รู้จักคณะสาขา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

เรียนเกี่ยวกับ

สาขาสารสนเทศศาสตร์ได้ถูกปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร มาจากสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์เรียนเพื่อเป็นผู้บริหารจัดการข้อมูล สารสนเทศ ในรูปแบบต่างๆ เนื้อหาที่เรียนเกี่ยวข้องกับแหล่งบริการสารสนเทศต่างๆ โดยแหล่งหลักๆที่รวบรวมสารสนเทศไว้มากๆ ได้แก่ห้องสมุดนั่นเอง
วิชาเอกก็จะประกอบด้วยหลากหลายวิชาที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล อาทิสารสนเทศกับสังคม แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ การวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เครือข่ายห้องสมุดกับการเรียนรู้ การจัดเก็บการค้นคืนสารสนเทศ การจัดการฐานข้อมูล
การวิจัยเบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้บางมหาลัยอาจแยกเอกวิชาเลือกเพิ่มเติม เช่นสำนักงานอัตโนมัติ  การเขียนเพื่อการสื่อสาร สารสนเทศสิ่งแวดล้อม การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การจัดการเว็บเพจ การจัดการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง สิ่งพิมพ์ชุมชน ฯลฯ 

คุณสมบัติ

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือ ประกาศนียบัตรอื่นๆที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า สำหรับผู้สมัครที่จบหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการดำเนินงานการศึกษานอก เขตโรงเรียนสายสามัญศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544
2. ต้องไม่เป็นผู้กำลังศึกษาเกินกว่าชั้นปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ร่วมในการคัดเลือกนี้ เว้นแต่ได้ลาออกจากสถาบันอุดมศึกษานั้นเสียก่อน
3. สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายทุกแผนการเรียน

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

# มหาวิทยาลัย คณะ/สาขา
1 มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ คณะอักษรศาสตร์ สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์          
2 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์          
3 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์          
4 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์          
5 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์          
6 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์          
7 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์          
8 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์          
9 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์          
10 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์          
11 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์          
12 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนยรังสิต คณะศิลปศาสตร์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์          
13 มหาวิทยาลัยบูรพา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์          
14 มหาวิทยาลัยบูรพา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาบรรณารักษ์          
15 มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะมนุษยศาสตร์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์          

แนวทางการประกอบอาชีพ

หลักสูตรนี้ได้ออกแบบไว้เพื่อให้บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานที่ให้บริกาสารสนเทศตลอดจนการทำงานที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เช่น ครู/อาจารย์ บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ นักวิชาการสารสนเทศ 
นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ นักจดหมายเหตุ อาชีพอิสระ ในหน่วยงานภาครัฐและเอกเชน เช่น สำนักพิมพ์ ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดคณะ/มหาวิทยาลัย ศูนย์ข่าว บล๊อกเกอร์บนเว็บไซต์  ศูนย์วิวัย กระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ หรือหากมีความรู้ทางด้านไอที สามารจะเป็นนักวิเคราะห์หรือนักพัฒนาเว็บไซต์ก็ได้เช่นกัน

ที่มาข้อมูล

http://is.udru.ac.th/
https://www.gotoknow.org/posts/272344
http://is.udru.ac.th/activities-news/0025.html
http://huso.pkru.ac.th/news_inner.php?nid=228
http://www.pkru.ac.th/news_modal.php?id_new=1689
http://neesupisara.blogspot.com/2015/03/blog-post.html
http://www.bru.ac.th/bru56/index.php?option=com_content&view=article&id=611:libaly&catid=101:humam&lang=th

SHARED