สอบเข้ามหาวิทยาลัย

กำหนดการ รูปแบบข้อสอบ จำนวนข้อสอบ และเรื่องที่ออกสอบ 9 วิชาสามัญ ( #dek62 )

-------------------------------------

สมัครสอบ 9 วิชาสามัญ

-------------------------------------

 

9 วิชาสามัญ

จากเดิมจะสอบเพียง 7 วิชาเท่านั้น แต่เพื่อให้ครอบคลุมกับเนื้อหาของสายศิลป์ด้วย (ทำการเปลี่ยนตั้งแต่ปี 2559) จึงได้มีการเพิ่มเข้าไปอีก 2 วิชา รวมเป็น 9 วิชา
 







 

กำหนดการ


 
ลงทะเบียน/สมัครสอบ
11 -  25 ธันวาคม 2561
 
ชำระเงินค่าสมัครสอบ
11 -  26 ธันวาคม 2561
 
เลือกสนามสอบ
11 - 27 ธันวาคม 2561
 
แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล
11 - 28 ธันวาคม 2561
 
ประกาศเลขที่นั่งสอบ/สถานที่สอบ
18 มกราคม 2562
 
จัดการทดสอบ
16 - 17 มีนาคม 2562
 
ประกาศผลสอบ
5  เมษายน  2562
 
วิชาสอบ
- วิชาภาษาไทย
- วิชาสังคมศึกษา
- วิชาภาษาอังกฤษ
- วิชาคณิตศาสตร์ 1 (เลือกสมัคร คณิตศาสาตร์ 1 หรือ 2 ขึ้นอยู่กับแต่ละ คณะ/สาขา มหาวิทยาลัย กำหนด)
- วิชาคณิตศาสตร์ 2 (เลือกสมัคร คณิตศาสาตร์ 1 หรือ 2 ขึ้นอยู่กับแต่ละ คณะ/สาขา มหาวิทยาลัย กำหนด)
- วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
- วิชาฟิสิกส์
- วิชาเคมี
- วิชาชีววิทยา
 
หมายเหตุ : เกณฑ์ สัดส่วน คะแนนการใช้สมัครสอบในแต่ละรอบแตกต่างกัน น้องๆ ไม่จำเป็นต้องสอบทุกวิชา เลือกสอบตามเกณฑ์การรับสมัครของแต่ละมหาวิทยาลัยที่น้องๆ ต้องการสมัคร

 

ตารางสอบ


ขั้นตอนการสมัครสอบ

ขั้นตอนที่ 1 การเข้าระบบ

เข้าระบบรับสมัครสอบ 9 วิชาสามัญ ที่เว็บไซต์ www.niets.or.th ไปที่เมนู  ระบบการจัด คลิก  >> 9 วิชาสามัญ
 

ขั้นตอนที่ 2 การลงทะเบียน

ผู้สมัครยังไม่เคยลงทะเบียน  จะต้องลงทะเบียนเพื่อรับรหัสผ่านในการเข้าระบบ โดยเลือกที่เมนู ลงทะเบียน (รายใหม่) จากนั้นดำเนินการกรอกข้อมูลส่วนบุคคลตามความเป็นจริง และกำหนดรหัสผ่าน 4 – 6 หลัก ในกรณีที่ผู้สมัครเป็นชาวต่างชาติสามารถใช้เลขที่หนังสือเดินทางของตนเองได้ โดยผู้สมัครสอบจะต้องดำเนินการลงทะเบียนตามขั้นตอนจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ และจะต้องใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือเลขที่หนังสือเดินทางสำหรับผู้สมัครสอบต่างชาติ และรหัสผ่าน 4 – 6 หลักในการเข้าระบบทุกครั้ง ดังนั้น ควรจำรหัสผ่านให้ดี

ขั้นตอนที่ 3 การสมัครสอบ

3.1 เลือกเมนู  >> เข้าสู่ระบบ (รายเก่าหรือผู้ที่ลงทะเบียนแล้ว) โดยใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือเลขที่หนังสือเดินทางสำหรับผู้สมัครสอบต่างชาติ และรหัสผ่าน 4 – 6 หลักตามที่ได้บันทึกไว้

3.2 ผู้สมัครสอบตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง

3.3 เลือกวิชาที่ต้องการสมัครสอบ วิชาที่กำหนดการสอบในวันและเวลาเดียวกัน เลือกสมัครได้วิชาเดียวเท่านั้น (ผู้สมัครสอบควรตรวจสอบวิชาที่จะใช้ในการยื่นสมัครคัดเลือกจากสถาบันอุดมศึกษาที่ผู้สมัครสอบต้องการนำคะแนนไปยื่น ก่อนการเลือกวิชา)

3.4 เลือกจังหวัด เขต/อำเภอ ที่จะไปสอบ โดยเลือกจังหวัด และเขต/อำเภอที่ประสงค์ จะไปสอบ ผู้สมัครสอบที่ประสงค์จะเลือกพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และปทุมธานี สามารถ เลือกพื้นที่สอบได้ 5 อันดับ และเรียงจากความประสงค์ที่จะไปสอบมากที่สุดไปน้อยที่สุด สทศ. จะจัดสนามสอบให้ผู้มีสิทธิ์สอบที่เลือกจังหวัด และเขต/อำเภอที่มีสนามสอบ ให้เข้าสอบตามลำดับการเลือกที่ระบุไว้
- ผู้มีสิทธิ์สอบจะได้เข้าสอบ ณ สนามสอบใดสนามสอบหนึ่ง ที่อยู่ในจังหวัด และเขต/อำเภอที่ผู้สมัครสอบเลือกในลำดับที่ดีที่สุดที่สามารถจัดให้เข้าสอบได้ โดยพิจารณา จากจำนวนที่นั่งสอบที่มีในแต่ละสนามสอบที่อยู่ในจังหวัด และเขต/อำเภอนั้น และเรียงลำดับ ตามวันและเวลาที่ผู้สมัครสอบชำระเงินค่าสมัครสอบตามที่แสดงในระบบของ สทศ.
- กรณีที่ผู้สมัครสอบ รายใด ดำเนินการสมัครสอบและชำระเงินด้วยใบสมัครหลายใบ การพิจารณาการจัดลำดับการเลือกจังหวัด และเขต/อำเภอที่มีสนามสอบจะยึดตามลำดับวันและเวลาที่ผู้สมัครสอบชำระเงินล่าสุด

3.5 ตรวจสอบข้อมูลการสมัครสอบ และการเลือกเขต/อำเภอ และจังหวัดที่จะไปสอบอีกครั้งก่อนยืนยันการสมัครสอบ

ขั้นตอนที่ 4 การพิมพ์ใบจ่ายเงินและการชำระเงินค่าสมัครสอบ

เมื่อยืนยันการสมัครสอบแล้วให้พิมพ์ใบจ่ายเงิน นำไปชำระเงินค่าสมัครสอบวิชาสามัญ 9 วิชาละ 100 บาท (ค่าสมัครสอบรวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 ด้วยแล้ว แต่ยังไม่รวมค่าธรรมเนียม ของผู้รับบริการชำระเงิน 10 บาท) ที่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และเคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกสาขา หลังจากชําระเงินแล้ว ผู้สมัครสอบต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในใบเสร็จรับเงิน และเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานยืนยันการชําระเงิน และต้องเข้าระบบอีกครั้ง เพื่อตรวจสอบสถานะการชําระเงิน
หากสถานะไม่เปลี่ยน ภายใน 2 วัน ให้รีบติดต่อ สทศ. ทันที
 

การแก้ไขข้อมูลของผู้สมัครสอบ เปลี่ยนแปลง/เพิ่มเติมรายวิชาในการสมัครสอบ

การแก้ไขข้อมูลของผู้สมัครสอบ

1.1 ผู้สมัครสอบสามารถแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลได้ตามกำหนดการที่ระบุ
 
1.2 คำนำหน้าชื่อ ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน และความต้องการพิเศษ ต้องให้ สทศ. ดำเนินการแก้ไขให้ตามเงื่อนไข โดยส่งแบบคำรองขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมแนบหลักฐานและรับรองสำเนาถูกต้อง มายัง สทศ. โดยเอกสารหลักฐานประกอบการแก้ไขต้องครบถ้วนสมบูรณ์  กรณีผู้สมัครสอบรายเก่า สทศ. จะดำเนินการแก้ไขให้เฉพาะข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่สมัครสอบเท่านั้น

การเปลี่ยนแปลง/เพิ่มเติมรายวิชาในการสมัครสอบ

1.1 กรณีที่ผู้สมัครสอบดำเนินการสมัครสอบแล้ว แต่ยังไม่ชำระเงิน ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบใหม่ได้ โดยเลือกวิชาที่จะสอบใหม่ และต้องพิมพ์ใบจ่ายเงินใบล่าสุดไปชำระเงิน

1.2 กรณีที่ผู้สมัครสอบดำเนินการสมัครสอบและชำระเงินแล้ว ให้ผู้สมัครสอบสมัครสอบเฉพาะวิชาที่ต้องการเพิ่มเติมเท่านั้น และพิมพ์ใบชำระเงินไปชำระเงิน  การเปลี่ยนแปลงรายวิชาไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องสมัครสอบเพิ่มเติมเท่านั้น

1.3 กรณีที่ผู้สมัครสอบต้องการเปลี่ยนแปลงรายวิชาที่มีกำหนดเวลาการสอบตรงกันหลังจากชำระเงินแล้ว ให้ผู้สมัครสอบยื่นแบบคำร้องทั่วไป (แบบคำขอแก้ไขรายวิชาที่มีกำหนดการสอบตรงกัน) พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาหลักฐานการชำระเงินที่รับรองสำเนาถูกต้องและส่งให้ สทศ. ตามช่องทางการติดต่อที่ระบุ สทศ. จะพิจารณาตามเหตุผลและความจำเป็นและจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงวิชาให้หากเห็นเหตุอันสมควรเท่านั้น


การติดต่อ สทศ.

