หน้าแรก IT ข่าว/บทความไอที

ก้าวล้ำไปอี้กกกก เมื่อ UK ทดลองใช้ "ผ้าพันแผลอัจฉริยะ" ผ่านระบบสื่อสาร 5G!!

วันที่เวลาโพส 18 เมษายน 60 13:55 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium

ถือเป็นการข่าวดีที่เราได้เห็นความก้าวหน้าทางการแพทย์กันอยู่เรื่อยๆ ซึ่งล่าสุด สหราชอาณาจักรเตรียมนำ "ผ้าพันแผลอัจฉริยะ" นวัตกรรมที่ช่วยให้แพทย์ติดตามอาการบาดแผลได้แบบเรียลไทม์ผ่านระบบสื่อสาร 5G ออกมาทดลองใช้ภายในหนึ่งปีนับจากนี้

UploadImage
โดย สถาบันวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตของมหาวิทยาลัยสวอนซี (ILS) ในแคว้นเวลส์ของสหราชอาณาจักร แถลงว่า เตรียมนำผลงานนวัตกรรม "ผ้าพันแผลอัจฉริยะ" ออกมาทดสอบใช้งานจริงในมนุษย์ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับจากนี้ โดยผ้าพันแผลอัจฉริยะดังกล่าว ประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ขนาดเล็กที่ช่วยตรวจสอบสภาพของบาดแผล โดยเซ็นเซอร์นี้ทำงานด้วยนาโนเทคโนโลยี และจะส่งข้อมูลของสภาพบาดแผลรวมทั้งอาการอื่นๆ ของคนไข้ รวมทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีผลต่อบาดแผลผ่านระบบสื่อสาร 5G ไปยังแพทย์ผู้รักษา เพื่อให้ติดตามวินิจฉัยอาการและพิจารณาปรับเปลี่ยนการรักษาได้อย่างเหมาะสมทันท่วงทีตลอดเวลา

UploadImage
ศาสตราจารย์มาร์ก คลีเมนต์ ประธานสถาบัน ILS กล่าวว่า “แต่เดิมนั้นแพทย์มักรักษาบาดแผลและอาการบาดเจ็บด้วยการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นเพียงครั้งเดียว แล้วจึงสั่งยาหรือเริ่มกระบวนการรักษาต่อไปเป็นเวลานานราว 1-3 เดือน กว่าที่จะได้พบและตรวจอาการคนไข้อีกครั้ง ซึ่งทำให้แพทย์ไม่สามารถพิจารณาปรับเปลี่ยนการรักษาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในระหว่างนั้นได้ และผ้าพันแผลอัจฉริยะยังมีประโยชน์ในการรายงานสภาพอาการและพฤติกรรมของคนไข้ได้อย่างเที่ยงตรง เมื่อเทียบกับการซักถามข้อมูลย้อนหลังจากตัวคนไข้เองซึ่งอาจไม่แม่นยำได้ ข้อมูลที่รายงานโดยละเอียดจากสถานการณ์จริงแบบเรียลไทม์ ยังทำให้แพทย์สามารถปรับเปลี่ยนการรักษาให้สอดรับกับปัญหาที่มีความเฉพาะตัวสำหรับคนไข้แต่ละคนได้อีกด้วย”

โครงการคิดค้นและทดสอบผ้าพันแผลอัจฉริยะนี้ เป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงมูลค่า 1,300 ล้านปอนด์ ที่เมืองสวอนซีลงทุนเพื่อสนับสนุนให้เมืองของตนเป็นศูนย์กลางการทดสอบนวัตกรรมดิจิทัลผ่านระบบสื่อสาร 5G โดยทางสถาบัน ILS จะผลิตผ้าพันแผลอัจฉริยะนี้ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติเพื่อลดค่าใช้จ่าย และจะนำออกทดลองใช้ในภูมิภาคทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นเวลส์ ซึ่งมีประชากรนับล้านคนเป็นกลุ่มตัวอย่างทดสอบ

UploadImage

ข้อมูลจาก: www.bbc.com

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด