"ก้าวสำคัญของคนรักการทำอาหาร และอยากมีกิจการเป็นของตัวเอง" รีวิวสาขาวิชาการจัดการครัวและศิลปะการประกอบอาหาร : U-Review

30 พ.ย. 58 19:34 น.

 
UploadImage                Thammasat Business School ทำการสำรวจ TOP 10 Gen NEXT Dream Workplace หรือ 10 สุดยอดที่ทำงานที่ Gen Next อยากร่วมงาน ("Gen Next" เป็นคำที่ Thammasat Business School นิยามขึ้น หมายถึงคนที่อยู่ช่วงรอยต่อของปลาย Gen Y ถึง Gen Z เป็นต้นไป) และเราพบว่า อันดับ 4 ที่คนรุ่นใหม่สนใจกลับไม่ใช้บริษัทยักษ์ใหญ่ หรือบริษัทเทคโนโลยีข้ามชาติแต่อย่างใด แต่อันดับ 4 ที่ว่าคือการเป็นผู้ประกอบการมีธุรกิจของตัวเอง

                จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการของประเทศไทยที่เจริญเติบโตและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้ธุรกิจยอดฮิตและเป็นที่ใฝ่ฝันของคนรุ่นใหม่เป็นอะไรไปไม่ได้เลย นอกจากกิจการร้านอาหาร และธุรกิจบริการอันเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว

UploadImage                วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับสาขาที่มีรูปแบบการศึกษาที่ออกแบบมาให้นักศึกษาได้มีความคุ้นเคยกับอุตสาหกรรมการบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการครัวและศิลปะการประกอบอาหารตั้งแต่เริ่มต้น ณ วิทยาลัยดุสิตธานี หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการครัวและศิลปะการประกอบอาหาร

                เริ่มตั้งแต่ห้องปฏิบัติการคอฟฟี่ช็อปที่นักศึกษา ปีที่ 3 และปีที่ 4 จะเรียนในส่วนด้าน Professional โดยนักศึกษาจะแบ่งหน้าที่กันให้บริการในร้านของทีมที่ตนต้องรับผิดชอบ ตั้งแต่การคิดธีมตกแต่งร้าน การคิดโปรโมชั่น การทำมาร์เก็ตติ้ง การบริหารร้านอาหาร เป็นผู้จัดการร้าน เป็นบาร์เทนเดอร์ เป็นบาริสต้า เป็นเชฟ ตลอดจนการทำขนมและอาหารขายในร้านเอง ในการทำอาหารแต่ละเมนูนักศึกษาจะต้องมีการวางแผนก่อนว่าจะทำอะไร อย่างไรบ้าง จะต้องใช้จานแบบไหน ตกแต่งอย่างไร ด้วยอะไรบ้าง และนอกจากการทำร้านดูแลร้านUploadImageแล้ว การเก็บกวดทำความสะอาดก็จะเป็นส่วนหนึ่งของคะแนนด้วย จากการสังเกตของเราภายในร้านจะแบ่งออกเป็น 2 โซน คือส่วนผสมเครื่องดื่ม และส่วนประกอบอาหาร สำหรับลูกค้าของร้านจะมีทั้งคนภายนอก นักศึกษา และอาจารย์ในวิทยาลัยเอง นักศึกษาจะได้ดูแลร้านอาหารนี้ไปพร้อมๆ กับการเรียนในวิชาอื่นๆ ตลอด 1 เทอม ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากอาจารย์มาผู้มีประสบการณ์

                ต่อกันด้วยห้องปฏิบัติการเบเกอรี่ ที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้การทำขนมต่างๆ การทำเค้ก ขนมปัง บราวนี่ ชูครีม นักศึกษาต้องผ่านการเรียนขั้นพื้นฐานมาก่อน การเรียนในวิชานี้จะเป็นการให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์มาตกแต่งขนมเอง โดยคะแนนจะถูกวัดจาก ความสวยงาม รสชาติ ความสมบูรณ์ของชิ้นงาน ซึ่งในหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการครัวและศิลปะการประกอบอาหาร จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริงจากการทำUploadImageอาหารในภัตตาคาร ให้สามารถทำได้ทั้งอาหารคาว และอาหารหวาน สลับกันไป

                ปิดท้ายกันที่ห้องเดโม ที่ใช้ในการสอนขั้นตอนการทำงาน ขั้นตอนการทำอาหาร ก่อนลงมือทำจริงวิชาอื่นต่อไป ในการสอบ final ของวิชานี้ นักศึกษาจะจับฉลากว่าจะได้ทำเมนูอะไร แล้วมาสาธิตในห้องเรียนว่าเมนูนั้นทำอย่างไร จำลองว่าเป็นอาจารย์สอนทำอาหารในชั้นเรียน ทางวิทยาลัยยังเปิดหลักสูตรระยะสั้นสำหรับผู้ที่สนใจ โดยเรียนกันในวันเสาร์ อาทิตย์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถลงเรียนเพิ่มได้ เรื่องที่เรียนก็จะแตกต่างกันไป เช่นที่เราไปเจอจะเป็นคอร์สสอนทำอาหารญี่ปุ่น โดยค่าใช้จ่ายคอร์สหนึ่งอยู่ที่ประมาณ 12,000 บาท




