเขียนสุนทรพจน์ การร่างคำกล่าวของบุคคลสำคัญ ตลอดจนเป็นนักเขียนและนักออกแบบสารต่างๆ (writer and message designer) ฯลฯ 
3. งานบริหารวาทกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำหน้าที่เป็นองค์กรจัดกิจกรรมในโอกาสต่างๆ (organizer) ฯลฯ 
4. งานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD-human resource development) ได้แก่ ฝ่ายบริหารกิจกรรมการฝึกอบรม ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาการพัฒนาความสามารถในการสื่อสารให้บุคลากรในองค์กร (Communication specialist and consultant) ฯลฯ 
5. งานวิเคราะห์และพัฒนาระบบการสื่อสารในองค์กร (R&D -organization research and development) ได้แก่ ฝ่ายพัฒนาระบบการสื่อสารองค์กร การสร้างเครือข่ายการสื่อสาร ฯลฯ 
6. งานประสานความสัมพันธ์และความร่วมมือ (human relations & project coordinator) ได้แก่ นักชุมชนสัมพันธ์ ผู้ประสานงานโครงการพิเศษ ฯลฯ 
7. งานสื่อกลางการเจรจา (mediation & negotiation) ได้แก่ การเป็นตัวแทนเจรจาเป็นสื่อกลางประสานงาน ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร

ระบบรับตรง (แบบปกติ)
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า ทุกแผนการเรียน
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 เทอม 2.75 ขึ้นไป
- ผลคะแนนสอบ GAT 40%
- ผลคะแนนสอบ PAT1 (คณิตสาศตร์) 60% หรือ PAT 7.1-7.4 (ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน) 60% 
- สมัครทางอินเทอร์เนตที่เว็บไซต์ www.atc.chula.ac.th 

แอดมิชชัน
- GPAX 20% 
- O-NET 30% 
- GAT 30% 
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%

รูปแบบที่ 1
- GPAX 20% 
- O-NET 30% 
- GAT 50% 

รูปแบบที่ 2 
- GPAX 20% 
- O-NET 30% 
- GAT 30% 
- PAT7.1 (ภาษาฝรั่งเศส), PAT7.2 (ภาษาเยอรมัน), PAT7.3 (ภาษาญี่ปุ่น), PAT7.4 (ภาษาจีน) 20%

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
168,000 บาท

รายละเอียดค่าใช้จ่าย
21,000 บาท/เทอม


เรื่องโดย AdmissionPremium
ภาพโดย http://www.commarts.chula.ac.th/