ผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX)
ผลการเรียน เฉลี่ย (เกรดเฉลี่ย) ของทุกวิชาที่ได้เรียนมาตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (หรือเทียบเท่า)
มี 2 กรณี
กรณีกำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะใช้ผลการเรียนเฉลี่ย 4 - 5 ภาคเรียน (ขึ้นอยู่กับระเบียบการรัยสมัครของคณะ/สาขา)
กรณีกำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะใช้ผลการเรียนเฉลี่ย 4 - 5 ภาคเรียน (ขึ้นอยู่กับระเบียบการรัยสมัครของคณะ/สาขา)
การทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-Net)
O-NET (Ordinary National Educational Test) การทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียน ซึ่งจะทำการสอบเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
วิชาที่ต้องสอบ
+ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
+ คณิตศาสตร์
+ วิทยาศาสตร์
+ ภาษาไทย
+ ภาษาอังกฤษ
9 วิชาสามัญ
เป็นข้อสอบกลางที่จัดสอบโดย สทศ. เพื่อนำมาใช้ในการรับตรงเข้ามหาวิทยาลัย จำนวน 9 วิชา โดยไม่จำเป็นต้องสอบให้ครบทั้ง 9 วิชาก็ได้ แต่ให้เลือกสอบวิชาตามเกณฑ์การรับของแต่ละมหาวิทยาลัยที่ต้องการเรียนได้เลย
วิชาที่ต้องสอบ
+ สังคมศึกษา
+ คณิตศาสตร์ 1 (สายวิทย์และศิลป์คำนวณ)
+ คณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์ภาษา)
+ วิทยาศาสตร์ (สายศิลป์ภาษา)
+ ภาษาไทย
+ ภาษาอังกฤษ
+ ฟิสิกส์
+ เคมี
+ ชีววิทยา
แบบทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT)
GAT (General Aptitude Tests) เป็นแบบทดสอบความถนัดทั่วไป
แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
+ ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา 50%
+ ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 50%
PAT
PAT (Professional and Academic Aptitude Test) เป็นความรู้พื้นฐานและศักยภาพที่จะใช้สำหรับเรียนต่อในวิชาชีพ มีทั้งหมด 7 ส่วน
วิชาที่ต้องสอบ
+ PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
+ PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
+ PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
+ PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
+ PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
+ PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร
+ PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ
- 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
- 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
- 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
- 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
- 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
- 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
- 7.7 ความถนัดทางภาษาเกาหลี
หมายเหตุ
เกณฑ์ สัดส่วน และคะแนนที่ใช้ในการสมัครสอบในแต่ละรอบมีความ แตกต่างกัน