“นักนิติศาสตร์ ศาสตร์แห่งกฎหมาย" รีวิวสาขากลุ่มวิชานิติศาสตร์ : U-Review

30 มี.ค. 60 10:31 น.

 
       การศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน คณะฮอตเป็นอันดับต้นๆ ที่มีนักศึกษาให้ความสนใจ และเกือบจะทุกมหาวิทยาลัยทั้งรัฐบาล หรือเอกชนก็ต้องมีคณะนี้ คือ คณะนิติศาสตร์นั่นเอง แล้วทำไมคณะนิติศาสตร์ถึงเป็นที่นิยมในหมู่นักศึกษาล่ะ? เรามีคำตอบมาให้น้องๆ แล้ว เพราะคณะนิติศาสตร์จัดได้ว่าเป็นคณะที่หางานง่ายรายได้ดี 

ดีอย่างไรไปรับฟังความเห็นจาก ดร.สุทธิศักดิ์  ภัทรมานะวงศ์ คณะบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ กันได้เลย

       ก่อนอื่นน้องๆ จะต้องมาทำความรู้จักกับคณะนิติศาสตร์กันก่อนว่าคณะนี้เรียนเกี่ยวกับอะไรกันบ้าง คณะนิติศาสตร์ไม่ใช่คณะที่ต้องท่องจำอย่างเดียวแต่ต้องอาศัยความเข้าใจการวิเคราะห์วินิจฉัยอย่างถูกต้องแม่นยำ เพราะมีทั้งภาษาที่ใช้ทางกฎหมาย ภาษากฎหมายนั้นถ้าใช้ผิดเพี้ยนไปแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจส่งผลกระทบในการตีความได้ การเรียนนิติศาสตร์จึงต้องมีความอดทนละเอียดอ่อนในการเรียนมาก
      
UploadImage
      
        คณะนิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัย เอเชียอาคเนย์ มีการใช้หลักสูตรที่สอนนักศึกษาที่ไม่เน้นสอนไปในทางทฤษฎีอย่างเดียวเท่านั้น เพราะการเรียนแต่ทฤษฎีตามตำราอย่างเดียวจะทำให้นักศึกษาเกิดอาการเบื่อจากตัวอักษรที่ยืดยาว ฉะนั้นจึงมีการให้ผู้ประกอบอาชีพนักกฎหมายตัวจริงมาให้ความรู้ สอนประสบการณ์ในการเป็นนักกฎหมายให้แก่นักศึกษาเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดจากการเรียนในตำราแถมยังได้ความรู้เพิ่มเติมอีกด้วย

        การให้ความสำคัญหลักสูตรในภาคปฏิบัติ ทางคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ มีการจำลองศาลให้แก่นักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติอย่างเสมือนจริงที่สุด นักศึกษาจะได้รู้ว่าศาลนั้นมีไว้ทำอะไร กระบวนการแต่ล่ะขั้นตอนเป็นอย่างไร การขึ้นศาลแต่ล่ะครั้งรูปคดีจะไม่เหมือนกันทุกคดี นอกจากนี้การให้นักศึกษาทดลองใช้ศาลจำลองจะช่วยให้นักศึกษาคลายความตื่นเต้นในตอนประกอบอาชีพจริงๆ ไม่หมดแค่นั้นคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ยังมีการปรับหลักสูตรการสอนให้เข้ากับสภาพกาลปัจจุบันอีกด้วย นิติศาสตร์ยุคใหม่นี้เราจะเรียนกฎหมายอย่างเดียวไม่ได้ เราจำเป็นต้องรู้กฎหมายเฉพาะทาง โดยเฉพาะการเริ่มเข้าสู่อาเซียน เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้า, กฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการขายตรง, กฎหมายอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญกับปัจจุบัน และกฎหมายเกี่ยวกับอุตสาหกรรม เป็นต้น

