สอบเข้ามหาวิทยาลัย

สทศ. ร่วมกับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กก.ตชด.23 จังหวัดนครพนมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การนำผลสอบ O-NET ไปสู่การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน”

 

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2558  สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กก.ตชด.23 จังหวัดนครพนม ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ซึ่งจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยนครพนม โดยส่งเสริมการนำผลการทดสอบ (O-NET) ไปสู่การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายตำรวจนิเทศครูใหญ่ครูวิชาการครูภาษาไทยครูคณิตศาสตร์ครูวิทยาศาสตร์ครูสังคมศึกษาฯ ครูภาษาอังกฤษ ทุกคนในโรงเรียน ตชด. กลุ่มเป้าหมาย

โรงเรียนที่เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ มี 11 โรงเรียน ได้แก่

ลำดับ ชื่อโรงเรียน ตชด. ตำบล อำเภอ จังหวัด
1 ชูทิศวิทยา หนองเทา ท่าอุเทน นครพนม
2 บ้านหาดทรายเพ หนองเทา ท่าอุเทน นครพนม
3 บ้านนากระเสริม พนอม ท่าอุเทน นครพนม
4 ช่างกลปทุมวันฯ ดอนเตย นาทม นครพนม
5 บ้านนาสามัคคี นาทม นาทม นครพนม
6 บ้านหนองดู่ นาใน โพนสวรรค์ นครพนม
7 คอนราดเฮงเค็ล นาใน โพนสวรรค์ นครพนม
8 บ้านปากห้วยม่วง นาเข บ้านแพง นครพนม
9 ค็อกนิสไทยฯ แมดนาท่ม โคกศรีสุพรรณ สกลนคร
10 การท่าอากาศยานฯ กกตูม ดงหลวง มุกดาหาร
11 ชุมชนใต้ร่มพระบารมี บ้านค้อ คำชะอี มุกดาหาร
 
   
 

รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ.กล่าวว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ดังนี้

       (1)  การกำกับ นิเทศ ติดตามผลการส่งเสริมการนำผลการทดสอบ O-NET เป็นกลไกในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

       (2)  ส่งเสริมให้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (นำร่อง) ร่วมกันวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการสอบ เพื่อเตรียมพร้อมการทดสอบ
O-NET ในวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ 2559

         

แนวทางการดำเนินโครงการฯ  สทศ. ส่งเสริมและพัฒนาให้ครูมีทักษะในการวัดและประเมินผลด้วยการนำผลสอบ O-NET ไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา มุ่งเน้นให้โรงเรียนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการนิเทศ กำกับติดตาม (Coaching and Monitoring) ซึ่ง สทศ.ได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยจัดทำระบบนิเทศ ON LINE เพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอผลงานต่างๆ ระหว่าง สทศ.และสถานศึกษาและจัดทำระบบนิเทศในพื้นที่ในจังหวัดที่มีโรงเรียนนำร่องดังกล่าว

         

ประโยชน์ที่จะได้รับหลังจากเข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการ

       (1)  ครูในโครงการนำร่องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนดีขึ้น โดยเฉพาะทักษะการวางแผนการจัดกิจกรรมคุณภาพผู้เรียน บันทึกผลการเรียนเป็นรายวิชา (ปพ.5) และการเขียนข้อสอบ
การเรียนรู้และการทดสอบตามตัวชี้วัดที่สำคัญของหลักสูตรฯ

       (2)  ครูและผู้บริหารโรงเรียนนำผลไปเป็นกลไกในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน และการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยเฉพาะเตรียมพร้อมการสอบ O-NET ในปีการศึกษา 2558

       (3)  หน่วยงานต้นสังกัดได้แนวทางการยกระดับผลสอบ O-NET ของโรงเรียน ภายใต้การกำกับของหน่วยงานต้นสังกัด

     


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  สทศ.