หน้าแรก บัญชี ข่าว/บทความ

5 ทักษะที่ "ผู้สอบบัญชี" รุ่นใหม่ควรมี

วันที่เวลาโพส 02 กุมภาพันธ์ 60 11:34 น.
อ่านแล้ว 0
P' ก๊อตจิ AdmissionPremium
น้องๆ ชาว AdmissionPremium กำลังจะเข้ามาศึกษาหรือที่กำลังจะจบการศึกษาในคณะ/สาขาบัญชี น้องๆ จะได้มาทำให้ทักษะสำคัญสำหรับผู้ตรวจสอบบัญชีควรจะมีเพื่อไปพัฒนาและฝึกฝนตัวเองก่อนก้าวเข้าสู่วัยทำงาน 

UploadImage

1. การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมหรือความคาดหวังของสังคม 
          น้องๆ ต้องพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและสภาพแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมใหม่ๆ


2. แรงกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะการตรวจสอบบัญชี


3. ทักษะสำคัญที่ทีมผู้สอบบัญชี ต้องพัฒนา
          - ความเข้าใจที่ลึกซึ้งและประสบการณ์ทางด้านธุรกิจ : ควรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชีอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยสร้างองค์ความรู้และเพิ่มศักยภาพให้แก่สมาชิกในทีม เพราะหากผู้สอบบัญชี ไม่สามารถเข้าใจธุรกิจที่ตนเองตรวจสอบได้อย่างละเอียดและถูกต้อง จะทำให้ไม่สามารถพัฒนากระบวนการคิดและออกแบบการตรวจสอบที่มี ประสิทธิภาพได้

          - เทคโนโลยีและการสอบถามข้อมูล : ความท้าทายที่เกิดขึ้นคือ ผู้สอบบัญชีจะมีวิธีการตรวจสอบอย่างไรภายใต้สภาพแวดล้อมของกระบวนการทำงานอัตโนมัติและความต่อเนื่อง ในระบบการควบคุมซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงใหม่ๆ เช่น ความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัยในโลก ไซเบอร์ และความเสี่ยงที่อาจเสียชื่อเสียง (Reputation risk) วิธีการตรวจสอบ Big Data อย่างไรให้มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลมากที่สุด

          - Soft skill : การพัฒนาทักษะทางด้านจิตวิทยาและพฤติกรรม รวมถึงความสามารถในการใช้ดุลยพินิจและความสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ จะเป็นกุญแจนำไปสู่ความสำเร็จในการตรวจสอบ ซึ่งผู้สอบบัญชีจะได้รับจากประสบการณ์โดยตรงและการฝึกอบรมที่เหมาะสม รวมถึงการจัดสิ่งแวดล้อมให้ส่งเสริมต่อการพัฒนาทักษะเหล่านั้น


4. อุปสรรคต่อ การเปลี่ยนแปลง และพัฒนา
          - ประเด็น เกี่ยวกับการจัดหา และการพัฒนาบุคลากร : บริษัทไม่อาจหาบุคลากร (Junior) ที่มีลักษณะนิสัยเหมาะสมกับงานตรวจสอบ เช่น นิสัยชอบสังเกตและช่างสงสัยเนื่องจากส่วนใหญ่ ยังคงใช้เกณฑ์ผลคะแนนสอบเป็นหลักในการคัดเลือกในขณะที่กำลังสูญเสียบุคลากรที่มีคุณภาพไป (Senior) ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพบุคลากร ทั้งนี้หากอัตราส่วนระหว่าง Senior ต่อ Junior อยู่ในระดับสูง หรือมีผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางธุรกิจเข้าร่วมทีมผู้สอบบัญชีจะช่วยให้ เกิดการพัฒนาความรู้และเป็นผลดีได้มากกว่า

          - ผลกระทบของมาตรฐาน และระเบียบข้อบังคับ ของบริษัท : หลักเกณฑ์ตามมาตรฐานไม่รองรับต่อการพัฒนาของนวัตกรรมใหม่ๆซึ่งบางครั้งทำให้ เกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน เช่น แม้ว่าเราจะทำการตรวจสอบข้อมูลจากประชากรทั้งหมดแต่มาตรฐานยังคงกำหนดให้เราตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจว่าสอดคล้องกับข้อกำหนดเฉพาะของมาตรฐาน ทั้งนี้ระเบียบข้อบังคับของบริษัทในการกำหนดวิธีการตรวจสอบยังอาจ ส่งผลกระทบต่อการใช้ดุลยพินิจของบุคลากรและก่อให้เกิดข้อจำกัดในการตอบรับนวัตกรรมใหม่ๆ

          - การขาดความดึงดูดใจ ในอาชีพตรวจสอบบัญชี : ที่ผ่านมามีมุมมองเกี่ยวกับหน่วยงานที่มีอำนาจใน การกำกับดูแลเกี่ยวกับการมุ่งเน้นหาว่าใครทำอะไรผิดและให้บทลงโทษ มากกว่าการชมเชยในสิ่งที่ผู้นั้นปฏิบัติได้ดีและส่งเสริมให้ได้รับการยอมรับในวงกว้าง จึงส่งผลให้เกิด ความกลัวในกระบวนการตัดสินใจ ซึ่งเป็นผลให้ลดการใช้ ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งหน่วยงานที่มีอำนาจในการกำกับดูแลต้องรีบทำการแก้ไขความเข้าใจผิดในส่วนนี้ รวมถึงผู้ประกอบวิชาชีพต้องปรับเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับวิชาชีพโดยแสดงให้เห็นถึงบทบาทของผู้สอบบัญชีในสังคม และการใช้ความรู้ความสามารถในฐานะผู้เชี่ยวชาญเพื่อดึงดูดให้เกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น


5. การปฏิบัติงานตรวจสอบ ที่มีคุณภาพในสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป



ที่มา : สภาวิชาชีพบัญชีในพระราชูปถัมภ์

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด