หน้าแรก คลังความรู้ การพัฒนาตนเอง

เบื้องหลังเสียงไซเรน 'ฮีโร่บนรถกู้ชีพ'! มารู้จักกับ 'นักปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน' ! ให้มากขึ้น เรียนอะไร จบไปทำอะไร?

วันที่เวลาโพส 05 เมษายน 67 15:48 น.
อ่านแล้ว 0
พี่ตาล AP
     เบื้องหลังเสียงไซเรน 'ฮีโร่บนรถกู้ชีพ'! มารู้จักกับ 'นักปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน' ! ให้มากขึ้น เรียนอะไร จบไปทำอะไร? มาติดตามไปพร้อมกัน


     สวัสดีน้องๆทุกคน! เคยสงสัยไหมว่าเบื้องหลังการช่วยชีวิตด้วยความรวดเร็วของทีมแพทย์ฉุกเฉินนั้นมีอะไรบ้าง? วันนี้เราจะพาไปเจาะลึกถึงหลักสูตรของ 'นักปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน' กัน จะได้รู้ว่าพวกเขาเรียนอะไร และเมื่อจบไปแล้วจะก้าวเข้าสู่บทบาทอะไรในวงการสุขภาพ เตรียมตัวให้พร้อมแล้วมาดูกันเลยว่าคณะนี้มีอะไรบ้างที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน! ไปกันต่อออ

  • นักปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน คืออะไร ?
      นักฉุกเฉินการแพทย์" (Paramedic) จะปฏิบัติงานอยู่ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ทำหน้าที่ออกไปกับรถพยาบาล เพื่อช่วยเหลือและดูแลรักษานอกโรงพยาบาล หรืออาจจะปฏิบัติงานในห้องอุบัติเหตุ ห้อง ฉุกเฉิน หรือปฏิบัติงานเป็นผู้จ่ายงานปฏิบัติการฉุกเฉิน (EDM) ในศูนย์รับแจ้งเหตุต่างๆ ของสถานพยาบาล

  • นักปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน เรียนเกี่ยวกับอะไร?
     เน้นการเรียนด้านการช่วยเหลือคนไข้หรือผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บ เช่น การให้น้ำเกลือ การใช้ท่อช่วยหายใจ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การดูแลคนไข้บนรถพยาบาลฉุกเฉินจนถึงโรงพยาบาล

  • คุณสมบัติของคนที่อยากทำอาชีพนี้
    • เหมาะกับคนที่มีความละเอียดรอบคอบ
    • สามารถรับมือ และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
    • มีคุณธรรม จริยธรรม มีสติ และไม่ประมาท
    • เข้าใจปัญหา และความเจ็บปวดของผู้อื่น
    • สามารถสื่อสารได้ถูกต้องชัดเจน
  • เรียนกี่ปี ต้องเรียนจบสายอะไร
       4 ปี (สายวิทย์ – คณิต)

  • จบมาทำอาชีพอะไร
    • ทำงานในห้องฉุกเฉิน
     เช่น พยาบาลและเวชกิจ ทำหน้าที่ชักประวัติเบื้องต้น วัดชีพจร ความดัน แล้วรายงานแพทย์ เป็นต้น
  • งานนอกห้องฉุกเฉิน
     เช่น ไปรับคนไข้ฉุกเฉิน คนไข้โดนรถชนทำงานร่วมกับแพทย์และพยาบาล
  • แพทย์แผนกฉุกเฉิน
      แพทย์ผู้ทำงานในแผนกฉุกเฉินและบางครั้งก็ต้องประจำรถพยาบาลฉุกเฉินเพื่อไปช่วยผู้ป่วย ณ ที่เกิดเหตุให้ทันเวลาด้วย เรียกได้ว่าต้องทั้งเก่ง ไว และมีสติในทุกสถานการณ์ เพราะต้องคัดกรองวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องและตัดสินใจในการรักษาเบื้องต้นอย่างเร่งด้วยเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยให้ผลจากขั้นวิกฤติ แล้วจึงประสานงานกับแพทย์เฉพาะทางอื่น ๆ ต่อไป  ซึ่งหากน้อง ๆ สนใจอาชีพนี้ ต้องเริ่มจากเรียนสายวิทย์-คณิต เรียนแพทย์ 6 ปี จนได้รับปริญญาด้านแพทยศาสตรบัณฑิต แล้วจึงเรียนต่อเฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินอีก 3 ปี เพื่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
  • นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
     นอกจากจะถึงผู้ป่วยเป็นรายแรกพอ ๆ กับแพทย์แล้ว ยังต้องพกความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูงและการกู้ชีพติดตัวไปด้วย แม้จะดูแล้วจะใกล้เคียงหมอก็ไม่ใช่ จะเป็นพยาบาลก็ไม่เชิง แต่หน้าที่ของพวกเขาเรียกได้ว่ามีความสำคัญมากในทีมแพทย์ฉุกเฉิน  เพราะต้องมีพื้นฐานการทำหัตถการทางการแพทย์ รักษาผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในภาวะฉุกเฉินที่ส่งผลต่อชีวิต เพื่อให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นก่อนจะส่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เรียกได้ว่าได้ช่วยคนไข้ในช่วงนาทีชีวิตเลยทีเดียว
  • พนักงานฉุกเฉินการแพทย์
     คนสำคัญอีกคนที่ขาดไม่ได้บนรถพยาบาลไซเรน EMT นอกจากจะขับรถได้ไวและปลอดภัยแล้ว ยังต้องมีพื้นฐานในการปฐมพยาบาลและกู้ชีพขั้นต้นได้ สามารถช่วยเหลือ แพทย์ พยาบาล หรือ paramedic ในการหยิบจับ จัดเตรียมอุปกรณ์ได้ รวมทั้งยกเปลและตรวจสอบเครื่องมือบนรถต่าง ๆ ด้วย โดย EMT นั้นต้องผ่านการอบรม ไม่ต่ำกว่า 115 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรรับรอง โดยจะมีการอบรมตามสถาบันที่เกี่ยวข้องด้านการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลประจำจังหวัด หรือโรงพยาบาลศูนย์ เป็นต้น หากต้องการศึกษาต่อจะมีการเรียนในระดับ AEMT (Advanced Emergency Medical Technician) คือ สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (ปวส.ฉพ.)  หลักสูตร 2 ปี โดยรับผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า โดยสถาบันที่เปิดรับสมัคร
  • ทีมช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ
     เจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉินระดับกลาง หรือเจ้าหน้าที่กู้ชีพเป็นหลักสูตรเทียบเท่า EMT-Intermediate ของสหรัฐอเมริกา และเจ้าหน้าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยต้องผ่านหลักสูตรเวชกรฉุกเฉินระดับตัน (EMT-B)
  • ทีมพยาบาลวิชาชีพเฉพาะทางการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน
     ที่ผ่านการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง (ACLS) และมีประสบการณ์การช่วยชีวิต
  • ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
      เช่น แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน, สูตินรีแพทย์, วิสัญญีแพทย์, รังสีแพทย์วินิจฉัย ฯลฯ

  • ปี 1-4 เรียนอะไรบ้าง ?
  • ปี 1-2
    จะได้เรียนวิชาศึกษาทั่วไปอย่าง คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เคมีทั่วไป ชีววิทยา พื้นฐานเภสัช เวชศาสตร์ระดับเซลล์ ซึ่งในหมวดที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ และยังต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานทางวิชาชีพ เช่น กายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน การซักประวัติและตรวจร่างกาย ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน  
  • ปีที่ 3
    จะเป็นการเรียนในกลุ่มวิชาชีพโดยตรง เรียนเรื่องการดูแลผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน, การช่วยฟื้นคืนชีพ, หัตถการทางการแพทย์, การแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และนิติเวชศาสตร์ เป็นต้น
  • ปีที่ 4
    น้องๆ จะได้ฝึกปฏิบัติงานจริง อย่างการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในที่สาธารณะ ไปจนถึงการฝึกปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ในโรงพยาบาล
 

 
  • คะแนนที่ใช้ (ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่กำหนดของแต่มหาวิทยาลัย)  
    • GPAX
    • TGAT / TPAT1, TPAT3
    • A-level 7 วิชา (คณิตศาสตร์ 1, ฟิสิกส์, เคมี,ชีววิทยา,ภาษาอังกฤษ,ภาษาไทย, สังคมศึกษา) รวมไปถึง มีวิชาเฉพาะที่ทางมหาวิทยาลัยจัดสอบด้วย
 
     เช็คหลักสูตรอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ : https://course.mytcas.com/
 
 




 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด