สอบเข้ามหาวิทยาลัย

คะแนนเฉลี่ย O-NET ต่ำกว่าครึ่งทุกวิชา แย่สุดเป็นภาษาอังกฤษ

UploadImage

               สทศ.ประกาศผลโอเน็ต ม.6 ปีการศึกษา 2558 ผลสอบภาพรวมนักเรียนทำคะแนนเฉลี่ย 5 วิชา ต่ำกว่าครึ่ง โดยวิชาภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด และภาษาอังกฤษได้คะแนนเฉลี่ยต่ำสุด ขณะที่ "ร.ร. มหิดลวิทยานุสรณ์" ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุดในประเทศ และมีคะแนนเฉลี่ยเกินครึ่งทุกวิชา สำหรับโรงเรียนในเมืองผลสอบสูงกว่านอกเมือง การจำแนกตามขนาดโรงเรียนพบว่ายิ่งโรงเรียนมีขนาดใหญ่ ยิ่งได้คะแนนเฉลี่ยที่สูงขึ้น และการจำแนกตามภูมิภาคมีผลคะแนนเฉลี่ยมากน้อย ได้แก่ กทม., ภาคเหนือ, ภาคตะวันออก, ภาคกลาง, ภาคตะวันตก, ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ
 

               วันนี้(21 มี.ค.) รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สทศ.ได้ประกาศผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558 เรียบร้อยแล้ว  ซึ่งสอบไปเมื่อวันที่ 6 - 7 ก.พ. ที่ผ่านมา ส่วนนักเรียนที่ดูผลสอบแล้วไม่มั่นใจในคะแนนสามารถยื่นขอดูกระดาษคำตอบได้  ในวันที่ 24-26 มี.ค. เวลา 9.00 - 16.00 น. ณ อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 35 ซึ่ง สทศ.จะเปิดให้ดูกระดาษคำตอบ วันที่ 4 เม.ย. 2559 เวลา 9.00 - 16.00 น. แต่หากนักเรียนไม่มาดูกระดาษคำตอบตามวันและเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ ทั้งนี้ในปีนี้ สทศ.ได้รายงานผลการทดสอบค่าสถิติพื้นฐานเพิ่มเติมจากเดิมจะรายงานผลการสอบภาพรวมทั้งประเทศก็เพิ่มการจำแนกตามตัวแปร คือ คะแนนเฉลี่ย ตามสังกัด ขนาดโรงเรียน ที่ตั้งและภูมิภาคด้วย  เพื่อให้โรงเรียนต่าง ๆนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง
 
               รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการสอบในแต่ละวิชาในภาพรวมครั้งนี้วิชาภาษาไทย มีผู้เข้าสอบ 422,625 คน  เฉลี่ย 49.36 คะแนนสูงสุด 96.50 คะแนน ต่ำสุด 0.50 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  เข้าสอบ  423,519 คน  เฉลี่ย 39.70 คะแนน  สูงสุด 81.00 คะแนน ต่ำสุด 0.00 คะแนน  ภาษาอังกฤษ  เข้าสอบ 423,417 คน  เฉลี่ย 24.98 คะแนน สูงสุด 99.00คะแนน ต่ำสุด 0.00 คะแนน  คณิตศาสตร์  เข้าสอบ 423,654 คน  เฉลี่ย 26.59 คะแนน  สูงสุด 100.00คะแนน ต่ำสุด 0.00 คะแนน  วิทยาศาสตร์  เข้าสอบ 422,718 คน  เฉลี่ย 33.40 คะแนน สูงสุด 90.00 คะแนน ต่ำสุด 0.00 คะแนน
 
