สอบเข้ามหาวิทยาลัย

กำหนดการ รูปแบบข้อสอบ จำนวนข้อสอบ และเรื่องที่ออกสอบ GAT/PAT 2562

-------------------------------------
ตรวจสอบข้อมูล/พิมพ์บัตรเลขที่นั่งสอบ

-------------------------------------

 

GAT/PAT

 
ผลคะแนนสอบ GAT/PAT จะถูกนำมาเป็นคะแนนที่ใช้สำหรับสมัครเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย
 

ขั้นตอนการสมัครสอบ



 

รูปแบบข้อสอบ จำนวนข้อสอบ และเรื่องที่ออกสอบ GAT/PAT 2562

กำหนดการ


ลงทะเบียน/สมัครสอบ
1 - 15 ธันวาคม 2561
 
ชำระเงินค่าสมัครสอบ
1 - 16 ธันวาคม 2561 
 
เลือกสนามสอบ
1 - 17 ธันวาคม 2561 
 
แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล
1 - 28 ธันวาคม 2561 
 
ประกาศเลขที่นั่งสอบ/สนามสอบ
8 มกราคม 2562 
 
จัดการทดสอบ
23 - 26 กุมภาพันธ์ 2562
 
ประกาศผลสอบ

1 เมษายน 2562


 

ตารางสอบ GAT/PAT


 

สนามสอบ 

ตรวจสอบรายชื่อสนามสอบ พืนที่สอบในจังหวัดตามภูมิภาค >> คลิก
ตรวจสอบรายชื่อสนามสอบ ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และปทุมธานี >> คลิก






 
===================================================================
 

อัปเดตจำนวนผู้สมัคร GAT/PAT 62


 
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดระบบรับสมัครสอบ GAT/PAT ปีการศึกษา 2562 วันที่ 1 – 15 ธันวาคม 2561 (ปิดระบบรับสมัคร 23.59 น.)  กำหนดการชำระเงิน 1 – 16 ธันวาคม 2561 (ปิดระบบชำระเงิน เวลา 20.00 น.)

- สรุปจำนวนทั้งหมด 265,552 คน  **


-ประกาศเลขที่นั่งสอบ/สถานที่ 8 มกราคม 2562  
-วันสอบ 23 – 26 กุมภาพันธ์ 2562 
-ประกาศผลสอบ 1 เมษายน 2562
 
===================================================================


 


ขั้นตอนการสมัครสอบ

ขั้นตอนที่ 1 การเข้าระบบ
เข้าระบบรับสมัครสอบ GAT/PAT และวิชาสามัญ 9 วิชา ที่เว็บไซต์ www.niets.or.th  เลือกเมนูการจัดสอบ : GAT/PAT
 
ขั้นตอนที่ 2 การลงทะเบียน
ผู้สมัครยังไม่เคยลงทะเบียน  จะต้องลงทะเบียนเพื่อรับรหัสผ่านในการเข้าระบบ โดยเลือกที่เมนู ลงทะเบียน (รายใหม่) จากนั้นดําเนินการกรอกข้อมูลส่วนบุคคลตามความเป็นจริง และกําหนดรหัสผ่าน 4 – 6 หลัก ในกรณีที่ผู้สมัครเป็นชาวต่างชาติสามารถใช้เลขที่หนังสือเดินทางของตนเองได้ โดยผู้สมัครสอบจะต้องดําเนินการลงทะเบียนตามขั้นตอนจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ และจะต้องใช้เลขประจําตัวประชาชน 13 หลัก หรือเลขที่หนังสือเดินทางสําหรับผู้สมัครสอบต่างชาติ และรหัสผ่าน 4 – 6 หลักในการเข้าระบบทุกครั้ง ดังนั้น ควรจำรหัสผ่านให้ดี

ขั้นตอนที่ 3 การสมัครสอบ
3.1 เลือกเมนู เข้าสู่ระบบ (รายเก่าหรือผู้ที่ลงทะเบียนแล้ว) โดยใช้เลขประจําตัวประชาชน 13 หลัก หรือเลขที่หนังสือเดินทางสําหรับผู้สมัครสอบต่างชาติ และรหัสผ่าน 4 – 6 หลักตามที่ได้บันทึกไว้

