สอบเข้ามหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของไทย ในการจัดอันดับ QS Asia University Rankings 2019

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา QS University Rankings สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยชื่อดังระดับโลก ได้ทำการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในภูมิเอเชีย QS Asia University Rankings 2019 

และในการจัดอันดับครั้งนี้ มีเรื่องที่น่ายินดีที่มีมหาวิทยาลัยของไทยทั้งสถาบันของรัฐและเอกชน ติดอันดับเอเชียทั้งหมดกว่า 19 สถาบัน ซึ่งรายละเอียดผลการจัดอันดับ มีดังนี้ 

TOP 10 มหาวิทยาลัยของเอเชีย 

อันดับ 1 National University of Singapore (NUS) 
อันดับ 2  The University of Hong Kong 
อันดับ 3 Nanyang Technological University, Singapore และ Tsinghua University (อันดับร่วม) 
อันดับ 5 Peking University
อันดับ 6 Fudan University
อันดับ 7 The Hong Kong University of Science and Technology
อันดับ 8 KAIST-Korea Advanced Institute of Science & Technology
อันดับ 9 The Chinese University of Hong Kong (CUHK)
อันดับ 10 Seoul National University

 

TOP 19 มหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชีย



จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อันดับที่ 44 ของเอเชีย)


มหาวิทยาลัยมหิดล (52) 


มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (96) 


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (108) 


มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (130) 


มหาวิทยาลัยขอนแก่น  (148)


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (153)


มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  (156)


สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (251-260)


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (291-300)


มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (301-350) 


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  (351-400) 


มหาวิทยาลัยนเรศวร  (351-400) 


มหาวิทยาลัยศิลปากร  (351-400) 


มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  (401-450) 


มหาวิทยาลัยบูรพา  (401-450) 


มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  (401-450) 


มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  (401-450) 


มหาวิทยาลัยหอการค้า (451-500) 


ตัวชี้วัด (Indicators) และ ค่าน้ำหนัก (Weightings) ในการจัดอันดับครั้งนี้ ประกอบด้วย
1  | ชื่อเสียงทางด้านวิชาการ 30% (Academic reputation)
2  | ทัศนคติของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิต 20% (Employer Reputation) 
3  | สัดส่วนอาจารย์/บุคลากรต่อนักศึกษา 10% (Faculty Student ratio) 
4  | เครือข่ายผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ 10% (International Research Network) 
5  | สัดส่วนงานวิจัยที่ถูกนำไปใช้อ้างอิง 10% (Citations per Paper) 
6  | สัดส่วนงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์  5% (Papers per faculty)
7  | บุคลากรที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก 5% (Staff with PhD) 
8  | สัดส่วนอาจารย์ชาวต่างชาติ  2.5% (Proportion of international faculty) 
9  | สัดส่วนนักศึกษาชาวต่างชาติ  2.5% (Proportion of international students) 
10  | สัดส่วนนักศึกษาต่างชาติที่มาแลกเปลี่ยน  2.5% (Proportion of inbound exchange students)  
11  | สัดส่วนนักศึกษาที่ไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ  2.5% (Proportion of outbound exchange students)  

(ปีนี้การจัดอันดับ QS Asia University Rankings ได้เพิ่มตัวชี้วัดจากปีก่อนอีก 1 อย่าง คือ International Research Network โดยการใช้ข้อมูลจากการตีพิมพ์ร่วมกับนักวิจัยชาวต่างประเทศในฐานข้อมูล Scopus)


ที่มา :  www.topuniversities.com