รู้จักคณะสาขา
คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
เรียนเกี่ยวกับ

นักศึกษาจะเรียนรู้เกี่ยวกับ
โรค กลุ่มอาการ ภาวะทางจิตเวชศาสตร์ตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ของแพทยสภา ฝึกทักษะการสัมภาษณ์ประวัติ การตรวจสภาพจิต การวินิจฉัยแยกโรค ปัญหาทางจิตเวชที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติทั่วไป การรักษาพยาบาลปัญหาฉุกเฉิน หลักการช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชและครอบครัว การใช้ยาทางจิตเวชสำหรับแพทย์ทั่วไป การให้คำปรึกษาจิตบำบัดแบบประคับประคอง การสร้างเสริมสุขภาพจิต การป้องกันปัญหาสุขภาพจิต
ลักษณะการเรียน
ประกอบด้วยการบรรยาย การอภิปรายในห้องเรียน การดูแลผู้ป่วยที่หอผู้ป่วย การฝึกสัมภาษณ์ผู้ป่วยเพื่อการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก การออกหน่วยสุขภาพจิตโรงเรียน
ตัวอย่างหัวข้อการอภิปรายและบรรยายในห้องเรียน เช่น
• อาการวิทยา การจำแนกโรคและความผิดปกติทางจิตเวชศาสตร์
• การสัมภาษณ์ทางจิตเวชและการตรวจสภาพจิต
• จิตเวชศาสตร์ฉุกเฉินและการฆ่าตัวตาย
• โรคจิตและโรคจากสาเหตุทางกาย
• ภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า
• ผู้ป่วยจิตเวชที่มาพบแพทย์ด้วยอาการทางกาย
• การใช้ยาทางจิตเวช
• หลักการช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชและครอบครัว
• การให้คำปรึกษาและจิตบำบัดแบบประคับประคอง
• การส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต
• การติดสารเสพติดและการใช้สารในทางที่ผิด
• สุขภาพจิตเวชเด็กวัยรุ่น
คุณสมบัติ
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือ ประกาศนียบัตรอื่นๆที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า สำหรับผู้สมัครที่จบหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการดำเนินงานการศึกษานอก เขตโรงเรียนสายสามัญศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544
2. ต้องไม่เป็นผู้กำลังศึกษาเกินกว่าชั้นปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ร่วมในการคัดเลือกนี้ เว้นแต่ได้ลาออกจากสถาบันอุดมศึกษานั้นเสียก่อน
3. ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
4. ต้องศึกษารายวิชาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ครบตามเกณฑ์ที่กำหนดมีรายละเอียดดังนี้
หลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
- หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน ให้ศึกษารายวิชาต่างๆเทียบเท่าเกณฑ์หลักสูตรการศึกษาในโรงเรียน สำหรับหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ให้แสดงหลักฐานว่าได้ศึกษาภาคปฏิบัติการเทียบเท่า หลักสูตรการศึกษาในโรงเรียน
แนวทางการประกอบอาชีพ
1. จิตแพทย์
2. จิตเวชชุมชน
ที่มาข้อมูล
http://med.mahidol.ac.th/psych/th/history/psychiatry
http://www.si.mahidol.ac.th/th/department/psychiatrics
https://www.facebook.com/ramapsychiatry/timeline?ref=page_internal
http://www.si.mahidol.ac.th/th/annualreport2010/Annual_Report2010/386.pdf