3.2 ผู้สมัครสอบตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง

3.3 เลือกเมนู สมัครสอบ และเลือกวิชาที่ต้องการสมัครสอบ (วิชาความถนัดทางภาษาต่างประเทศ (PAT 7) เลือกสอบได้วิชาเดียว เพราะสอบวันและเวลาเดียวกัน)

3.4 เลือกเขต/อําเภอ และจังหวัดที่ต้องการสอบ
- กรณีผู้สมัครสอบที่ต้องการจะสอบในกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี หรือจังหวัดปทุมธานีให้กดเลือกเขต/อําเภอ  หลังการชําระเงิน ต้องเข้ามาเลือกสนามสอบอีกครั้ง
- กรณีผู้สมัครสอบที่ประสงค์จะสอบในจังหวัดอื่นให้กดเลือกอําเภอ และจังหวัดที่ประสงค์จะไปสอบ หลังชําระเงินตรวจสอบสถานะการชําระเงิน และอําเภอ/จังหวัดที่เลือกไว้อีกครั้ง โดยผู้สมัครสอบสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลการเลือกสนามสอบได้ภายในระยะเวลาที่ สทศ กำหนด  ในกรณีที่มีจํานวนผู้สมัครสอบมากกว่าที่นั่งสอบที่จัดไว้ในบางอําเภอ หรือมีการยุบสนามสอบในบางอําเภอเนื่องจากมีผู้สมัครสอบจํานวนน้อย สทศ. จะจัดสนามสอบให้ในอําเภอใกล้เคียง

3.5 ตรวจสอบข้อมูลการสมัครสอบ และการเลือกเขต/อําเภอ และจังหวัดที่จะไปสอบอีกครั้งก่อนยืนยันการสมัครสอบ
 
ขั้นตอนที่  4 การพิมพ์ใบจ่ายเงิน และการชําระเงินค่าสมัครสอบ
เมื่อยืนยันการสมัครสอบแล้ว ให้พิมพ์ใบจ่ายเงิน แล้วนําไปชําระเงิน ค่าสมัครสอบ GAT/PAT วิชาละ 140 บาท โดยสามารถชําระเงินได้ที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และเคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกสาขา หลังจากชําระเงินแล้ว ให้ผู้สมัครสอบตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในใบเสร็จรับเงิน และเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานยืนยันการชําระเงิน และต้องเข้าระบบ GAT/PAT อีกครั้ง เพื่อตรวจสอบสถานะการชําระเงินหากสถานะไม่เปลี่ยน ภายใน 2 วัน ให้รีบติดต่อ สทศ. ทันที
 
ขั้นตอนที่ 5  การเลือกสนามสอบ 
กรณีผู้สมัครสอบที่ประสงค์จะสอบในกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี หรือจังหวัดปทุมธานีจะต้องเข้าระบบเพื่อระบุโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาที่จัดเป็นสนามสอบตามรายชื่อที่ปรากฏในระบบอีกครั้ง  หากผู้สมัครสอบไม่เข้ามาระบุสนามสอบไว้ สทศ. จะจัดสนามสอบให้ผู้สมัครสอบตามเขต/อําเภอที่ระบุไว้ตอนสมัครสอบ 

หมายเหตุ : การสมัครสอบของผู้สมัครสอบจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ต่อเมื่อผู้สมัครสอบได้ดําเนินการตามขั้นตอนการสมัครสอบอย่างครบถ้วน และอยู่ในระยะเวลาที่ สทศ. กําหนด หากผู้สมัครสอบมีปัญหาในการดําเนินการใดๆ ให้รีบติดต่อ สทศ. โดยทันที ***
 


การแก้ไขข้อมูลของผู้สมัครสอบ และกรณีเปลี่ยนแปลง/เพิ่มเติมรายวิชาในการสมัครสอบ

 
1. กรณีการแก้ไขข้อมูลของผู้สมัครสอบ
1.1 ผู้สมัครสอบสามารถแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลได้ตามกําหนดการที่ระบุ 

1.2 ในกรณีของ คํานําหน้าชื่อ ชื่อ-นามสกุล เลขประจําตัวประชาชน และความต้องการพิเศษ ต้องให้ สทศ. ดําเนินการแก้ไขให้ตามเงื่อนไข โดยส่งแบบคํารองขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมแนบหลักฐานและรับรองสําเนาถูกต้อง มายัง สทศ. โดยเอกสารหลักฐานประกอบการแก้ไขต้องครบถ้วนสมบูรณ์ กรณีผู้สมัครสอบรายเก่า สทศ. จะดําเนินการแก้ไขให้เฉพาะข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่สมัครสอบเท่านั้น

1.3 กรณีที่ผู้สมัครสอบมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคล (คํานําหน้าชื่อ ชื่อ นามสกุล เลขประจําตัวประชาชน) หลังจากกําหนดการที่ สทศ. กําหนด หรือกรณีผู้สมัครสอบรายเก่าที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคลและในระบบส่วนบุคคลยังเป็นข้อมูลเดิมอยู่ ให้ผู้สมัครสอบนําหลักฐานแสดงตนที่มีข้อมูลตรงกับข้อมูลในบัตรประจําตัวประชาชนไปแสดงในวันสอบ เพื่อยืนยันตัวตนให้กรรมการประจําสนามสอบ
 
2. กรณีเปลี่ยนแปลง/เพิ่มเติมรายวิชาในการสมัครสอบ
2.1 กรณีที่ผู้สมัครสอบดําเนินการสมัครสอบแล้ว แต่ยังไม่ชําระเงิน ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบใหม่ได้ โดยเลือกวิชาที่จะสอบใหม่ และต้องพิมพ์ใบจ่ายเงินใบล่าสุดไปชําระเงิน

2.2 กรณีที่ผู้สมัครสอบดําเนินการสมัครสอบและชําระเงินแล้ว ให้ผู้สมัครสอบสมัครสอบเฉพาะวิชาที่ต้องการเพิ่มเติมเท่านั้น และพิมพ์ใบชําระเงินไปชําระเงิน  การเปลี่ยนแปลงรายวิชาไม่สามารถดําเนินการได้ ต้องสมัครสอบเพิ่มเติมเท่านั้น

2.3 เปลี่ยนวิชาสอบจากวิชาหนึ่งไปอีกวิชาหนึ่ง ไม่สามารถทำได้ ต้องสมัครเพิ่มเท่านั้น ยกเว้น PAT 7 ที่สามารถเปลี่ยนภาษาได้

2.4 กรณีที่ผู้สมัครสอบต้องการเปลี่ยนแปลงรายวิชา (PAT 7) หลังจากชําระเงินแล้ว ให้ผู้สมัครสอบยื่นแบบคําขอแก้ไขรายวิชาความถนัดทางภาษาต่างประเทศ (PAT 7) แนบท้ายประกาศ พร้อมแนบสําเนาบัตรประจําตัวประชาชน และสําเนาหลักฐานการชําระเงินที่รับรองสําเนาถูกต้องแล่วส่งให้ สทศ. ตามช่องทางการติดต่อที่ระบุ สทศ. จะพิจารณาตามเหตุผล และความจําเป็น โดยจะดําเนินการเปลี่ยนแปลงวิชาให้หากเห็นเหตุอันสมควรเท่านั้น
 

การติดต่อ สทศ.

หมายเลขโทรศัพท์ 02-217-3800 วันทำการ ตั้งแต่เวลา 08.30-18.00 น. วันหยุดทำการ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น.
โทรสาร 02-219-2996 ระบบอัตโนมัติ

ติดต่อด้วยตนเอง ณ ที่ทำการ สทศ. (กลุ่มงานบริการการทดสอบ) อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 38 ตั้งแต่เวลา 08.30-18.00 น.
(วันหยุด 08.30-16.00 น.)


วิชาสอบ

1. GAT (General Aptitude Tests)
เป็นแบบทดสอบความถนัดทั่วไป แบ่งเป็น 2 ส่วน คือความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา 50% ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 50%
2.PAT (Professional and Academic Aptitude Test)
เป็นความรู้พื้นฐานและศักยภาพที่จะใช้สำหรับเรียนต่อในวิชาชีพ แบ่งออกเป็น 7 ส่วน คือ
PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ (มีทั้งหมด 7 ภาษา)
 
หมายเหตุ : เกณฑ์ สัดส่วน คะแนนการใช้สมัครสอบในแต่ละรอบแตกต่างกัน น้องๆ ไม่จำเป็นต้องสอบทุกวิชา เลือกสอบตามเกณฑ์การรับสมัครของแต่ละมหาวิทยาลัยที่น้องๆ ต้องการสมัคร
 
 

TCAS รอบที่ใช้

TCAS รอบที่ 2 การรับแบบโควตา
TCAS รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน
TCAS รอบที่ 4 การรับแบบแอดมิชชัน
TCAS รอบที่ 5 การรับตรงอิสระ

 

เรื่องที่ออกสอบ GAT PAT

 

GAT ความถนัดทั่วไป

ส่วนที่ 1  การอ่านเชิงวิเคราะห์ การเขียนเชิงวิเคราะห์ การคิดเชิงวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา
รูปแบบข้อสอบ :  บทความ+เชื่อมโยง
รวม 20 ข้อ 150 คะแนน
 
ส่วนที่ 2 การสื่อสารทางภาษาอังกฤษ
1. Expression
2. Vocabulary
3. Reading Comprehension
4. Structure and Writing
รูปแบบข้อสอบ :  5 ตัวเลือก 1 คำตอบ
รวม 60 ข้อ 150 คะแนน
 


PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์

เนื้อหา
1. ตรรกศาสตร์
2. เซต
3. ระบบจำนวนจริง
4. ความสัมพนธ์ และฟังก์ชัน
5. ฟังก์ชันตรีโกนมิติ
6. เรขาคณิตวิเคราะห์
7. ฟังก์ชันเอกซ์โปเนนเซียล และฟังก์ชันลอการิทึม
8. เมทริกซ์
9. เวกเตอร์
10. จำนวนเชิงซ้อน
11. กำหนดการเชิงเส้น
12. ลำดับและอนุกรม
13. แคลคูลัสเบื้องต้น
14. การเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่
15. ความน่าจะเป็น
16. การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
17. การแจกแจงปกติ
18. ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล
 
ศักยภาพ
การคิด และแก้ปัญหาเชิงคณิตศาสตร์
 
รูปแบบข้อสอบ :     5 ตัวเลือก 1 คำตอบ 30 ข้อ 180 คะแนน
                            ระบายคำตอบ/ค่าตัวเลข 15 ข้อ 120 คะแนน
รวม 45 ข้อ 300 คะแนน
 


PAT 2 ความถนัด ทางวิทยาศาสตร์

เนื้อหา
1. สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดํารงชีวิต
2. ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 
3. สารและสมบัติของสาร
4. แรงและการเคลื่อนที่
5. พลังงาน 
6. กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางโลก
7. ดาราศาสตร์และอวกาศ
 
ศักยภาพ
1. คิดแบบนักวิทยาศาสตร์
2. ทักษะการอ่านบทความ/สถานการณ์/การทดลองทาง วิทยาศาสตร์
 
รูปแบบข้อสอบ :  5 ตัวเลือก 1 คำตอบ
รวม 100 ข้อ 300 คะแนน
 


PAT 3  ความถนัดทาง วิศวกรรมศาสตร์

เนื้อหา
1. กลศาสตร์ แรง มวล และการเคลื่อนที่
2. ไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้า คลื่น แสง และเสียง
3. เคมี สาร และสมบัติของสาร
4. พลังงาน ความร้อน และของไหล
5. คณิตศาสตร์ และสถิติประยุกต์เชิงวิศวกรรม
 
