สอบเข้ามหาวิทยาลัย

เบื้องหลังของคนทำหนัง ทำMV มีใครบ้าง ?

 

ผลงาน MV เพลง "สาวขี้ฮ้ายกับอ้ายผู้หล่อ" ของนักร้องสาว "ไข่มุก The Voice4" นักศึกษาจากวิทยาลัยศิลปะการแสดง  SCA (Superstar College of Arts) มหาวิทยาลัยสยาม กำกับโดยผู้กำกับศิษย์เก่านิเทศน์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ถ่ายทำที่มหาวิทยาลัยสยามนับเป็นผลงานของชาวมหาวิทยาลัยสยามทั้งหมดเลยก็ว่าได้


จากผลงาน MV ข้างต้นนั้น น้องๆ รู้ไหมคะ?  ว่ากว่าเราจะได้ MV มา 1 ตัวนั้นต้องมีใครทำงานอะไรกันบ้าง พี่จ๋า AdmissionPremium จะเล่าคร่าวๆให้นะคะ 

บุคคลที่เกี่ยวของในขั้นตอนการเตรียมงานสร้างภาพยนตร์

1.       ผู้อำนวยการผลิต (Producer) : เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการผลิตภาพยนตร์ทั้งหมด นับตั้งแต่การวางแผน การถ่ายทำ หลังการถ่ายทำ เพื่อให้การผลิตภาพยนตร์เป็นไปอย่างราบรื่นและมีความสมบูรณ์ที่สุด

2.       ฝ่ายกฎหมาย (Legal Department) : ทำหน้าที่ในการทำสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตภาพยนตร์ ซึ่งได้แก่การทำสัญญาเช่าลิขสิทธ์ การเช่าเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ การทำประกันภัย ฯลฯ
 
UploadImage


3.       ผู้เขียนบทภาพยนตร์ (Script Writer) : ทำหน้าที่เขียนบทภาพยนตร์ตามที่ได้รับมอบหมายจนแล้วเสร็จ เมื่อเขียนบทเสร็จแล้วภาระหน้าที่ต่อไปก็คือการแก้ไขบท เมื่อแก้ไขบทจนเป็นที่พอใจของผู้ว่าจ้างแล้วภาระหน้าที่ของผู้เขียนบทก็หมดไป
 
UploadImage

4.       ผู้กำกับภาพยนตร์ (Film Director) :  มีหน้าที่ในการทำความเข้าใจบทภาพยนตร์ เลือกทีมงาน เลือกนักแสดง สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ และเป็นผู้ที่ควบคุมงานผลิตภาพยนตร์ทั้งหมดภายใต้การดูแลของผู้อำนวยการผลิตภาพยนตร์ 

 5.      ผู้ช่วยกำกับภาพยนตร์ (Assistant Film Director) : โดยทั่วไปแล้วถ้าเป็นกองถ่ายภาพยนตร์ทีมใหญ่ๆ จะมีผู้ช่วยกำกับภาพยนตร์ 2-3 คน ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน

 6.       ผู้กำกับภาพ (Director of Photography) : จะประสานงานกับผู้กำกับภาพยนตร์ในการวางแผนการจัดแสงการออกแบบแสงและการวางมุมกล้องเพื่อการสิ่อความหมายด้วยภาพต่างๆ กองถ่ายหนังใหญ่ผู้กำกับภาพนั้นส่วนใหญ่มักจะเป็นช่างกล้องด้วย
 
 7.       ช่างกล้อง (Camera Operator) : จะประสานงานกับผู้กำกับและผู้กำกับภาพในการถ่ายทำภาพยนตร์โดยการกำหนดการวางมุมกล้อง ขนาดภาพ การสื่อความหมายด้วยภาพซึ่งจะวางแผนล่วงหน้าในขั้นตอนเตรียมงานสร้างก่อนที่จะถ่ายจริง

 8.       ผู้กำกับศิลป์ (Art Director) : ทำหน้าที่ในการไปหาสถานที่ ที่ถ่ายทำ ร่วมกับผู้ทำหน้าที่จัดหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้ช่วยกำกับ ธุรกิจกองถ่าย ฯลฯ การออกแบบสร้างฉากตามยุคสมัยบรรยากาศตามเรื่องราวในบทภาพยนตร์

9.        ผู้ช่วยกำกับศิลป์ (Asst. Art Director) :ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้กำกับศิลป์ในการออกแบบฉากที่ได้รับมอบหมายจากผู้กำกับศิลป์

10.      ฝ่ายจัดหาอุปกรณ์ประกอบฉาก (Properties Master) : ทำหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ประกอบฉากต่างๆเช่น จัดหา ตู้ โต๊ะ นาฬิกา ผ้าม่าน ฯลฯ ตามการออกแบบของฝ่ายศิลป์

11.      ฝ่ายสร้างฉาก : ทำหน้าที่สร้างฉากตามที่ฝ่ายศิลป์ออกแบบ ภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อนที่จะมีการถ่ายทำภาพยนตร์

