สอบเข้ามหาวิทยาลัย

หัวใจของงานด้านไอทีคือ Programming

       เจอกันอีกแล้วนะคะ กับ " เจาะลึกอาชีพ" กับพี่จ๋า Admissionpremium ครั้งนี้พี่จ๋าหยิบจับคนใกล้ตัวมาสัมภาษณ์นั่นก็คือ " โปรแกรมเมอร์ " ซึ่งพี่มองว่า อาชีพโปรแกรมเมอร์ นั่นเปรียบเสมือนเป็นหัวใจสำคัญของงานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เลยก็ว่าได้
 
UploadImage

นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) หรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer)

ลักษณะงาน :  เขียนโปรแกรมตามที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้ โดยทำงานร่วมกับ นักวิเคราะห์ระบบ นักดีไซน์ นักทดสอบระบบ และนักประกันคุณภาพ และส่วนมากทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ไม่จำเป็นต้องทำงานที่สำนักงานตลอด คือประมาณว่า มีคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องพร้อมสัญญาณอินเตอร์เนต นักโปรแกรมเมอร์สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา บางทีเราจึงจะเห็นว่า นักโปรแกรมเมอร์บางคนเลือกทำงานอิสระ (Freelance) 

เรียนจบ : สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ,สาขาวิศวกรรซอฟต์แวร์ ,สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ,สาขาเทคโนโนโลยีสารสนเทศหรือสาขาอื่นที่เกียวข้อง

บุคลิกภาพ 
- มีความรู้ ความสนใจในเรื่องเทคโนโลยี 
- มีความมุมานะ อดทน และใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
- มีความรู้พื้นฐานทางตรรกศาสตร์ / คำนวณ
- มีความคิดสร้างสรรค์

ค่าตอบแทน
    เริ่มต้น 20,000 บาท ไปจนถึง 7-8 หมื่นบาท (ขึ้นอยู่กับประสปการณ์และทักษะความชำนาญงาน)

สิ่งที่พี่อาชีพอยากฝากบอกน้องๆที่สนใจทางด้านโปรแกรมเมอร์ 
   " การเป็นนักโปรแกรมเมอร์ที่ดี มีรายได้ดี มีความมั่นคงนั้น จะต้องหมั่นติดตามข่าวสารเทคโนโลยีอยู่เป็นประจำ หมั่นฝึกฝนการเขียนภาษาโปรแกรม และ เขียนโปรแกรมให้เป็นไปตามเทคโนโลยี "

     สุดท้ายนี้ พี่มองว่าในอนาคต เมื่อ Digital Economy ได้เติบโตมากขึ้นในอีก 4-5 ปีข้างหน้า ประเทศไทยเราคงจะเกิดวิกฤติบุคลากรทางด้านไอที เกิดขึ้นอย่างแน่นอน และ อาชีพ " โปรแกรมเมอร์ " จะเป็นอาชีพที่ขาดแคลน และมีค่าตัวหรือค่าตอบแทนที่สูงมาก ซึ่งตอนนี้ ยุคของ  Cloud Computing   คือการที่เราใช้ซอฟต์แวร์, ระบบ, และทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเลือกกำลังการประมวลผล เลือกจำนวนทรัพยากร ได้ตามความต้องการในการใช้งาน และให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลบน Cloud จากที่ไหนก็ได้  และ Big DATA ข้อมูลทีปริมาณมาก ที่เราพบเจอมากมายบนเว็บไซต์ ดังนั้น โปรแกรมเมอร์จึงเหมือนหัวใจงานด้านไอที ที่เราขาดบุคคลกลุ่มอาชีพนี้เลยไม่ได้ ในยุคดิจิตอล 

ดูรายละเอียดอาชีพโปรแกรมเมอร์ คลิกที่นี่

ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พี่อาชีพ "โปรแกรมเอร์" ในปี พ.ศ 2559