"นิเทศฯ การแข่งขันสูงจึงต้องรู้จักสร้างคนให้ถูกตลาด"

13 ก.ย. 59 11:21 น.


หากจะพูดถึงสาขานิเทศฯ ในปัจจุบันยังคงเป็นอันดับต้นๆ เสมอเมื่อมีการจัดทำโพลสำรวจสาขาที่อยากเรียนมากที่สุด ถึงแม้จะเปิดมานาน แต่ในขณะเดียวกันแวดวงนิเทศศาสตร์เองก็เริ่มเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยอยู่เรื่อยๆ งานเริ่มมีหลากหลายมากขึ้น และการแข่งขันการเข้าเรียนยังสูงอยู่เช่นกัน



แต่ก็ไม่ใช่ว่าใครๆ ก็จะมาเรียนนิเทศฯได้ อย่างแรกเลยต้องมีความคิดสร้างสรรค์ สังเกตตัวเองง่ายๆ  อย่างเรานั่งดูละครอยู่เรามีความขัดแย้งกับบทบ้างหรือป่าว ต้องหัดคิดนอกกรอบ หรือดูโฆษณาก็คิดตามหรือเข้าใจได้แค่ไหนว่าเขาต้องการจะสื่ออะไรนอกจากขายของ  และที่สำคัญที่สุดในปัจจุบันเราต้องเป็นคนที่หาข้อมูลว่าควรหรือเหมาะที่จะไปเรียนนิเทศในสถาบันไหน ถึงแม้จะเปิดสอนหลายที่มาก แต่บางที่ยังไม่มีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อยุคปัจจุบัน บางที่อุปกรณ์พร้อมแต่ผู้สอนไม่พร้อม ต้องดูว่าสถานที่นั้นมันคุ้มกับที่เราเสียเวลาเรียนไป 4 ปีไหม เพราะ 4 ปี นั้นถือว่าอาจจะเลี้ยงเราได้จนถึงอายุ  60 เลยก็ได้



UploadImage



และเมื่อวงการนิเทศฯ ได้เปลี่ยนจากยุคอนาล็อกเป็นยุคดิจิทัล ยุคสมัยเปลี่ยนหลักสูตรก็ต้องเปลี่ยนตาม ที่สาขาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์นั้น ได้ทำการเปลี่ยนหมดแล้ว และยังปรับหลักสูตรให้เจอทั้งทฤษฎีและปฏิบัติตั้งแต่ปีหนึ่ง เรียนทั้งการเขียนบท การเล่าเรื่องจากภาพยนตร์ การสัมภาษณ์ การตัดต่อ และการเผยแพร่ออกอากาศ ปีสองจะเริ่มเรียนทักษะผลิตรายการ ปีสามได้ทำโปรเจคอย่างการทำข่าวในสตูดิโอ ที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่เยอะมาก ปีสี่จึงเริ่มฝึกงาน

 
ที่ปีหนึ่งเรียนมากขนาดนี้ เป็นเพราะอยากกระตุ้นให้เด็กๆ ได้รู้ใจตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ ว่าเหมาะกับด้านไหนเป็นพิเศษ ไม่ใช่แค่ชอบตามเพื่อน ส่วนกระบวนสุดท้ายทางสาขาจะส่งเด็กเข้าไปอยู่ในตลาดงานนิเทศฯ ซึ่งก็คือการฝึกงาน ฝึกสหกิจ จะเป็นกระบวนการสุดท้ายของการเรียน โดยจะจัดการฝึกงานอยู่ที่ปีสี่เทอมสอง เพราะจะได้ไม่เป็นการสกัดดาวรุ่ง เมื่อไปฝึกงานสี่เดือนได้สร้างผลงานถูกใจสถานประกอบการ อาจได้งานทำกันไปเลย ไม่ต้องกลับมาเรียนต่อ นอกจากนั้นยังมีฝึกสหกิจหนึ่งปี ที่ภายในหนึ่งปี ไม่ต้องเรียนอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย อาจจะเข้ามาบ้างเพื่อติดต่อเอกสารการฝึก เปอร์เซ็นการได้งาน คือ 100% ไม่พลาดแม้แต่คนเดียว



UploadImage



สำหรับน้องๆ ที่สนใจในด้านนี้ฝากไว้ด้วยว่า อย่างแรกต้องฝึกฝนในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ให้ดี ข้อสองต้องพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะงานด้านนี้มีการแข่งขันสูงละเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว
          

 


เรื่องโดย นางสาวรัชนีวรรณ วีรเดชกล้าหาญ และ ธนารักษ์ คำภีระ ทีมวิชาการ AdmissionPremium.com
ภาพโดย ทีม U-Review AdmissionPremium.com