รู้จักคณะสาขา

คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

เรียนเกี่ยวกับ

UploadImage
 
         การจัดการโลจิสติกส์เป็นหน่วยหนึ่งในสายการผลิต และสายการค้า เรียกว่า Supply Chain หรือห่วงโซ่อุปทาน  เป็นทั้งกรขนส่ง กรผลิต การคลังสินค้า การจัดซื้อจัดหา เป็นตัวช่วยอย่างหนึ่งที่จะทำให้สายการผลิตทั้งหมด มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นการตรงต่อเวลา และความถูกต้องของสินค้า และทำให้เกิดการลดต้นทุนได้  จัดการตั้งแต่หาวัตถุดิบ เริ่มผลิต จนถึงมือผู้บริโภค โดยจะเรียนเกี่ยวกับ การบริหารจัดการทั่วไป การจัดการทรัพยากรมนุษย์ บัญชี  พื้นฐานโลจิสติกส์ การจัดการคลังสินค้า การจัดการSupply Chain การบริการโลจิสติกส์ การนำเข้า ส่งออกสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องการตรงต่อเวลา ความถูกต้องของสินค้า

         การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เป็นการบูรณาการความรู้ของศาสตร์เชิงวิชาการต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการเชื่อมโยงของธุรกิจ และสร้างให้บุคลากรเกิดแนวคิดเชิงระบบ กล่าวคือ ไม่ได้พิจารณาเพียงแค่แผนก หรือหน่วยงาน หรือองค์กรหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาทั่วทั้งองค์กร ไปตลอดจนพันธมิตรทางธุรกิจในทุกๆ ส่วน และต้องคำนึงถึงวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ด้วย (ตั่งแต่เริ่มผลิตสินค้า จนถึงสินค้าหมดอายุ และการทำลายสินค้า) ส่งผลให้เกิดผลลัพทธ์ทางด้าน ต้นทุน เวลาที่เหมาะสม และคุณภาพของสินค้าที่ลูกค้าต้องการ

งานของโลจิสติกส์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ

กิจกรรมการเคลื่อนย้าย ประกอบด้วย การขนส่ง การเคลื่อนย้ายของข้อมูลข่าวสาร เช่น ความต้องการของลูกค้า  การเคลื่อนย้ายของเงินทุน  เป็นต้น
กิจกรรมการจัดเก็บและควบคุมสินค้า ประกอบด้วย การจัดซื้อ-จัดหา การจัดการคลังสินค้า การจัดการสินค้าคงคลัง
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระจายสินค้า ประกอบด้วย ศูนย์กระจายสินค้า การบรรจุภัณฑ์ การส่งมอบสินค้

คุณสมบัติ

1. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)หรือเทียบเท่า
2. ผู้ที่สนใจศึกษาทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ควรเป็นผู้ที่ชอบทางด้านการบริหารธุรกิจแบบสมัยใหม่  มีวิสัยทัศน์และชอบวิเคราะห์วางแผนตลอดจนต้องเป็นผู้ที่สนใจทางด้านการจัดการขององค์กรธุรกิจต่างๆ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

# มหาวิทยาลัย คณะ/สาขา
1 มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน           
2 มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน          
3 มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์           
4 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน       
5 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน           
6 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน          
7 มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์          
8 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
9 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์และระบบห่วงโซ่อุปทาน          
10 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะสถิติประยุกต์ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
11 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์          
12 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์          
13 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์และการจัดการ          
14 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
15 มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
16 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
17 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
18 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยการฝึกหัดครู สาขาการจัดการโลจิสติกส์            
19 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์          
20 มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์          
21 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
22 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน          
23 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์          
24 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์          
25 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
26 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน สาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีก          
27 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน สาขาการจัดการโลจิสติกส์เชิงยุทธศาสตร์          
28 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน สาขาการจัดการโลจิสติกส์        
29 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน สาขาธุรกิจพาณิชยนาวี          
30 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
31 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
32 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์          
33 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูนารถ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
34 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี คณะเทคโนโลยีสังคม สาขาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์          
35 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
36 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์          
37 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการด้านโลจิสติกส์          
38 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน          
39 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช คณะเทคโนโลยีการจัดการ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
40 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคกาฬสินธุ์ เทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์          
41 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ          
42 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย สาขาการจัดการด้านโลจิสติกส์        
43 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย สาขาการจัดการโลจิสติกส์        
44 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์และระบบห่วงโซ่อุปทาน          
45 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์          
46 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์          
47 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์          
48 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์          
49 มหาวิทยาลัยบูรพา คณะโลจิสติกส์ สาขาการค้าระหว่างประเทศ          
50 มหาวิทยาลัยบูรพา คณะโลจิสติกส์ สาขาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์          
51 มหาวิทยาลัยบูรพา คณะโลจิสติกส์ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน        
52 มหาวิทยาลัยบูรพา คณะโลจิสติกส์ สาขาการจัดการโลจิสติกส์        
53 มหาวิทยาลัยบูรพา คณะโลจิสติกส์ สาขาการจัดการอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี          
54 มหาวิทยาลัยบูรพา คณะโลจิสติกส์ สาขาธุรกิจพาณิชยนาวี          
55 มหาวิทยาลัยบูรพา คณะโลจิสติกส์ สาขาวิทยาการเดินเรือ          
56 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาลัยนานาชาติ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
57 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และการค้าชายแดน          
58 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศสระแก้ว คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และการค้าชายแดน          
59 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชาการจัดการ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน        
60 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์          
61 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาลัยนานาชาติ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน          
62 มหาวิทยาลัยรามคำแหง บัณฑิตวิทยาลัย สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
63 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
64 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
65 มหาวิทยาลัยเกริก คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
66 มหาวิทยาลัยคริสเตียน คณะบัญชี ธุรกิจและมัลติมีเดีย สาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน          
67 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์          
68 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์          
69 มหาวิทยาลัยธนบุรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
70 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน          
71 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์          
72 มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
73 มหาวิทยาลัยปทุมธานี คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์          
74 มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
75 มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์          
76 มหาวิทยาลัยรังสิต คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
77 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์          
78 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน          
79 มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
80 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
81 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์          
82 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บัณฑิตวิทยาลัย สาขาโลจิสติกส์          
83 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน          
84 วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาการจัดการโลจิสติกส์          
85 วิทยาลัยนครราชสีมา คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์          

แนวทางการประกอบอาชีพ

ในภาคปฏิบัติผู้เรียนจะได้ศึกษาดูงาน และเข้าโครงการสหกิจศึกษาหน่วยงานด้านลอจิสติกส์และโซ่อุปทานที่มีชื่อเสียง ดังนั้น บัณฑิตสาขาวิชาการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทานจะมีความพร้อมในองค์ความรู้ทางทฤษฎี และภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอที่จะสร้างธุรกิจด้วยตนเอง และเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในสายงานด้านลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน

อาชีพทางด้านการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน

การจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทานเป็นการบูรณาการความรู้ในทุกๆ ด้านเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กร ดังนั้นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสายงานนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่สำคัญก็คือ

1. ตำแหน่งงานในองค์กร

งานจัดซื้อ จัดหา จะต้องทราบถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบ หลักการเจรจาต่อรอง การประมาณการความต้องการที่แม่นยำ หลักเกณฑ์ในการชำระเงิน เทคโนโลยีที่ใช้ในงานจัดซื้อจัดหา การจัดการความสัมพันธ์กับผู้ขายปัจจัยการผลิต เช่น การร่วมกันวางแผนการสั่งซื้อ เป็นต้น
งานคลังสินค้า จะต้องทำการวางแผนการใช้พื้นที่ภายในคลังสินค้า หลักการจัดเก็บสินค้า การใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน ปริมาณของสินค้าที่เหมาะสม การแบ่งประเภทของสินค้า การวางแผนการจัดเก็บและจัดส่งสินค้า เป็นต้น
งานขนส่งสินค้า เกี่ยวข้องกับการวางแผนการขนส่ง การกำหนดเส้นทางการขนส่ง วิธีการกระจายสินค้าที่เหมาะสม การใช้ทรัพยากรอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้งขาไปและขากลับ การพัฒนาวิธีการจัดส่งเพื่อลดเวลาในการจัดส่งสินค้า เป็นต้น
งานด้านสารสนเทศ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ตั้งแต่ความต้องการของลูกค้า ปัญหาที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลด้านการไหลของสินค้า การไหลของข้อมูลข่าวสาร และการไหลของเงิน ข้อมูลของคลังสินค้า ข้อมูลของผู้ขายปัจจัยการผลิต เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาองค์กร
งานด้านลูกค้าสัมพันธ์ เป็นการดูแลจัดการลูกค้า อาทิเช่น การจัดการร้านค้าปลีก เป็นการช่วยพัฒนาร้านค้าในด้านการวางแผนการสั่งซื้อ การจัดเก็บสินค้า การจัดหน้าร้าน การประสานข้อมูลกับลูกค้า
อื่นๆ เช่น งานลดต้นทุน การวางแผนการบำรุงรักษา
2. งานที่ปรึกษา

นักวิเคราะห์และปรับปรุงธุรกิจ จะต้องเข้าใจถึงระบบโดยรวมของธุรกิจ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา การหาแนวทางในการพัฒนาองค์กรเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการลดต้นทุน
การฝึกอบรม เทคนิคต่างๆ ด้านลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน
การให้คำปรึกษาหน่วยงาน

ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ

โอกาสหางานง่าย

7/10

ความยากง่ายในการเรียน

7/10

ตรงกับเทรนด์อนาคต

อาเซียน

ที่มาข้อมูล

http://www.bwlogistics.co.th/readnews.php?news=4
https://blog.eduzones.com/futurecareerexpo/101312
http://host.siamtechu.net/gallery.php?main_id=654#3
http://business.utcc.ac.th/index.php/bba-program-in-logistic-management
http://msc.sru.ac.th/th/course-prospective-student/course/logistics-management.html
http://log.buu.ac.th/weblog/index.php/2013-07-25-12-19-02/2013-07-25-12-32-20/338-2013-11-12-09-27-23
http://www.spu.ac.th/business/courses/bachelors/logistic-management

SHARED