หมายเลขโทรศัพท์ 02-217-3800 วันทำการ ตั้งแต่เวลา 08.30-18.00 น. วันหยุดทำการ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น.โทรสาร 02-219-2996 ระบบอัตโนมัติ

ติดต่อด้วยตนเอง ณ ที่ทำการ สทศ. (กลุ่มงานบริการการทดสอบ) อาคารพญาไทพลาซ่าชั้น 38 วันทำการ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 18.00 น. วันหยุดทำการ (วันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น. (การบริการในวันหยุดทำการจะเปิดให้บริการเฉพาะช่วงเวลาการรับสมัครสอบเท่านั้น) 
 

TCAS รอบที่ใช้

- TCAS รอบที่ 2 การรับแบบโควตา
- TCAS รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน
- TCAS รอบที่ 4 การรับแบบแอดมิชชัน (ใช้สำหรับ กลุ่มแพทย์ศาสตร์ที่ใช้เกณฑ์เดียวกับ กสพท)

 

เรื่องที่ออกสอบ 9 วิชาสามัญ


ภาษาไทย

- การอ่าน
- การเขียน
- การพูด การฟัง
- หลักการใช้ภาษา

รูปแบบ ข้อสอบ : 5 ตัวเลือก 1 คําตอบ จำนวน 50 ข้อ
100 คะแนน
 


สังคมศึกษา

- ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
- หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
- เศรษฐศาสตร์
- ประวัติศาสตร์
- ภูมิศาสตร์

รูปแบบ ข้อสอบ : 5 ตัวเลือก 1 คําตอบ จำนวน 50 ข้อ
100 คะแนน
 
 

ภาษาอังกฤษ

- Listening – Speaking Skills (Situationnal Dialogues)
- Reading Skills (Different Types of Texts)
- Writing Skills (Paragraph Completion, Paragraph Organization)

รูปแบบ ข้อสอบ : 5 ตัวเลือก 1 คําตอบ จำนวน 80 ข้อ
100 คะแนน
 


คณิตศาสตร์1

- ความรู้พื้นฐาน (เซต และการดำเนินการของเซต ตรรกศาสตร์เบื้องต้น ความสัมพันธ์ฟังก์ชั่น) : ***ไม่ออกสอบ แต่ใช้เป็นความรู้พื้นฐานในสาระอื่น
- ระบบจำนวนจริง
- เรขาคณิต
- พีชคณิต
- ความน่าจะเป็นและสถิติ
- แคลคูลัส
- ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

รูปแบบ ข้อสอบ : 5 ตัวเลือก 1 คําตอบ จำนวน 30 ข้อ
100 คะแนน
 


ฟิสิกส์

- กลศาสตร์ จลนศาสตร์ แรงและการเคลื่อนที่ แรงต้านการเคลื่อนที่
- สมบัติของสสาร ความยืดหยุ่น กลศาสตร์ของไหล คลื่น แสง เสียง
- ไฟฟ้า – ไฟฟ้าสถิต ไฟฟ้ากระแสตรง ไฟฟ้ากระแสสลับ
- แม่เหล็ก
- ฟิสิกส์ยุคใหม่

รูปแบบ ข้อสอบ : 5 ตัวเลือก 1 คําตอบ จำนวน 25 ข้อ
100 คะแนน
 
 


เคมี

- อะตอมและตารางธาตุ
- พันธะเคมี
- สมบัติของธาตุและสารประกอบ
- ปริมาณสัมพันธ์ในปฏิกิริยาเคมี
- ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
- อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
- สมดุลเคมี
- กรด – เบส
- ไฟฟ้าเคมี
- ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม
- เคมีอินทรีย์
- เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์
- สารชีวโมเลกุล

รูปแบบ ข้อสอบ : 5 ตัวเลือก 1 คําตอบ จำนวน 50 ข้อ
100 คะแนน
 


ชีววิทยา

- สิ่งมีชีวิตกับการดำรงชีวิต
- ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

รูปแบบ ข้อสอบ : 5 ตัวเลือก 1 คําตอบ จำนวน 80 ข้อ
100 คะแนน
 


คณิตศาสตร์ 2

- จำนวนจริงและการดำเนินการ
- การวัด
- พีชคณิต
- ความน่าจะเป็น

รูปแบบ ข้อสอบ : 5 ตัวเลือก 1 คําตอบ จำนวน 30 ข้อ
100 คะแนน
 



วิทยาศาสตร์ทั่วไป

- พันธุกรรม
- สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
- อยู่ดีมีสุข
- อยู่อย่างปลอดภัย
- ธาตุและสารประกอบ
- ปฏิกิริยาเคมี
- สารชีวโมเลกุล
- ปิโตรเลียม
- พอลิเมอร์
- การเคลื่อนที่
- แรงในธรรมชาติ
- คลื่นกล
- เสียง
- คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- พลังงานนิวเคลียร์
- โครงสร้างโลก
- การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี
- แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด
- ธรณีประวัติ
- กำเนิดเอกภพ
- ดาวฤกษ์
- ระบบสุริยะ
- เทคโนโลยีอวกาศ
- กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

รูปแบบ ข้อสอบ : 5 ตัวเลือก 1 คําตอบ จำนวน 50 ข้อ
100 คะแนน