TCAS รอบที่ 2 - โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มแพทย์เพื่อชุมชน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
โพสเมื่อ : 03 พ.ย. 60 12:25 น. สนใจสมัคร : 141
ปิดรับ พิมพ์
รับสมัคร
04 ธ.ค. 2560 - 18 ธ.ค. 2560
ชำระเงิน
04 ธ.ค. 2560 - 19 ธ.ค. 2560
ประกาศรายชื่อมีสิทธิ์สอบ
15 ม.ค. 2561
สอบข้อเขียน
10 มี.ค. 2561 - 18 มี.ค. 2561
ประกาศผลคัดเลือก
19 เม.ย. 2561
สัมภาษณ์
20 เม.ย. 2561 - 25 เม.ย. 2561
ประกาศผลสุดท้าย
27 เม.ย. 2561 - 11 พ.ค. 2561
ตัดสิทธิ์ใน TCAS รอบถัดไป
ตัดสิทธิ์

เปิดรับ : 1 สาขา จำนวน : 78 ที่นั่ง


ลำดับ คณะ/สาขา ที่นั่ง เกรด สาย  
1. คณะแพทยศาสตร์ 78 ไม่ใช้ วิทย์-คณิต

9 วิชาสามัญ

สอบตรง

สัมภาษณ์

คุณสมบัติพิเศษ
ลิงค์ระเบียบการ
ลิงค์รับสมัคร
ลิงค์ประกาศผล
ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรื่อง การรับสมัครสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
คณะแพทยศาสตร์ ปีการศึกษา 2561
รอบที่ 2 (การรับแบบโควตาที่มีการสอบข้อเขียน)

-------------------------------------
          ด้วยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเห็นสมควรดำเนินการรับสมัครและสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษษ 2561 รอบที่ 2 (การรับแบบโควตาที่มีการสอบข้อเขียน) ตามข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าด้วยการรับนักเรียนเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวิธีรับตรง พ.ศ.2551 โดยมีรายละเอียดวิธีการรับสมัครและคัดเลือก ดังต่อไปนี้

คุณสมบัติของผู้สมัคร
     1.มีสัญชาติไทยและเป็นผู้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
     2.ต้องมีคุณสมบัติที่จะปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่างๆของรัฐได้หลังจากจบการศึกษาแล้ว
     3.เป็นผู้มีความประพฤติดีและรับรองต่อมหาวิทยาลัยได้ว่าจะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มความสามารถและยินยอมปฎิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้วหรือที่  จะมีต่อไปโดยเคร่งครัดทุกประการ
     4.ต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกให้ออกจากสถาบันการศึกษาใดๆมาแล้ว เพราะความประพฤติไม่เหมาะสมหรือมีความผิดตามกฎหมาย
     5.ต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกลงโทษเนื่องจากกระทำผิดหรือรวมกระทำทุจริตในการสอบวัดความรู้เพื่อสมัครสอบคัดเลือกเข้าสถาบันการศึกษาใดๆในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
     6.เป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการทางร่างกาย อันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน หรือการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
        6.1.ปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรง อันอาจเป็นอันตรายต่อตนเองและ/หรือผู้อื่น เช่น โรคจิต(Psychotic disorders) โรคอารมณ์ผิดปกติ(Mood disorders) บุคลิกภาพผิดปกติ(Personality disorders) ชนิด antisocial personality disorders หรือ boraerline personality disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆอันเป็นอุปสรรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน หรือการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
        6.2.โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตรายที่อาจเกิดอันตรายต่อตอนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร
        6.3.โรคไม่ติดต่อหรือภาวะที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเองหรือผู้ป่วยดังต่อไปนี้
        -โรคลมชักที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ (โรคลมชักที่ไม่มีอาการชักมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี โดยมีการรับรองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถือเป็นโรคลมชักที่ควคุมได้)
        -โรคหัวใจระดับรุนแรง
        -โรคความดันโลหิตสูงรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เกิดพยาธิสภาพต่ออวัยวะอย่างถาวร
        -ภาวะไตเรื้อรัว
-ภาวะติดสารเสพติดให้โทษ
        6.4.ความผิดปกติในการเห็นภาพที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัตงาน หรือการประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยมีระดับการมองเห็นในตาข้างที่ดีเมื่อแก้ไขด้วยแว่นสายตาแล้วน้อยกว่า 6/12 หรือ 20/40
        6.5.ความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้างและความสามารถในการแยกแยะคำพูด (speech discrimination score) โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500-2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูดน้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทของการได้ยิน (sensorineural hearing loss) ที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน หรือการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
        6.6.โรคหรือภาวะความผิดปกติอื่นๆ ซึ่่งมิได้ระบุไว้ ที่คณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน หรือการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้งนี้คณบดีคณะเเพทยศาสตร์ อาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคหรือผู้เชี่ยวชาฐในแต่ละกรณีตรวจเพิ่มเติมได้

คุณสมบัติเฉพาะ
     1.เป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่การรับสมัครและการสอบคัดเลือกของคณะเเพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณะสุข 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรปราการ ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด นครนายก พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม และสมุทรสาคา โดย
        1.1.ผู้สมัครและบิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหหมาย ปัจจุบันต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดที่สมัครต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปีนับจนถึงวันสุดท้ายของการสมัคร โดยมีทะเบียนบ้านเป็นหลักฐาน(หากบิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมายที่เป็นข้าราชการต้องโยกย้ายออกนอกภูมิลำเนาเดิมให้มีเอกสารยืนยันการโยกย้าย) 
        1.2.เคยศึกษาชั้นมัธยมศึกษษปีที่ 1-3 ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใน 9 จังหวัดในข้อ 1 โดยมีใบระเบียบแสดงผลการเรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 3 มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 (ปพ.1:บ) เป็นหลักฐาน
     2.เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 หรือเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ของโครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในการเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
     3.ต้องไม่เป็นผู้ที่จบการศึกษษจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) 
     4.ก่อนเข้าศึกษาต้องทำสัญญากับกระทรวงสาธารณะสุขที่กำหนดให้ผู้รับทุนต้องปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงสาธารณะสุขหลังจากสำเร็จการศึกษาเป็นระยะเวลา 3 ปี ตามระเบียบและเงื่อนไขที่กำหนด
โปรแกรมรับตรงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งหมด คลิกที่นี่

ดูโครงการรับตรงอื่น ๆ
มหาวิทยาลัยร่วมส่งข่าวรับตรง