U-Review

รีวิววิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ในปัจจุบันสถานการณ์การค้าอาหารโลกมีความเปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นเพียงการค้าสินค้าเกษตร มาเป็นการค้าสินค้ากึ่งแปรรูปและสินค้าสำเร็จรูป อันเป็นผลจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการแปรรูปและการเก็บรักษาที่ทำให้อาหารมีอายุยาวนานขึ้น ปลอดภัยและมีความหลากหลาย ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรอุตสาหกรรมภาคส่วนต่างๆ ต้องมีบุคลากรที่มีศักยภาพและมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการพัฒนากระบวนการผลิต การถนอมอาหาร การบรรจุ และการเก็บรักษาอาหารให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรม กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ในระดับสากล เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาขององค์กร ตลอดจนอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ

ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จึงได้พัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารขึ้น เป็นการเรียนในหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี โดยในปีที่ 1 - 2 นักศึกษาจะได้เรียนในรายวิชา ภาษาอังกฤษ แคลคูลัส ฟิสิกส์ และวิชาหลักอย่าง เคมีเชิงฟิสิกส์ เคมีวิเคราะห์ เคมีอาหาร และชีววิทยา จากนั้นในชั้นปีที่ 3 จะได้เรียนในห้องปฏิบัติการมากยิ่งขึ้นในรายวิชาเกี่ยวกับ ปฏิบัติการชีวเคมี การแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร และสุขาภิบาลโรงงานอาหาร โดยจะแบ่งการเรียนของนักศึกษาออกเป็น 2 รูปแบบ คือ นักศึกษาโครงการปกติ จะมีการฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และนักศึกษาโครงการเรียนรู้ร่วมอุตสาหกรรม คือนักศึกษาจะได้ฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นเวลา 16 สัปดาห์ หลังจบการศึกษาชั้นปีที่ 3 เทอมที่ 2

หลักสูตรการเรียนการสอนโดยทั่วไป นอกจากจะเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถในทางทฤษฏี มีทักษะในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ มีทักษะการเรียนรู้ร่วมกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มีประสบการณ์ด้านงานวิจัยและพัฒนาแล้ว ยังมีวิชาเลือกหลากหลายทั้งภายในและภายนอกให้ได้เลือกเรียนเสริมความสามารถ และคณะฯ ได้สนับสนุนให้นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น ประเทศนิวซีแลนด์ควบคู่ไปด้วย เมื่อนักศึกษาเรียนจบ สามารถไปประกอบอาชีพได้หลากหลาย เช่น นักวิเคราะห์ ผู้ตรวจสอบคุณภาพ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ในสถานประกอบการหรือสถาบันวิจัยต่างๆ หรือเป็นผู้ประกอบการอิสระ สร้างธุรกิจของตัวเองโดยใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร
 
จบมาทำงานอะไร
- นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัย
- นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารในสถานประกอบการต่างๆ 
- ผู้ประกอบการอิสระโดยใช้ความรู้ด้านนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร
- ครู หรืออาจารย์ทางวิทยาศาสตร์

สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง เคลียริ่งเฮาส์ (กุมภาพันธ์ - มีนาคม)
- สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.75
- มีผลการเรียนกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 2.50
- สมัครผ่านเว็บไซต์ http://admission.kmutt.ac.th/

ระบบรับตรง โครงการผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มิถุนนายน)
- สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.75
- มีผลการสอบ GAT/ PAT1(คณิตศาสตร์), PAT2(วิทยาศาสตร์)
- สมัครผ่านเว็บไซต์ http://admission.kmutt.ac.th/

แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30% 
- GAT 10% 
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อผลิตบุคลากรระดับนักบริหารที่มีความรอบรู้ ...

วิศวกรรมธุรกิจยานยนต์ (Department of Automotive Business Engineering) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

วิศวกรรมธุรกิจยานยนต์เป็นหลักสูตรเกี่ยวกับกระบวนการธุรกิจตลอดจนห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์ ...

หลักสูตรนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

หลักสูตรคณะนิเทศแห่งนี้ มีการปรับหลักสูตรเสมอเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ...