2นักวิจัย มทส. คว้าผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2558

08 มี.ค. 59 14:57 น.

   ผลงานวิจัยของ 2นักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ให้เป็นผลงานวิจัยเด่น ประจำปี พ.ศ. 2558 ได้แก่ ผลงานวิจัยเด่นด้านพาณิชย์ เรื่อง “การสร้างสายพันธุ์ไก่เนื้อโคราชเพื่อการผลิตเป็นอาชีพวิสาหกิจชุมชน” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์ โมฬีสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และผลงานวิจัยด้านวิชาการ เรื่อง “การประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนในการศึกษาสมบัติพิเศษของวัสดุขั้นสูงสำหรับใช้ในเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่”โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา หัวหน้าสาขาวิชาฟิสิกส์สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้เข้ารับมอบโล่เกียรติยศผลงานวิจัยเด่น สกว. จาก พลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมทส. พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.หนึ่ง เตียอำรุง คณบดีสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและ รองศาสตราจารย์ ดร.สิริโชค จึงถาวรรณ หัวหน้าสถานวิจัย สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 ณ โรงแรมพลูแมน คิงพาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร
 
   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.อมรรัตน์ โมฬี สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มทส.ได้รับรางวัลผลงานวิจัยเด่นด้านพาณิชย์ จากผลงานวิจัยเรื่อง“การสร้างสายพันธุ์ไก่เนื้อโคราช เพื่อการผลิตเป็นอาชีพวิสาหกิจชุมชน” โดย ไก่โคราชเป็นผลงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือกันของ 3องค์กร คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และกรมปศุสัตว์ เพื่อสร้างสายพันธุ์ไก่โคราช ซึ่งเป็นไก่ลูกผสมพื้นเมืองที่มีพ่อพันธุ์เป็นไก่พื้นเมืองเหลืองหางขาวและแม่พันธุ์ไก่สายพันธุ์มทส. ให้เป็นเครื่องมือที่เข้มแข็งในการประกอบอาชีพแก่เกษตรกรรายย่อยและกลุ่มเกษตรกรมีจุดเด่น คือ ต้นทุนต่ำ สร้างกำไรจากการเลี้ยงได้เนื้อมีรสชาติใกล้เคียงกับไก่พื้นเมือง มีไขมันในเนื้อและคอลเลสเตอรอลต่ำมีโปรตีนและคอลลาเจนสูง ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพสามารถผลิตและเข้าสู่ตลาดระดับสูงได้ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของรัฐบาลในการพัฒนาอาชีพสำหรับเกษต
   ไก่โคราชสามารถเลี้ยงในพื้นที่ต่าง ๆของประเทศได้ แม้ว่าจะเป็นพื้นที่แห้งแล้ง เพราะใช้น้ำเพียง 1-1.5 ลิตรต่อตัว ตั้งแต่อายุ 1 วัน ถึงส่งตลาด ด้านการลงทุนด้านโรงเรือนไม่สูง อยู่ที่ 5,000 - 30,000 บาทขึ้นอยู่กับความพร้อมของเกษตรกรและจำนวนไก่ที่เลี้ยง ลูกไก่อายุ 1 วัน มีราคาที่เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ ตัวละ 19 บาทต้นทุนการผลิตไก่มีชีวิตต่อกิโลกรัม ประมาณ 60 - 65 บาท เกษตรกรจะมีกำไรจากการเลี้ยงและจำหน่ายไก่มีชีวิต เฉลี่ยตัวละ 30บาท ในกรณีที่เกษตรกรเลี้ยงไก่ 500 ตัวต่อรุ่นโดยให้กินอาหารเต็มที่ จะมีกำไรประมาณ 15,000 บาทต่อการเลี้ยง2 เดือ
   เนื่องจากเกษตรกรที่ใช้ไก่โคราชในการประกอบอาชีพมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมหาวิทยาลัยจึงลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตลูกไก่จากเดิม 3,000ตัว เป็น 44,000 ตัวต่อเดือน โดยใช้งบประมาณ 26.7ล้านบาท เพื่อสร้างอาชีพให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังขยายฐานความร่วมมือโดยสร้างภาคีความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) หอการค้าจังหวัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมปศุสัตว์ กระทรวงมหาดไทยผ่านระดับจังหวัด อำเภอ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ช่วยกันขับเคลื่อนการเลี้ยงไก่โคราชให้เป็นอาชีพที่เข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรซึ่งขณะนี้ผลของความร่วมมือดังกล่าวเกิดขึ้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในอำเภอห้วยทับทันจังหวัดศรีสะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธรรวมถึงอำเภอเมือง อำเภอโนนสูงอำเภอปักธงชัย และอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมาปัจจุบันมีจำนวนเกษตรกรมากกว่า 300 ราย
 
   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา หัวหน้าสาขาวิชาฟิสิกส์สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มทส. ได้รับรางวัลผลงานวิจัยเด่นด้านวิชาการจากผลงานวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนในการศึกษาสมบัติพิเศษของวัสดุขั้นสูงสำหรับใช้ในเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่” โดยความรู้ที่ได้สามารถนำมาใช้ในการสร้างแพลตฟอร์มใหม่ ที่อาจใช้เสริมหรือแทนที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันที่ส่วนใหญ่ใช้แพลตฟอร์มวัสดุซิลิกอนซึ่งมีขีดจำกัดมากในการพัฒนาต่อไปวิธีแก้ปัญหาคือหาวัสดุใหม่ที่มีความสามารถสูงกว่าสารกึ่งตัวนำแบบดั้งเดิมการวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนในการศึกษาสมบัติพิเศษของวัสดุขั้นสูงสำหรับใช้ในเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่โดยทำการวิจัยในวัสดุ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มโลหะออกไซด์และโลหะแชลโคจิไนด์ และกลุ่มวัสดุคาร์บอนการค้นพบครั้งนี้เป็นความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์ที่มีผลกระทบเชิงวิชาการสูงซึ่งดูจากแนวโน้มการอ้างอิงและการที่ผลงานได้ถูกตีพิมพ์ในวารสารที่มีค่า ImpactFactor สูง (ค่า Impact Factor รวมของ 4บทความ มีค่าประมาณ 78) ในระยะยาวคาดว่าความรู้ที่ได้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่อาทิ spintronics และ valleytronics รวมไปถึงระบบกักเก็บพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูง
   นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา ยังได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น"2015 TRF-OHEC-Scopus Researcher Awards" สาขา PhysicalScience โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักพิมพ์ Elsevier ผู้จัดทำฐานข้อมูลวารสารวิชาการนานาชาติ Scopus และ รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2558 ระดับดีมาก (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์) โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) เมื่อต้นปี 2559 ที่ผ่านมา อีกด้วย
  ทั้งนี้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดย คณะกรรมการตัดสินผลงานวิจัยเด่นได้คัดเลือกผลงาน / โครงการวิจัยเด่น ประจำปี พ.ศ. 2558 รวมทั้งสิ้น 21 ผลงานประกอบด้วย ผลงานวิจัยด้านนโยบาย 2 ผลงาน ผลงานวิจัยด้านสาธารณะ 5 ผลงานผลงานวิจัยด้านพาณิชย์ 3 ผลงาน ผลงานวิจัยด้านชุมชนและพื้นที่ 6 ผลงาน และผลงานวิจัยด้านวิชาการ5 ผลงาน

  ​
 
 
 
 
 
 
 

 


เรื่องโดย ส่วนประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ภาพโดย http://web.sut.ac.th/2012/news/detail/1/news20160226