ศักยภาพ
1. การคิดวิเคราะห์เชิงช่างและมิติสัมพันธ์
2. ความถนัดเชิงช่าง
3. ความคิดเชิงตรรกะเชิงช่าง
4. สามัญสํานึกเรื่องความปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม
5. การแก้ปัญหา 
6. ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
รูปแบบข้อสอบ :     5 ตัวเลือก 1 คำตอบ 60 ข้อ 240 คะแนน
                             ระบายคำตอบ/ค่าตัวเลข 10 ข้อ 60 คะแนน
รวม 70 ข้อ 300 คะแนน
 


PAT 4 ความถนัด ทางสถาปัตยกรรม ศาสตร์

เนื้อหา
1. ความรู้ทั่วไปด้านศิลปะ สถาปัตยกรรม และการออกแบบ
2. ฟิสิกส์และคณิตศาสตร์พื้นฐาน
 
ศักยภาพ
1. การรับรู้รูป 2 มิติและรูปทรง 3 มิติ และการจัดองค์ประกอบ
2. การวิเคราะห์เชิงตรรกะ 
3. ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และทักษะการวาดภาพ
 
รูปแบบข้อสอบ :     5 ตัวเลือก 1 คำตอบ 20 ข้อ 60 คะแนน
                                เลือกคำตอบจากแต่ละหมวดที่สัมพันธ์กัน 10 ข้อ 30 คะแนน
                                อัตนัย ตรวจด้วยคน 4 ข้อ 210 คะแนน
รวม 34 ข้อ 300 คะแนน



PAT 5 ความถนัด ทางวิชาชีพครู

เนื้อหา
1. ความรู้ทั่วไปในบริบทของความเป็นครู
2. สถานการณ์หรือปัญหาทั่วไป รวมทั้งเชิงนามธรรม
 
ศักยภาพ
1. สมรรถนะ และคุณสมบัติของความเป็นครู
2. สมรรถนะทางการคิดเพื่อการเรียนรู้
 
รูปแบบข้อสอบ :  5 ตัวเลือก 1 คำตอบ
รวม 120 ข้อ 300 คะแนน
 



PAT 6 ความถนัด ทางศิลปกรรมศาสตร์

เนื้อหา
1. ความรู้ทั่วไปทางศิลปกรรมศาสตร์
2. ความรู้ทางทัศนศิลป์ และออกแบบ
3. ดนตรีไทย ดนตรีสากล
4. นาฏศิลป์/การแสดง
5. บูรณาการความรู้ด้านทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์/ศิลปะการแสดง
 
ศักยภาพ
1. ศักยภาพการรับรู้ รูป 2 มิติ และรูปทรง 3 มิติ และการจัดองค์ประกอบศิลป์
2. การคิดสร้างสรรค์ – จินตนาการ
3. การรับรู้ ภาพด้วยสายตาเพื่อการจําลองภาพ สิ่งที่เราเห็นในสิ่งแวดล้อม และนํามาสร้างแรง บันดาลใจ และงานสร้างสรรค์
4. พื้นฐานความรู้การวาดภาพ และองค์ประกอบศิลป์
5. พื้นฐานความรู้ทางด้านเครื่องดนตรี
6. บูรณาการความรู้ด้านทัศนศิลป์ ดนตรี และ นาฏศิลป์/ศิลปะการแสดง
 
รูปแบบข้อสอบ :     5 ตัวเลือก 1 คำตอบ 90 ข้อ 225 คะแนน
                                เลือกคำตอบจากแต่ละหมวดที่สัมพันธ์กัน 10 ข้อ 75 คะแนน
รวม 100 ข้อ 300 คะแนน
 


PAT 7.1  ภาษาฝรั่งเศส

เนื้อหา
1. คําศัพท์พื้นฐาน (Lexique)
2. ไวยากรณ์และโครงสร้าง (Grammaire)
3. สํานวน (Expression)
4. วัฒนธรรมฝรั่งเศส (Culture)
5. การออกเสียง (Prononciation)
 