UploadImage
      
       นอกจากจะปรับหลักสูตรทางกฎหมายให้เข้ากับยุคปัจจุบันแล้วทางคณะยังมีการเปิดสอนวิชาการประพฤติมิชอบ“ นับเป็นมหาวิทยาลัยแรกมีที่นี่ที่เดียวในตอนนี้ที่มีการสอนวิชานี้ และยังมีการเสริมเรื่องคุณธรรมจริยธรรมเพิ่มเข้าไปในหลักสูตรด้วย
       
       รู้เรื่องหลักสูตรการสอนไปแล้วคำถามต่อไปที่เหล่านักศึกษาถามกันมามากที่สุดคือเรื่องโอกาสสำหรับการหางานอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าคณะนิติศาสตร์เป็นคณะที่หางานง่ายจริง ถึงแม้อาชีพที่เห็นกันส่วนใหญ่จะเป็นทนายอัยการ, ผู้พิพากษา, ตำรวจ  แต่น้องๆ รู้หรือไม่ว่าการเรียนกฎหมายไม่ใช้ว่าจะต้องจบออกไปเป็น 4 อาชีพนี้เท่านั้นน้องๆ สามารถที่จะเลือกประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายได้มากมาย เช่น สายการปกครองอาจจะเป็นปลัดอำเภอ, ผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ได้ สายข้าราชพลเรือน ก็จะเป็นนิติกร หรือจะทำงานในหน่วยงานอิสระ เช่น ปปช., ปปท., ปปง., หรือผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภาก็ได้ นอกจากนี้ยังมีองค์กรอีกส่วนที่สามารถประกอบอาชีพได้คือ กกต. (คณะกรรมการเลือกตั้ง)
      
             น้องๆ  คงสงสัยว่าเพราะเหตุใดคณะนิติศาสตร์ถึงมีอาชีพที่รองรับมากมายขนาดนี้ไม่ต้องสงสัยเลย เป็นเพราะคณะนิติศาสตร์เป็นที่ยอมรับของสังคม เป็นสายงานที่สามารถเข้าไปเชื่อมโยงกับทุกสายงาน และเป็นสายที่กำลังขึ้นชื่อว่ามีรายได้เทียบกับหมอเลยทีเดียว

       การเรียนนิติศาสตร์ไม่ได้มีดีแค่โอกาสงานเท่านั้น รายได้จากอาชีพนักกฎหมายยังคุ้มค่าเกินกว่าจะบรรยาย วันนี้เราจะมายกตัวอย่างรายได้ในสายอาชีพนักกฎหมายให้น้องๆ รู้กันเลย เริ่มกันที่อาชีพยอดฮิตของนักกฎหมาย ผู้พิพากษา รายได้จะอยู่ที่ประมาณ 30,000 – 40,000 บาท  นักกฎหมายกฤษฎีกา เงินเดือนจะอยู่ที่ 100,000 บาทเลยทีเดียว ในส่วนของ DSI หรือกรมสอบสวนคดีพิเศษรวมรายได้ในชั้นกลางๆ แล้วประมาณ 50,000–70,000 บาท รายได้ทั้งหมดที่น้องๆ ได้เห็นเป็นเพียงบางส่วนของอาชีพนักกฎหมายเท่านั้น ถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลยแถมคุ้มค่ากับความรู้ที่เรียนมาจริงๆ ถ้าน้องๆ รู้จักที่จะไตร่เต้านำความรู้ประสบการณ์ที่เรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์รับรองว่ารายได้เดือนละ 100,000 บาทไม่หนีไปไหนแน่นอน

UploadImage
    
        ท้ายที่สุดความสำคัญอย่างแท้จริงของนักกฎหมายไม่ได้อยู่ที่ความเก่งความฉลาดอย่างเดียวเท่านั้น แต่อย่างหนึ่งที่ทางมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ คณะนิติศาสตร์สอนกับนักศึกษากฎหมายมาโดยตลอด คือ "สอนให้เด็กไม่ใช้ความเป็นนิติศาสตร์แสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น"


เรื่องโดย p' เค้ก แอดมิชชั่นพรีเมียม
ภาพโดย ทีมงาน AdmissionPremium