U-Review

รีวิวสาขาวิชาดนตรีบำบัด วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Department Introduction:
พันธกิจของสาขาวิชาดนตรีบำบัด คือการส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงบริการดนตรีบำบัดสำหรับบุคคลทุกวัยและทุกระดับความสามารถ ทั่วประเทศไทย โดยการเป็นผู้นำในการสร้างนักดนตรีบำบัดที่มีคุณภาพ และการเป็นแนวหน้าในการทำงานวิจัยด้านดนตรีบำบัด

ดนตรีบำบัดคืออะไร
ดนตรีบำบัดคือการใช้กิจกรรมดนตรีเช่นการร้องเพลง การเล่นเครื่องดนตรี การแต่งเพลง หรือการฟังเพลง ที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับผู้เข้ารับบริการดนตรีบำบัดแต่ละคน โดยที่ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้ารับบริการเล่นดนตรีเก่ง แต่เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านอื่น ๆ เช่น ทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา

ดนตรีบำบัดเหมาะกับใคร
งานวิจัยทางด้านดนตรีบำบัดที่มีอย่างยาวนานในต่างประเทศแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการใช้ดนตรีบำบัดกับบุคคลทุกวัย ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนไปถึงผู้สูงอายุ และกับบุคคลที่มีความต้องการแตกต่างกัน เช่น เด็กออทิสติก ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้มีความพิการทางสมอง เด็กวัยเรียน ผู้ที่มีอาการเครียด ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นต้น ทั้งนี้ถ้าผู้ป่วยต้องการรับบริการดนตรีบำบัด จะต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์ก่อน

หลักสูตรที่เปิดสอน
สาขาดนตรีบำบัดเปิดหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ซึ่งมีระยะเวลาการเรียน 2 ปี โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎีและหลักการของดนตรีบำบัด เทคนิกดนตรีบำบัดสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ การปฏิบัติดนตรีบำบัด การฝึกงานดนตรีบำบัด ระเบียบวิธีการวิจัย เป็นต้น
ใครเหมาะที่จะเรียนดนตรีบำบัด
ผู้ที่มีสภาวะร่างกายและจิตใจแข็งแรงสมบูรณ์ มีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ มีทักษะพื้นฐานทางด้านดนตรีเช่น การร้องเพลง การเล่นกีตาร์ การเล่นเครื่องประกอบจังหวะ และทฤษฎีดนตรี เป็นต้น
ผู้ที่สนใจเรียนดนตรีบำบัดที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์จะต้องเรียนจบระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาดนตรีหรือสาขาวิชาอื่น ๆ โดยถ้าเรียนจบจากสาขาวิชาอื่น จะต้องมีทักษะพื้นฐานทางด้านดนตรีและมีประสบการณ์การเล่นหรือแสดงดนตรีพอสมควร

อาชีพหลังเรียนจบ
นักศึกษาที่เรียนจบแล้วสามารถเป็นนักดนตรีบำบัดที่ทำงานในโรงพยาบาล โรงพยาบาลจิตเวช สถานบำบัดฟื้นฟู หรือโรงเรียน นอกจากนี้ยังสามารถนำความรู้และเทคนิคในการทำดนตรีบำบัดไปปรับใช้กับอาชีพเดิมของตน (เช่นพยาบาล หรือครู) ได้อีกด้วย

กิจกรรมของสาขาวิชา
นอกเหนือจากการเรียนการสอนที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์แล้ว สาขาวิชาดนตรีบำบัดมีการจัดกิจกรรมดนตรีและดนตรีบำบัดนอกสถานที่อีกด้วย เช่น
• กิจกรรมดนตรีเพื่อสร้างบรรยากาศที่โรงพยาบาลศิริราชและศูนย์สิรินธรเพื่อนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติทุกสัปดาห์
• การจัดอบรมระยะสั้นทางด้านดนตรีบำบัด
• การจัดอบรมให้แก่กลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่สนใจดนตรีบำบัด
• การเข้าร่วมและนำเสนอผลงานวิชาการที่งานประชุมวิชาการทางด้านดนตรีบำบัดที่ต่างประเทศ เช่น งาน World Congress of Music Therapy 2011 ที่ประเทศเกาหลีใต้ และงาน World congress of Music Therapy 2014 ที่ประเทศออสเตรีย

ความสำเร็จของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีบำบัด
1. นาย ภูชงค์ ฉิมพิบูลย์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ชั้นปีที่ 2
• บรรยายหัวข้อ Exploring the future: student perspectives on Globalization of Music Thepary ในงาน World Congress of Music Therapy 2014
• ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนนักศึกษาในเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ World Federation Music therapy Assembly of Student delegates 2011-2014
• มีส่วนร่วมในการทำโปสเตอร์ เรื่อง Music Therapy Program Development at Siriraj Hospital ที่ได้รับคัดเลือกไปนำเสนอในงาน World Congress of Music Therapy 2014
2. นางสาว วิพุธ เคหะสุวรรณ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 มีส่วนร่วมในการทำโปสเตอร์ เรื่อง Music Therapy Program Development at Siriraj Hospital ที่ได้รับคัดเลือกไปนำเสนอในงาน World Congress of Music Therapy 2014
3. นางสาว ธวัลหทัย รุจิชัยธรรมกุล หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 มีส่วนร่วมในการทำโปสเตอร์ เรื่อง Music Therapy Program Development at Siriraj Hospital ที่ได้รับคัดเลือกไปนำเสนอในงาน World Congress of Music Therapy 2014

Link ไป Website ที่เกี่ยวกับดนตรีบำบัด
http://www.musictherapy.org/
http://www.musictherapyworld.net/

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ถ้าพูดถึงมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและมีคุณภาพที่สุดในภาคใต้คงหนีไม่พ้นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ...

พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกีย...

พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติและสืบสานพระราชปณิธานของ”สมเด็จย่า” ...