สอบเข้ามหาวิทยาลัย

สรุปเจาะลึก Blueprint TCAS69 แยกตามรายวิชา ใน TGAT/TPAT พร้อมเนื้อหาและโครงสร้างล่าสุด!

สรุปเจาะลึก Blueprint TCAS69 แยกตามรายวิชา ใน TGAT/TPAT พร้อมเนื้อหาและโครงสร้างล่าสุด!
     Dek69 ต้องรู้! โครงสร้างข้อสอบ TGAT + TPAT ปีนี้อัปเดตแล้วตาม Test Blueprint ล่าสุด
ถ้าอยากสอบติดให้ได้ในรอบ Portfolio หรือรอบอื่น ๆ ที่ใช้คะแนน TGAT/TPAT ห้ามพลาดบทความนี้เด็ดขาด!  วันนี้พี่แอดมินจะมาสรุปให้แบบละเอียด
เข้าใจง่าย เห็นภาพชัดทุกวิชา พร้อมแนะแนวแต่ละพาร์ทให้น้องเตรียมตัวได้ตรงจุด 

TGAT1: การสื่อสารภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 100 คะแนน รวม 60 ข้อ
 - ส่วนที่ 1 : ทักษะการพูด (Speaking Skill) (30 ข้อ) (50 คะแนน)
  • การถาม–ตอบ (Question-Response) (10 ข้อ)
  • เติมบทสนทนาแบบสั้น (Short conversations) จำนวน 3 บทสนทนา  (3 – 4 ข้อ/บทสนทนา รวม 10 ข้อ)
  • เติมบทสนทนาแบบยาว (Long conversations) จำนวน 2 บทสนทนา (5 ข้อ/บทสนทนา รวม 10 ข้อ)
- ส่วนที่ 2 : ทักษะการอ่าน (Reading Skill) (30 ข้อ) (50 คะแนน)
  • เติมข้อความในเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ (Text completion) จำนวน 2 บทความ  (7-8 ข้อ/บทความ รวม 15 ข้อ)
  • อ่านเพื่อจับใจความ (Reading comprehension) จำนวน 3 บทความ (5 ข้อ/บทความ รวม 15 ข้อ)
หมายเหตุ : บทความทั่วไปที่ใช้ในการสื่อสาร มีจำนวนคำประมาณ 100– 200 คำ
- ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)
- ระยะเวลาที่ใช้สอบ 60 นาที



TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล คะแนนเต็ม 100 คะแนน รวม 80 ข้อ
เป็นการวัดสมรรถนะการคิดอย่างมีเหตุผล (Critical & Logical Thinking) ประกอบด้วย
  • ความสามารถทางภาษา
  • ความสามารถทางตัวเลข
  • ความสามารถทางมิติสัมพันธ์
  • ความสามารถทางเหตุผล
- ประเภทข้อสอบ ปรนัย (5 ตัวเลือก)
- ระยะเวลาที่ใช้สอบ 60 นาที




TGAT3 สมรรถนะการทำงาน  คะแนนเต็ม 100 คะแนน  รวม 80 ข้อ
ส่วนที่ 1 : การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม (15 ข้อ) (25 คะแนน)
  • การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking) ความเข้าใจในการกำหนดวิธีการรวบรวมประเด็น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีหลักการในการสรุปผลการวิเคราะห์และแยกแยะข้อมูลที่ได้รับออกเป็นปัจจัยย่อย ๆ เช่น สาเหตุ ผลลัพธ์ ผลกระทบ ข้อเสนอแนะ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
  • การแก้ไขปัญหาอย่างมืออาชีพ (Professional problem solving) ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาหรือเล็งปัญหา พร้อมทั้งลงมือจัดการกับปัญหานั้น ๆ อย่างมี ข้อมูล มีหลักการ และสามารถนำความเชี่ยวชาญ หรือแนวคิดในสายวิชาชีพมาประยุกต์ใช้ในการ แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative thinking) การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ทางเลือก สินค้าและบริการรูปแบบใหม่ พร้อมทั้งการปรับเปลี่ยน กลยุทธ์ นโยบาย และรูปแบบการดำเนินงานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม รวมถึงการพูดจูงใจผู้อื่น นำเสนอความคิดและรูปแบบของสินค้า บริการ และวิธีการดำเนินงานรูปแบบใหม่
 
ส่วนที่ 2 : การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน (15 ข้อ) (25 คะแนน)
  • การระบุปัญหา (Identifying problems) ประกอบด้วย ทำความเข้าใจบริบทแวดล้อม การระบุและทำความเข้าใจปัญหา การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการระบุปัญหา
  • การแสวงหาทางออก (Generating and selecting solutions) ประกอบด้วย การสร้างและหาทางเลือก และการประเมินทางเลือกที่เหมาะสม
  • การนำทางออกไปแก้ปัญหา (Implementation) ประกอบด้วย การปฏิบัติตามแผน และการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม
  • การประเมินทางออกเพื่อการพัฒนาปรับปรุง (Evaluation) ประกอบด้วย เก็บข้อมูลจากการนำทางออกไปลองใช้ และสรุปผลจากการนำทางออกไปลองใช้
 
ส่วนที่ 3 : การบริหารจัดการอารมณ์ (15 ข้อ) (25 คะแนน)
  • ความตระหนักรู้ตนเอง (Self awareness) การรับรู้ ควบคุมสภาพอารมณ์ และทัศนคติ เพื่อรักษาอารมณ์ และประสิทธิภาพของตนเอง แม้ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดหรือมีภาระสูง มีความตระหนักถึงจุดแข็งของตนเอง รวมถึงจุดที่ต้องพัฒนา โดยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • การควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพ (Personality and emotional control) ความสามารถในการแสดงออก ทางสีหน้า ท่าทาง และอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม เมื่อต้องเผชิญกับบุคคล ลักษณะงาน และสถานการณ์ที่ตึงเครียด รวมถึงการให้คำปรึกษา แนะนำและสอนผู้อื่น ให้ควบคุมอารมณ์และบุคคลิภาพได้อย่างเหมาะสม
  • ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal understanding) ความเข้าใจความต้องการ ความกังวล และความรู้สึกของผู้อื่น ทั้งสิ่งที่แสดงออกและไม่แสดงออก และความสามารถในการตอบสนอง และให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม และเท่าเทียมกัน
 
ส่วนที่ 4 : การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม (15 ข้อ) (25 คะแนน)
  • การมุ่งเน้นการบริการสังคม (Service orientation) การคิด และทำสิ่งต่าง ๆ โดยมีความต้องการของสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่ในใจเสมอ โดยมุ่งเน้นการศึกษา และทำความเข้าใจความต้องการต่าง ๆ แสดงถึงความมุ่งมั่นต้องการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างแท้จริง พร้อมพัฒนาและ รักษาความสัมพันธ์ที่ดีอย่างยั่งยืน
  • จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental responsibility) การมีจิตสำนึก ตระหนักให้ความสำคัญ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีความมุ่งมั่นและทุ่มเทที่จะอนุรักษ์ และรักษาสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชนให้น่าอยู่ ตลอดจนเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน หรือร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคม และสิ่งแวดล้อมขององค์กรอย่างเต็มที่ เพื่อเกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยรวม
  • การสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น (Creating local benefits) ความสามารถในการคิดค้น ออกแบบ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่แปลกและแตกต่างไปจากเดิม โดยการมุ่งเน้นพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในระยะยาว และยั่งยืนให้แก่ประชาชน พื้นที่ หรือท้องถิ่นที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม

- ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)
- เพื่อวัดทัศนคติ 4 ระดับ (รูปแบบการให้คะแนนจะระบุในแบบทดสอบ)
- การตอบคำถาม มี 2 แบบ คือ
    1) เลือกตอบตัวเลือกเดียว
    2) เลือกตอบหลายตัวเลือก
 -  ระยะเวลาที่ใช้สอบ 60 นาที



TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์ คะแนนเต็ม 100 คะแนน  รวม 150 ข้อ
ส่วนที่ 1 : TPAT21 ทัศนศิลป์ 50 ข้อ (100 คะแนน)
พื้นฐานทางทัศนศิลป์ (30 ข้อ)
           - หลักการออกแบบและการจัดองค์ประกอบศิลป์
           - การวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์งานทัศนศิลป์
           - ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
           - การเห็นคุณค่าและสามารถถ่ายทอดความรู้สึกที่มีต่องานทัศนศิลป์
 
