สอบเข้ามหาวิทยาลัย

เจาะลึกอาชีพ "แพทย์ทั่วไป"

UploadImage


       ในอีก 2 เดือนจะย่างเข้าสู่ การสมัครสอบ กสพท (กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย) กันแล้วนะคะ พี่จ๋า AdmissionPremium จึงได้หยิบจับ อาชีพ แพทย์ มาให้น้อง ๆ ได้ศึกษาข้อมูลกัน ใบทความนี้  พี่จะขอเรียกแพทย์ ว่าหมอแทนละกันนะคะ  

ลักษะงาน
       ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรค สั่งยา รักษาอาการบาดเจ็บ โรค และอาการผิดปกติต่างๆ ของผู้ป่วยช่น โรคกระเพาะ โรคท้องเสีย เป็นต้น  หรือสั่งตรวจทางเอ็กซเรย์ การทดสอบพิเศษต่างๆ  พิจารณาผลการตรวจและผลการทดสอบ โดยปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง 

 เรียนเกี่ยวกับ 
        ชั้นปีที่ 1 - 3 จะเรียนเกี่ยวกับ วิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิต สังคม ภาษา จะเรียนร่วมกันกับนักศึกษาคณะ สาขาวิชาอื่นๆ และต่อไปก็จะเรียนเรื่อง "ตัวโรค" โดยการเรียน 3 ปีแรกนี้ เราเรียกการเรียนนี้ว่า "Pre - Clinic"
        ชั้นปีที่  4- 6 จะเรียนในโรงพยาบาลกันแล้ว ได้ลงมือฝึกฏิบัติกันจริงๆ เช่น ได้เรียน anatomy โดยเรียนกับอาจารย์ใหญ่กันแล้ว และเรียนเกี่ยวกับสาขาเฉพาะทาง โดยเรียนวนไป หลักๆ ก็จะมี หมอเด็ก,หมอสูตินารีเวช,หมออายุกรรรม,หมอผ่าตัด,หมอกระดูก,หมอ หู คอ จมูก ,หมอตา,หมอเอ็กซเรย์,หมอวางยาสลบ,หมอเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน และหมอจิตเวช   โดยการเรียน 4 ปี้หลังนี้ เราเรียกว่า " Clinic "

เรียนจบ 6 ปีแล้วไปไหนต่อ ?
       
จะต้องจับฉลากเพื่อเลือกโรงพยาบาลสังกัดที่เราจะต้องไปทำงาน ซึ่งเราเรียกหมอเหล่านี้ที่จบใหม่นี้ว่า  "แพทย์ทั่วไป"  (General Practitioner)  ซึ่งหมอบางท่านก็ไม่ได้จับฉลากโดยได้ทุนเรียนต่อเลย จากนั้นก็จะได้ใบประกอบโรคศิลป์ แต่ในระหว่างการเรียน 6 ปี ทางมหาวิทยาลัยก็จะกำหนดการสอบเพื่อให้ได้ใบโรคศิลป์กันอยู่แล้ว จนเรียนจบใน  6 ปี จากนั้นก็ค่อยหาจุดม่งหมายที่จะเรียนต่อในสาขาเฉพาะทาง (Specialist)  กันอีกที

บุคลิกภาพ
        - ต้องเรียนจบในสายวิทย์-คณิตเท่านั้น 
        - มีความรู้พื้นฐาน เคมี ชีวิวิทยา ฟิสิกส์ ( ถามาแล้วไม่จำเป็นต้องเก่งชีวะ แต่พอมีพื้นฐาน คะแนนรวมวิชาอื่นๆถึงก็พอใช้แล้วค่ะ )
        - มึความเสียสละ เรื่องเวลา สามารถคอยสแตนบายเวลาได้่ตลอด 
        - มีจิตใจที่เข้มแข็ง และมีความอดทน
        - มีความเมตตา เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ชอบช่วยเหลือผู้อื่น
        - มีความช่างสังเกต
        - ที่สำคัญ ยอมรับสภาวะการนอนดึกได้ 

รายได้อาชีพ
       
เริ่มต้นประมาณ 30,000 - 40,000 บาท ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล / สามารถประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยรายได้ที่ได้รับขึ้นอยู่กับความสามารถ และความอุตสาหะ นอกจากในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจและเอกชนอาจได้รับผลตอบแทนในรูปอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น 

สิ่งที่พี่อาชีพอยากจะบอกน้องๆ ที่อยากเป็นหมอ 
        การเรียนหมอ มันดูว่าเหนื่อยจริงๆ แต่พอเราได้เริ่มรักษาคนไข้แล้ว และเขาหายป่วยหรือดีขึ้นจากการรักษาของเรา มันทำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจและมีความสุขอย่างบอกไม่ถูก และน้องคนไหนที่อยากเป็นหมอ จงเป็นหมอด้วยใจที่มีความเมตตาธรรม จะทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขและมีความเจริญเติบโตในหน้าที่การงาน 

        อาชีพหมอ ว่ากันแล้ว ก็เป็นอาชีพที่มีการขาดแคลนมาโดยตลอด ดังนั้น คำว่าหมอจึงไม่มีคำว่าตกงาน รายได้ดี เป็นอาชีพที่มั่นคง แต่เส้นทางการเป็นหมอ ไม่ได้โรยด้วยกลีบดอกไม้ น้องๆต้องตั้งใจ อดทน มุมานะ อุตสาหะ เตรียมพร้อมในการสอบให้เป็นอย่างดีด้วยนะคะ สนามสอบแรก ที่น้องๆจะต้องเจอ คือ กสพท นะคะ พี่เอาใจช่วยทุกๆคน ที่ตั้งใจอยากเป็นหมอเพื่อรักษาคนไข้ ได้ประสปความสำเร็จอย่างใจที่มุ่งหวังไว้กันทุกๆคนนะคะ 

ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พี่อาชีพ "แพทย์ทั่วไป " ในปี พ.ศ 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม : โรงเรียนแพทย์ในประเทศ  ที่แพทยสภารับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตมีทั้งหมด   21  แห่ง ดังนี้ 

• โรงเรียนแพทย์ของรัฐ

 1. คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
 2. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 3. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 4. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
 5. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 6. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 7. วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
 8. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
 9. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 10. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร (เดิมใช้ชื่อ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล)
 11. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
 12. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
 13. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
 14. วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 15. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
 16. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
 17. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
 18. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
 19. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (เปิดรับนักศึกษาได้ในปีการศึกษา 2556)

 
โรงเรียนแพทย์เอกชน
 1. วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
 2. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม (เปิดรับนักศึกษาได้ในปีการศึกษา 2556)

ข้อมูลจาก : แพทยสภา