รู้จักคณะสาขา

คณะบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจการบิน

เรียนเกี่ยวกับ

UploadImage

           อุตสาหกรรมการบิน เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่เป็นเครื่องมือสำคัญของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  ซึ่งปัจจุบันมีความสำคัญและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากความต้องการในการเดินทางที่สะดวกรวดเร็วขึ้น การตอบสนองด้านการท่องเที่ยว  การประกอบธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศ ที่สำคัญประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเป็นศูนย์กลางด้านการบิน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่จะผลิตบัณฑิตด้านการจัดการธุรกิจการบินเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการบิน โดยร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนสนับสนุนให้บัณฑิตมีคุณภาพโดยการทอดความรู้ความสามารถจากผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในสาขาวิชาชีพทางด้านธุรกิจการบินที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาที่เรียน โดยเน้นทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถและเป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงานสากลด้านธุรกิจการบิน  ตลอดจนเชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่มีประสบการณ์ในวิชาชีพเป็นวิทยากรพิเศษส่งเสริมให้หลักสูตรมีความเข้มแข็งในการพัฒนาบัณฑิต การพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินจึงมีความสำคัญ และสอดคล้องกับความต้องการขององค์การต่างๆทั้งในและต่างประเทศ

คุณสมบัติ

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือ ประกาศนียบัตรอื่นๆที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า สำหรับผู้สมัครที่จบหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการดำเนินงานการศึกษานอก เขตโรงเรียนสายสามัญศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544
2. สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกแผนการเรียน หรือเทียบเท่า

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

# มหาวิทยาลัย คณะ/สาขา
1 มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจการบิน            
2 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการธุรกิจการบิน          
3 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ สาขาการจัดการธุรกิจการบิน          
4 มหาวิทยาลัยเกริก คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจการบิน          
5 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์          

แนวทางการประกอบอาชีพ

(1) พนักงานบริการและต้อนรับบนเครื่องบิน ( flight attendant )

(2) พนักงานบริการและต้อนรับภาคพื้นดิน

(3) เจ้าหน้าที่ฝ่ายขนส่งสินค้าทางอากาศ  เจ้าหน้าที่แผนกคลังสินค้าทางอากาศ (Air Cargo) กรมการขนส่งทางอากาศ

(4) เจ้าหน้าที่ในองค์การและธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสายการบิน เช่น บริษัท การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย   จำกัด (มหาชน)

(5) กรมศุลกากร  สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

(6) เจ้าหน้าที่แผนกสำรองที่นั่งและจัดจำหน่ายบัตรโดยสารของบริษัท ตัวแทนการท่องเที่ยว ตัวแทนส่งเสริมการตลาดสายการบินต่างๆ
 

 

ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ

โอกาสหางานง่าย

9/10

ความยากง่ายในการเรียน

7/10

ตรงกับเทรนด์อนาคต

เทรนด์อาเซียน

ที่มาข้อมูล

http://www.spu.ac.th/business/courses/bachelors/business-aviation/course-description

SHARED