ทัศนศิลป์กับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน (20 ข้อ)
           - การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
           - การนําศิลปะ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน
           - ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับทัศนศิลป์ในชีวิตประจําวัน

ส่วนที่ 2 : TPAT22 ดนตรี (50 ข้อ) (100 คะแนน)
องค์ประกอบดนตรี (25 ข้อ)
            - จังหวะ (Rhythm)
            - ทํานอง (Melody)
            - เสียงประสาน (Harmony)
            - รูปพรรณ (Texture)
            - สีสันของเสียง (Tone Color)
            - ลักษณะของเสียง
            - รูปแบบ (Form)
 
บริบทที่เกี่ยวข้องทางดนตรี (25 ข้อ)
             - ประวัติและวรรณคดีดนตรี
             - เครื่องดนตรีและแหล่งกําเนิดของเสียง
             - ระดับของการฟัง
             - หลักในการปฏิบัติทักษะดนตรี
             - ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับสังคมและการประยุกต์ใช้ดนตรีในชีวิต

ส่วนที่ 3 : TPAT23 นาฏศิลป์ (50 ข้อ) (100 คะแนน)
พื้นฐานการใช้ร่างกายทางด้านนาฏศิลป์ (10 ข้อ)
             - การเตรียมพร้อมร่างกายเพื่อปฏิบัตินาฏศิลป์
             - พื้นฐานการเคลื่อนไหวร่างกาย

การสื่อสารด้วยท่าทาง (15 ข้อ)
             - อารมณ์ความรู้สึกเชิงบวก เช่น ดีใจ มีความสุข เบิกบาน
             - อารมณ์ความรู้สึกเชิงลบ เช่น เสียใจ เจ็บปวด สิ้นหวัง
             - การสื่อความหมาย
             - การแสดงออกทางสีหน้าแววตา

หลักการใช้พื้นที่ทางด้านนาฏศิลป์ (15 ข้อ)
             - ทิศทาง
             - ระดับ
             - ขนาด
             - การใช้พื้นที่ในการแสดง
             - การเคลื่อนที่และแปรแถว

ปฏิภาณไหวพริบสําหรับผู้แสดงนาฏศิลป์ (10 ข้อ)
             - การแก้ไขสถานการณ์ก่อนการแสดง
             - การแก้ไขสถานการณ์ระหว่างการแสดง


หมายเหตุ : การคิดคะแนนรวม คำนวณจากการเฉลี่ยทั้งสามส่วน เต็ม 100 คะแนน
- ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)
- ระยะเวลาที่ใช้สอบ 180 นาที



TPAT3  ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ คะแนนเต็ม 100 คะแนน  รวม 70 ข้อ
ส่วนที่ 1: การทดสอบความถนัด (aptitude test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (45 ข้อ) (60 คะแนน)
  • ด้านตัวเลข (numerical reasoning) (15 ข้อ)
  • ด้านมิติสัมพันธ์ (diagrammatic reasoning) (15 ข้อ)
  • ด้านเชิงกล (mechanical reasoning) และด้านฟิสิกส์ (physics aptitude test) (15 ข้อ)
 
ส่วนที่ 2: การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (25 ข้อ) (40 คะแนน)
  • ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (15 ข้อ)
  • ความสนใจข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (10 ข้อ)
 
- ประเภทข้อสอบ ปรนัย (5 ตัวเลือก)
- ระยะเวลาที่ใช้สอบ 180 นาที



TPAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรม คะแนนเต็ม 100 คะแนน  รวม 80 ข้อ
ส่วนที่ 1 : การวัดความรู้ทั่วไปด้านศิลปะและการออกแบบ ที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายใน 24 ข้อ (24 คะแนน)
สมรรถนะ
  • 1.ความเข้าใจความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ ที่มีต่อกระบวนการคิดและการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายใน
  • 2.การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ ที่มีต่อกระบวนการคิดและการออกแบบทางสถาปัตยกรรม
  • 3.การนำความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ ไปใช้กับงานสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายใน
ระดับการประเมิน
  • ระดับที่ 1) ความเข้าใจ (8 ข้อ)
  • ระดับที่ 2) การวิเคราะห์ (8 ข้อ)
  • ระดับที่ 3) การสังเคราะห์ (8 ข้อ)
ส่วนที่ 2 : การวัดความรู้ทั่วไปด้านทฤษฎีสีและทฤษฎีด้านความงามทางศิลปะและงานสถาปัตยกรรม (16 ข้อ)
 (16 คะแนน)
สมรรถนะ
  • ความเข้าใจด้านทฤษฏีสี จิตวิทยาการการใช้สี และทฤษฎีด้านความงามที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสถาปัตยกรรม
  • การวิเคราะห์และการนำไปใช้
ระดับการประเมิน
  • ระดับที่ 1) ความเข้าใจ (8 ข้อ)
  • ระดับที่ 2) การวิเคราะห์และการนำไปใช้ (8 ข้อ)
 
ส่วนที่ 3 : การวัดความรู้พื้นฐานระบบโครงสร้าง ประเภทและลักษณะโครงสร้าง องค์ประกอบของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม และงานระบบพื้นฐานในงานสถาปัตยกรรม 24 ข้อ (24 คะแนน)
สมรรถนะ
  • 1.ความเข้าใจพื้นฐานระบบโครงสร้าง ประเภทและลักษณะโครงสร้าง องค์ประกอบของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม
  • 2.การวิเคราะห์
  • 3.การนำไปใช้
ระดับการประเมิน
  • ระดับที่ 1) ความเข้าใจ (8 ข้อ)
  • ระดับที่ 2) การวิเคราะห์ (8 ข้อ)
  • ระดับที่ 3) การนำไปใช้ (8 ข้อ)
 
ส่วนที่ 4 : การวัดการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์และรูปทรง 16 ข้อ (36 คะแนน)
สมรรถนะ
  • 1.ความเข้าใจพื้นฐานด้านมิติสัมพันธ์และรูปทรง
  • 2.การวิเคราะห์มิติสัมพันธ์และรูปทรง
ระดับการประเมิน
  • ระดับที่ 1) ความเข้าใจ (8 ข้อ)
  • ระดับที่ 2) การวิเคราะห์ (8 ข้อ)
 
- ประเภทข้อสอบ ปรนัย (5 ตัวเลือก)
- ระยะเวลาที่ใช้สอบ 180 นาที



TPAT5 ความถนัดครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ คะแนนเต็ม 100 คะแนน  รวม 100 ข้อ
ส่วนที่ 1 : ความสามารถพื้นฐานทางวิชาชีพครู (50 ข้อ) (50 คะแนน)
  • ความสามารถทางการสื่อสาร (10 ข้อ)
  • ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ (10 ข้อ)
  • ความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (10 ข้อ)
  • ความสามารถทางการเข้าใจตนเองและผู้อื่น (10 ข้อ)
  • ความสามารถทางการคิดเพื่อการเรียนรู้ (10 ข้อ)
ส่วนที่ 2 : คุณลักษณะความเป็นครู (50 ข้อ) (50 คะแนน)
  • การมีมนุษยสัมพันธ์ (10 ข้อ)
  • ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ซื่อสัตย์ ยุติธรรม (10 ข้อ)
  • การเข้าใจและยอมรับผู้อื่น (10 ข้อ)
  • การเป็นผู้เรียนรู้และรักที่จะแบ่งปันความรู้ให้ผู้อื่น (10 ข้อ)
  • การส่งเสริมให้ผู้อื่นมีความคิดสร้างสรรค์และการเป็นผู้นำ (10 ข้อ)
- ประเภทข้อสอบ ปรนัย (5 ตัวเลือก)
- ระยะเวลาที่ใช้สอบ 180 นาที



การสอบ TGAT/TPAT ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าเริ่มต้นวางแผนตั้งแต่วันนี้
อย่าลืมอ่านและฝึกตามโครงสร้าง Blueprint ปีล่าสุด เพราะนี่คือกุญแจสำคัญสู่ความแม่นยำในการสอบ!
ขอให้น้อง ๆ ทุกคนสอบติดคณะที่ฝันไว้