สอบเข้ามหาวิทยาลัย

สาขาด้านการเงินและการลงทุน มีที่ไหน จบมาทำงานอะไร?

อยากเป็น นักการเงินการลงทุนมืออาชีพ ไม่รู้เริ่มต้นยังไง จะต้องเรียนสาขาไหน? ในไทยมีสอนทางด้านนี้อยู่หรือเปล่า? แล้วมีที่สถาบันอะไร? บทความนี้จะมาตอบโจทย์ให้กับน้องๆ ที่อยากเป็นนักลงทุน นักการเงิน แต่ไม่รู้ว่าที่ไหนเปิดสอนบ้าง แล้วจบมาไม่แน่ใจในสายงานว่าจะสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง? บทความนี้ AdmissionPremium มีคำตอบมาให้น้องๆ ทุกคนแล้ว


สาขาด้านการเงินและการลงทุน มีที่ไหนน่าเรียนบ้าง ?
อย่างแรกเลยสถานศึกษาในไทยเริ่มเพิ่มเนื้อหาการลงทุนไปค่อนข้างเยอะขึ้นมากในช่วงหลัง เพราะในช่วงแรกๆจะเน้นการเงินเป็นหลัก ดังนี้

ระดับปริญญาตรี
- สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยมหิดล
สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัลและเทคโนโลยีทางการเงิน มหาวิทยาลัยพายัพ
- สาขาการเงิน เทคโนโลยีการเงิน และการลงทุน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
สาขาการวางแผนการเงินและการลงทุน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- สาขาวิชาการเงินและการลงทุน มหาวิทยาลัยรังสิต
- สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการเงินและการลงทุน มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
- สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- สาขาวิชาการเงินและการลงทุน มหาวิทยาลัยสยาม
- สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยสยาม
สาขาวิศวกรรมการเงิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

ระดับปริญญาโท
สาขาวิชาการเงิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
- สาขาวิศวกรรมการเงิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
- สาขาวิชาการเงิน มหาวิทยาลัยมหิดล
- สาขาการวิเคราะห์การลงทุน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- สาขาวิชาการเงินการลงทุนและการจัดการความเสี่ยง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- สาขาวิชาการเงินการลงทุน มหาวิทยาลัยรังสิต
- สาขาวิศวกรรมการเงินและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


สาขาด้านการเงินและการลงทุน  จบมาทำงานอะไร ?
สาขานี้สามารถแบ่งออกได้ถึง 4 สายงาน ดังนี้
สายงานธนาคาร (Banking)
- นักวิเคราะห์การเงิน (Financial Analyst)
- นักวิเคราะห์สินเชื่อ (Credit Analyst)
- นักวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Analyst)
- นักการธนาคาร (Banker)
สายงานบริษัท (Corporate Finance)
- เจ้าหน้าที่บริหารทางการเงิน (Financial Officer)
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
- ผู้ประกอบการ (Entrepreneur)
สายงานด้านหลักทรัพย์และวาณิชธนกิจ (Securities and Investment Banking)
- นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Securities Analyst)
- วาณิชธนากร (Investment Banker)
- ผู้ขายตราสารอนุพันธ์ (Derivative Trader)
- นักวิเคราะห์ตราสารอนุพันธ์ (Derivative Analyst)
สายการจัดกาการรลงทุน (Fund Management)
- ผู้จัดการกองทุน (Fund Manager)
- ผู้จัดการกองทุนตราสารอนุพันธ์ (Derivative Fund Manager)
- ที่ปรึกษาการลงทุน (Investment Advisor)
- นักวางแผนทางการเงิน (Financial planner)


ช่วงที่ผ่านมาการเงินและการลงทุน เป็นอะไรที่คาดเดาได้ค่อนข้างยากหากไม่มีความรู้ด้านนี้โดยเฉพาะ จึงทำให้อาชีพที่ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุนเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นอย่างก้าวกระโดดบวกกับผลกระทบจากโควิดที่ผ่านมา จะลงทุนแต่ละอย่างก็ต้องใช้ที่ปรึกษาก่อนจะเริ่มลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง สรุปได้ว่ามาเรียน สาขาด้านการเงินและการลงทุน ไม่ตกงานแน่นอนและหางานได้ไม่ยากอีกด้วย