UploadImage                นอกจากนี้ทางทีมงานได้มีโอกาสเก็บบทสัมภาษณ์คุณอัฐ หิรัญรัตน์ หรือน้องชะเอม นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการครัวและศิลปะการประกอบอาหาร ชั้นปีที่ 4 ดีกรีเหรียญทองแดงจากเวทีแข่งขันการทำอาหาร THAIFEX-WORLD OF FOOD ASIA มาฝากด้วย

การเรียนในสาขาเป็นอย่างไร ?
เรียนอาหารทุกแบบครับ ทั้งอาหารไทย อาหารเอเชีย อาหารตะวันตก เรียนเบเกอรี่ด้วย เรียนให้รู้ทุกอย่าง แล้วก็เน้นหลักสูตรการบริหารด้วยครับ

ทำไมถึงเลือกเรียนสาขานี้ ?
ชอบทำอาหาร ชอบกิน และอยากเปิดธุรกิจเป็นของตัวเองด้วยครับ

ทุกวันนี้สามารถทำตามที่ฝันไว้ได้หรือยัง ?
ตอนนี้มีธุรกิจขายไก่ทอด ทำเองครับ

อะไรทำให้ที่นี่ดีกว่าที่อื่น ?
จากที่ไปฝึกงานมา เขาจะบอกว่าที่นี้ดีกว่าที่อื่น ด้วยเรามีบุคลากรที่จะมาให้ความรู้ที่เป็น Professional และธุรกิจนี้ก็อยู่ได้แน่นอนเพราะทุกคนก็ยังต้องกิน

อยากให้เล่าถึงประสบการณ์เกี่ยวกับการแข่งขัน THAIFEX-WORLD OF FOOD ASIA ?
เป็นการแข่งขันระดับประเทศ ตอนนั้นได้เหรียญทองแดงมาครับ คู่แข่งมีทั้งเซฟจากโรงแรม และจากสถาบันอื่นด้วยครับ ทุกคนที่มาเข้าร่วมการแข่งมีประสบการณ์สูงมาก ผมคิดว่าที่ได้รางวัลมาเพราะมีอาจารย์คอยให้คำปรึกษา และบอกว่าเราต้องทำอะไรแบบไหนถึงจะเป็นที่ถูกใจของคณะกรรมการ

เราได้อะไรจากการแข่งขัน ?
ได้ประสบการณ์ ได้รู้ว่าเขาแข่งขันกันยังไง ได้เห็นเทคนิคใหม่ๆ ที่เราไม่เคยเจอ เช่นการดึงน้ำตาล แกะสลักน้ำแข็ง แกะผลไม้ และที่สำคัญคือเราจะได้เห็นโลกมากขึ้นครับ

UploadImage

                ในการเรียนการสอนของหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการครัวและศิลปะการประกอบอาหาร ในชั้นปีที่1 นักศึกษาจะได้ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมบริการ และคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะดุสิตธานีสำหรับอุตสาหกรรมบริการ ชั้นปีที่ 2 จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบในทางธุรกิจสำหรับอุตสาหกรรมบริการและพื้นฐานความรู้ของศิลปะการประกอบอาหาร ชั้นปีที่ 3 เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการและการพัฒนาร้านอาหาร และการฝึกปฏิบัติภาคสนามซึ่งมุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติในสถานที่ทำงาน และเมื่อนักศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 จะได้เรียนรู้การจัดการเชิงกลยุทธ์ และการฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม

                และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ ที่สาขาวิขาการครัวและศิลปะการประกอบอาหาร จึงมีวิชาภาคปฏิบัติในการฝึกงานภาคสนามมากถึง 1,200 ชั่วโมง ซึ่งจะอยู่ภายใต้การดูและอย่างใกล้ชิดของอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยจะแบ่งการฝึกปฏิบัติออกเป็น 2 ส่วนสำคัญ คือ โปรแกรมการประกอบอาหารตะวันตก และโปรแกรมการประกอบอาหารเอเชีย การฝึกงานทั้งสองครั้งนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำความรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของศิลปะการประกอบอาหารและการจัดการครัวมาใช้ในสถานที่ทำงานจริง

                จะเห็นได้ว่าตลอดการเรียนการสอนของหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการครัวและศิลปะการประกอบอาหาร วิทยาลัยดุสิตธานี นั้นเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาที่จบออกมาสามารถเข้าทำงานในโรงแรม ภัตตาคารอาหาร และสามารถออกมาเปิดร้านอาหาร ทำธุรกิจเป็นของตัวเองได้อย่างมืออาชีพ


เรื่องโดย ธนารักษ์ คำภีระ ทีมวิชาการ AdmissionPremium.com
ภาพโดย ทีม U-Review AdmissionPremium.com