ศักยภาพ
1. ความสามารถในการอ่าน และการเขียน
2. ความสามารถในการสื่อสาร
 
รูปแบบข้อสอบ :  4 ตัวเลือก 1 คำตอบ
รวม 100 ข้อ 300 คะแนน
 


PAT 7.2 ภาษาเยอรมัน

เนื้อหา คําศัพท์ สํานวน และโครงสร้างภาษาเยอรมัน (Wortschatz und Strukturen)
1. คําศัพท์แยกตามประเภทของคํา รวมทั้งสํานวนที่ประกอบขึ้น จากคํานามและคํากริยา (Nomen-Verb-Verbindungen) และสํานวนที่มีความหมายเฉพาะ (idiomatische Ausdrücke)
2. ไวยากรณ์ระดับคําและประโยค (Grammatik)
 
ศักยภาพ
1. ความสามารถในการใช้คําศัพท์และสํานวนในภาษาเยอรมัน สถานการณ์และบริบทต่าง ๆ ในชีวิต ประจําวัน (Ausdrücke und Wendungen in verschiedenen Situationen und Kontexten im Alltag)
2. ความสามารถในการอ่านจับใจความ การสรุปความ การขยาย ความและการตีความ (Lesen) - การใช้เทคนิคการอ่านลักษณะต่าง ๆ ทําความเข้าใจตัว บทภาษาเยอรมันที่มีความยาวแตกต่างกันไป เพื่อตอบ คําถามและเติมคําหรือข้อความที่เหมาะสมในช่องว่าง (Lesetexte unterschiedlicher Länge und Lückentexte) - ทั้งนี้ตัวบทจะครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ ปัจจุบันและความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมัน เป็นภาษาราชการ (D-A-CH-Landeskunde) ด้วย
 
รูปแบบข้อสอบ :  4 ตัวเลือก 1 คำตอบ
รวม 100 ข้อ 300 คะแนน
 



PAT 7.3 ภาษาญี่ปุ่น

เนื้อหา
1. คําศัพท์ขั้นพื้นฐาน 
2. คันจิขั้นพื้นฐาน
3. ไวยากรณ์ขั้นพื้นฐาน
4. ญี่ปุ่นศึกษา
ศักยภาพ
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการเขียน
3. ความสามารถในการอ่าน
 
รูปแบบข้อสอบ :  4 ตัวเลือก 1 คำตอบ
รวม 100 ข้อ 300 คะแนน
 


PAT 7.4  ภาษาจีน

เนื้อหา
1. คําศัพท์ และสํานวน
2. ไวยากรณ์และโครงสร้าง 
3. สัทอักษร
4. ความรู้ทั่วไป
5. อักษรจีน
6. การเขียน
7. การอ่าน
8. สนทนา
 
ศักยภาพ
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการอ่าน
3. ความสามารถในการเขียน
 
รูปแบบข้อสอบ :  4 ตัวเลือก 1 คำตอบ
รวม 100 ข้อ 300 คะแนน
 


PAT 7.5  ภาษาอาหรับ

เนื้อหา
1. ไวยากรณ์
2. วัฒนธรรมการใช้ภาษาอาหรับ-ไทย
3. คําศัพท์
4. ความเข้าใจภาษา
 
ศักยภาพ
ความสามารถในการอ่าน
 
รูปแบบข้อสอบ :  4 ตัวเลือก 1 คำตอบ
รวม 100 ข้อ 300 คะแนน
 


PAT 7.6  ภาษาบาลี

เนื้อหา
1. คําศัพท์พื้นฐาน 
2. ไวยากรณ์และโครงสร้าง 
3. ความเข้าใจภาษา
 
ศักยภาพ
1. ความสามารถในการอ่านเขียน 
2. ความสามารถในการแปลความ 
3. ความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และตีความ
 
รูปแบบข้อสอบ :  4 ตัวเลือก 1 คำตอบ
รวม 100 ข้อ 300 คะแนน
 


PAT 7.7  ภาษาเกาหลี

เนื้อหา
1. ไวยากรณ์ 
2. คําศัพท์
3. สังคมและวัฒนธรรม
 
ศักยภาพ
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการอ่าน
 
รูปแบบข้อสอบ :  4 ตัวเลือก 1 คำตอบ
รวม 100 ข้อ 300 คะแนน


-----

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่  www.niets.or.th