"นักวิเคราะห์การเงิน อีกอาชีพที่ตลาดแรงงานมีความต้องการสูงและมีรายได้ระหว่างเรียนอีกด้วย" รีวิวสาขาวิศกรรมการเงิน : U-Rivew

21 ธ.ค. 58 11:10 น.

    UploadImage
 
     จากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 หรือที่เรียกกันว่าเศรษฐกิจฟองสบู่แตกนั้น ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่งเห็นความสำคัญ และตระหนักถึงสาเหตุจากการขาดความรู้ในการลงทุน จึงมีความคิดที่ว่าอยากให้ความรู้เรื่องการลงทุนได้กระจายไปยังกลุ่มคนหมู่มากได้มากยิ่งขึ้น และประกอบกับทางมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีบุคลากรที่มีความชำนาญทางคณิตศาสตร์ และสถิติ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการวิเคราะห์ทางการเงินอยู่แล้ว สาขาวิศวกรรรมการเงิน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จึงเกิดขึ้นภายใต้แนวคิดนี้
 

     ผศดร.พิชอร ไหมสุทธิสกุล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ให้คำอธิบายข้อแตกต่างของสาขาบริหารจัดการด้านการเงินทั่วไป และสาขาวิศวกรรรมการเงิน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ไว้ว่า 
    "สาขาการบริหารจัดการด้านการเงินทั่วไป จะทำงานในส่วนการดูแลงบการเงิน งบประมาณหรือเวิคราะห์เฉพาะการเงินของทางบริษัท ดูสภาพความคล่องการเงินของบริษัท"
    "ในขณะที่สาขาวิศวกรรมทางการเงิน จะทำงานเน้นการออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน อาทิเช่น ประกันรูปแบบต่างๆ การฝากออกรูปแบบพิเศษต่างๆ เป็นนักวิเคราะห์การเงินเชิงลึก ซึ่งคนจะเรียกกลุ่มงานนี้ว่า " นักวิเคราะห์การเงิน" (Financial Analyst)"

     โอกาสงานในอาชีพ
     1. เจ้าหน้าที่วางแผนทางการเงิน
     2. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์หลักทรัพย์
     3. เจ้าหน้าที่ตลาดหลักทรัพย์
     4. เจ้าหน้าที่ด้านงานบริหารความเสี่ยง
     5. เจ้าหน้าที่ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทประกันภัย
        รายได้ขั้นต่ำในวุฒิระดับปริญาตรี โดยประมาณ 20,000 -30,000 บาทต่อเดือน และหลักสูตรปริญญาโท (การเรียนหลักสูตร 4+1 ตรีควบโท) โดยประมาณ 40,000 -50,000 บาทต่อเดือน
 
     การจัดการเรียนการสอน
     
ชั้นปีที่  1 จะศึกษาในรายวิชาพื้นฐาน เช่นวิชาแคลคูลัส และสถิติต่างๆ 
     ชั้นปีที่่  2 จะศึกษาในรายวิชาเชิงลึกขึ้นไป เช่น คณิตศาสตร์ทางการเงิน และการคำนวณที่ซ้ำซ้อนมากขึ้น 
     ชั้นปีที่  3 จะศึกษาในรายวิชาที่ประยุกต์ทางการเงิน และได้มองเห็นภาพรวม ว่าจะนำเอาวิชาไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง 
     โดยในชั้นปีที่  2 และ 3 นั้นทางมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้มีกองทุนให้นักศึกษาได้นำไปเทรดหุ้น  เพื่อได้สัมผัสกับประสปการณ์จริง เช่น ลงตลาดทุน เล่นหุ้นที่นักศึกษาสนใจ โดยนักศึกษาบางท่านได้ใช้ศักยภาพของตนเองจนมีรายได้ระหว่างเรียน สามารถจ่ายค่าเทอม ค่าหอพักของตนเองได้ 
     ชั้นปีที่ 4  ในภาคเรียนการศึกษาแรกจะเข้าร่วมฝึกงานสหกิจศึกษาตลอด 4 เดือน กับกลุ่มธุรกิจ ตลาดหลักทรัพย์ ธนาคาร และสายงานประกันต่างๆ ที่มีชื่อเสียงของประเทศ และศึกษาในรายวิชาเฉพาะทาง เช่น ตลาดตราสารอนุพันธ์ การบริหารจัดการหลักทรัพย์ เป็นต้น
     
    คุณสมบัติพื้นฐานของคนที่เหมาะจะเรียนสาขาวิศวกรรมการเงิน
    
1. ต้องมีใจรักทางคณิตศาสตร์ เพราะการเรียนนั้นอาศัยวิชาทางคณิตศาสตร์ล้วนๆ รวมถึงสถิติต่างๆ 
    2. มีความสนใจเรื่องเงินๆ ทองๆ 
    3  สายการเรียน วิทย์-คณิต ศิลป์คำนวณ ปวช. และปวส. มีเกรดเฉลี่ยในวิชาคณิตศาสตร์  2.00 ขึ้นไป

    หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมการเงิน ผศ. ระวีวรรณ เหล็งขยัน ฝากบอกเคล็ดลับของการเรียนสาขาวิชาวิศกวรรมการเงิน ที่จะประสบความสำเร็จไว้ 3 ข้อ คือความตั้งใจจริง มีความมั่นใจในตนเอง และมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา และในอนาคตงานของคนที่เรียนจบสาขาวิศวกรรมการเงินนั้น มีอนาคตที่สดใสมาก เป็นที่ต้องการชองตลาดแรงงานในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่สูงมาก และยังทำให้นักศึกษาสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัว สามารถใช้ศักยภาพของตนเองในขณะที่ศึกษา มาใช้ในการลงทุนเพื่อหารายได้พิเศษ ได้ฝึกประสปการณ์จริงอีกด้วย 
 

     
 


เรื่องโดย พี่จ๋า
ภาพโดย ทีม U-Review AdmissionPremium.com