               สำหรับค่าสถิติพื้นฐานซึ่งจำแนกตามตัวแปรคือ คะแนนเฉลี่ย ตามสังกัด ขนาดโรงเรียน ที่ตั้งและภูมิภาค ได้ข้อสรุปดังนี้ จำแนกตามสังกัด ภาษาไทย รร.มหิดลวิทยานุสรณ์ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เฉลี่ย 81.49 คะแนน รร.สาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) เฉลี่ย 64.84 คะแนน  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)เฉลี่ย 49.95 คะแนน  สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เฉลี่ย 47.70 คะแนน  สังคมฯ รร.มหิดล เฉลี่ย58.32  คะแนน  รร.สาธิตฯ เฉลี่ย 46.33 คะแนน  สพฐ.เฉลี่ย 40.00 คะแนน สช.เฉลี่ย 38.65 คะแนนภาษาอังกฤษ รร.มหิดล เฉลี่ย 75.53 คะแนน รร.สาธิตฯ เฉลี่ย 46.19 คะแนน สพฐ .เฉลี่ย 24.68 คะแนน สช. เฉลี่ย 27.49 คะแนน คณิตศาสตร์ รร.มหิดล  เฉลี่ย 92.21 คะแนน รร.สาธิต เฉลี่ย 45.85 คะแนน  สพฐ.เฉลี่ย26.65 คะแนน  สช.เฉลี่ย 26.68 คะแนน วิทยาศาสตร์ รร.มหิดล เฉลี่ย 67.22  คะแนน รร.สาธิต เฉลี่ย 42.57 คะแนน สพฐ.เฉลี่ย 33.55 คะแนน สช.เฉลี่ย 32.91คะแนน
 
               จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า ภาษาไทย รร.ขนาดใหญ่พิเศษ เฉลี่ย 54.22 คะแนน  ขนาดใหญ่ เฉลี่ย 46.91 คะแนน ขนาดกลาง เฉลี่ย 43.58 คะแนน  ขนาดเล็ก เฉลี่ย 40.55 คะแนน สังคมฯ รร.ขนาดใหญ่พิเศษ เฉลี่ย 41.76 คะแนน  ขนาดใหญ่ เฉลี่ย 38.59 คะแนน  ขนาดกลาง เฉลี่ย 37.27 คะแนน  ขนาดเล็ก เฉลี่ย 36.09 คะแนน ภาษาอังกฤษ รร.ขนาดใหญ่พิเศษ เฉลี่ย28.76 คะแนน  ขนาดใหญ่ เฉลี่ย22.70 คะแนน ขนาดกลาง เฉลี่ย 20.65 คะแนน ขนาดเล็ก เฉลี่ย 18.95 คะแนน คณิตศาสตร์ รร.ขนาดใหญ่พิเศษ เฉลี่ย 30.40  คะแนน ขนาดใหญ่ เฉลี่ย 24.17 คะแนน  ขนาดกลาง เฉลี่ย22.37 คะแนน ขนาดเล็ก เฉลี่ย 20.40 คะแนน วิทยาศาสตร์ รร.ขนาดใหญ่พิเศษ เฉลี่ย 35.32 คะแนน  ขนาดใหญ่ เฉลี่ย 32.20 คะแนน  ขนาดกลาง เฉลี่ย 31.31 คะแนน ขนาดเล็ก เฉลี่ย 30.11 คะแนน
 
               จำแนกตามที่ตั้งในเมืองและนอกเมือง พบว่า ภาษาไทย ในเมือง เฉลี่ย 53.84 คะแนน นอกเมือง เฉลี่ย 46.00 คะแนน สังคม ฯ ในเมือง เฉลี่ย 41.47 คะแนน  นอกเมือง เฉลี่ย 38.36 คะแนน ภาษาอังกฤษ ในเมือง เฉลี่ย 29.11 คะแนน   นอกเมือง เฉลี่ย21.87 คะแนน คณิตศาสตร์ ในเมือง เฉลี่ย30.48 คะแนน  นอกเมือง เฉลี่ย 23.66 คะแนน วิทยาศาสตร์ ในเมือง เฉลี่ย 35.18 คะแนน  นอกเมือง เฉลี่ย 32.06 คะแนน
 
               จำแนกตามภูมิภาค ได้แก่ กทม., ภาคเหนือ, ภาคตะวันออก, ภาคกลาง, ภาคตะวันตก, ภาคใต้, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้ ภาษาไทย กทม.เฉลี่ย 56.42 คะแนน ภาคเหนือ เฉลี่ย 50.73 คะแนน  ภาคตะวันออก เฉลี่ย50.55 คะแนน ภาคกลาง เฉลี่ย 50.10 คะแนน ภาคตะวันตก เฉลี่ย 49.75 คะแนน ภาคใต้ เฉลี่ย 47.54 คะแนน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลี่ย 46.37 คะแนน  สังคมฯ กทม.เฉลี่ย 42.23 คะแนน ภาคเหนือ เฉลี่ย 40.63 คะแนน  ภาคตะวันออก เฉลี่ย40.12 คะแนน ภาคกลาง เฉลี่ย 39.83 คะแนน ภาคตะวันตก เฉลี่ย 39.66 คะแนน ภาคใต้ เฉลี่ย 38.94 คะแนน  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลี่ย 38.64 คะแนน ภาษาอังกฤษ กทม.เฉลี่ย 34.42 คะแนน ภาคเหนือ เฉลี่ย 25.61 คะแนน ภาคตะวันออก เฉลี่ย 25.47 คะแนน  ภาคกลาง เฉลี่ย 25.15 คะแนน  ภาคตะวันตก เฉลี่ย 23.68 คะแนน ภาคใต้ เฉลี่ย 23.44 คะแนน  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลี่ย 21.94 คะแนน คณิตศาสตร์ กทม. เฉลี่ย 33.66 คะแนน ภาคเหนือ เฉลี่ย 27.70 คะแนน ภาคตะวันออก เฉลี่ย 27.35 คะแนน ภาคกลาง เฉลี่ย 27.04 คะแนน ภาคตะวันตก เฉลี่ย 26.30 คะแนน ภาคใต้ เฉลี่ย 25.54 คะแนน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลี่ย 23.69 คะแนน วิทยาศาสตร์ กทม.เฉลี่ย 36.08 คะแนน ภาคเหนือ เฉลี่ย 34.48 คะแนน ภาคตะวันออก เฉลี่ย 33.75 คะแนน ภาคกลาง เฉลี่ย 33.52 คะแนน ภาคตะวันตก เฉลี่ย 33.26 คะแนน ภาคใต้ เฉลี่ย 32.70 คะแนน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลี่ย 32.27 คะแนน
 
               จากผลการสอบในภาพรวมทั้ง 5 วิชาพบว่า คะแนนเฉลี่ย ไม่ถึงครึ่งคือร้อยละ 50 แม้แต่วิชาเดียว  โดยภาษาไทย เฉลี่ยสูงสุดคือ 49.36 คะแนน รองลงมา สังคม 39.70 วิทยาศาสตร์ 33.40 คณิตศาสตร์ 26.59 ต่ำสุดคือ ภาษาอังกฤษ 24.98 ขณะที่วิชาที่มีผู้สอบได้คะแนน 100 คะแนนเต็ม ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ ส่วนวิชาที่มีผู้สอบได้ 0.00 คะแนน มี 4 วิชา ได้แก่ สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตามเฉพาะวิขาภาษาไทย ผู้สอบได้คะแนนต่ำสุด คือ 0.50 คะแนน เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยังพบว่านักเรียนสามารถทำค่าคะแนนเฉลี่ยเกือบทุกวิชาสูงกว่าปีการศึกษา 2557 โดย สทศ. จะนำผลการทดสอบโอเน็ต ไปใช้เทียบเคียงกับผลการประเมินระดับนานาชาติโดยเฉพาะ PISA ต่อไป



ข่าวจาก : เดลินิวส์