12.     ผู้เขียนสตอรี่บอร์ด (Story Board Visualizer) : ทำหน้าที่แปลงบทภาพยนตร์ให้เป็นภาพเขียน โดยกำหนด ขนาดภาพ มุมกล้อง การจัดองค์ประกอบภาพ ฯลฯ เพื่อให้ง่ายสำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์ โดยทั่วไปแล้วการเขียนสตอรี่บอร์ดนั้นจะเขียน เฉพาะฉากที่ถ่ายทำยากๆเท่านั้น เช่น ฉาก  action ต่างๆซึ่งทีมงานที่เกี่ยวข้องเช่น ผู้กำกับภาพยนตร์ ช่างกล้อง ผู้กำกับศิลป์ ฯลฯ พอเห็นภาพจากสตอรี่บอร์ดแล้วก็สามารถจะออกแบบทำงานตามหน้าที่ของตนได้ทันที

 13.    ผู้ออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (costume Designer) : ทำหน้าที่ออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับต่างๆ ของตัวละคร โดยคำนึงถึงยุคสมัย บุคลิกของตัวละคร โดยก่อนที่จะออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายนั้น ผู้ออกแบบนอกจะอ่านจากบทภาพยนตร์อย่างละเอียดแล้ว จะต้องเข้าร่วมประชุมกับผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้กำกับศิลป์ เพื่อทราบแนวคิดและกำหนดแนวทางของการออกแบบโทรและอารมณ์ของภาพยนตร์ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

14.    ผู้จัดคิวเสื้อผ้าเครื่องแต่ง (WARDROBE)  : ทำหน้าที่จัดคิวเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของนักแสดงให้เป็นไปตามตารางการถ่ายทำภาพยนตร์ ตลอดจนดูแลเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายให้สามารถใช้งานได้ทันทีที่ผู้กำกับภาพยนตร์ต้องการ

15.    ผู้จัดการจัดหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ (Location Manager) : บุคลากรตำแหน่งนี้เพิ่งมีในกองถ่ายภาพยนตร์ไทยในระยะเวลาที่ไม่นานมานี้ เพราะก่อนหน้านี้ผู้กำกับ ผู้ช่วยกำกับ และผู้กำกับศิลป์ จะช่วยกันหาสถานที่ถ่ายทำ แต่เพราะความไม่สะดวก เพื่อให้การจัดหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงกำหนดให้มีตำแหน่งนี้ขึ้นมา

16.    ผู้คัดเลือกนักแสดง (casting) : ทำหน้าที่คัดเลือกนักแสดงตามบุคลิกของตัวละครที่กำหนดไว้ในบทภาพยนตร์ ซึ่งการคัดเลือกนักแสดงนี้ผู้คัดเลือกนักแสดงจะต้องทำงานร่วมกับผู้อำนวยการผลิต ผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้ช่วยกำกับภาพยนตร์ เป็นต้น

17.    ผู้ฝึกซ้อมนักแสดง (acting coach) : ทำหน้าที่หลังจากที่คัดเลือกนักแสดงแล้ว บางกองถ่ายจะกำหนดให้มีการฝึกซ้อมนักแสดงก่อนที่จะมีการถ่ายทำภาพยนตร์ 2-3 เดือน เพื่อให้นักแสดงบางคนที่ยังไม่มีพื้นฐานทางการแสดงได้พัฒนา
ตนเอง สามารถที่จะแสดงภาพยนตร์ในขั้นตอนการถ่ายทำได้อย่างราบรื่น สำหรับนักแสดงที่มีประสบการณ์แล้วก็จะต้องมีการฝึกซ้อมการแสดงตามบทภาพยนตร์ เช่นเดียวกัน

18.    ธุรกิจกองถ่ายภาพยนตร์ : ทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน ขอใช้ ขอเช่าสถานที่ถ่ายทำ ภาพยนตร์ การติดต่อนักแสดง การทำงบประมาณค่าใช้จ่ายรายวัน การจ่ายเงินแก่นักแสดงทีมงานตลอดจนทำบัญชีการใช้จ่ายในแต่ละวันเพื่อนำเสนอบริษัท

และ หากเป็น MV ด้วยแล้วจะเพิ่มทีมเพลง หรือคนทำเพลงเข้ามาทำงานร่วมกับ คนทำหนังด้วยค่ะ 

ในกองบางกองอาจจะมีปลีกย่อยลงไปอีก หรือมีน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดในกองถ่าย


น้องๆ จะเห็นว่าใน  1 กองนั้นมีหลากหลายอาชีพมากมายเลยทีเดียวใช่ไหมคะ เริ่มจากอาชีพที่เกี่ยวของกับคนทำหนังโดยตรงนะคะ 

เช่น ผู้ผลิตภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพยนตร์  ผู้เขียนบทภาพยนตร์ ช่างภาพ ช่างตัดต่อ น้องๆ ต้องเรียนคณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาภาพยนตร์ 


คณะ/มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาภาพยนตร์

      คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 

      คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล  มหาวิทยาลัยศรีปทุม 

      คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์และดิจิตอล  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
       
      คณะบริหารธุรกิจ เศรฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

      วิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และสื่อใหม่ สาขาการผลิตภาพยนตร์      มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

      คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีภาพยนตร์คอมพิวเตอร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

      คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

      คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

      คณะนิเทศศาสตร์ สาขาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาภาพยนตร์และดิจิตอล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

      คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์  มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต

      คณะนิเทศศาสตร์ สาขาการภาพยนตร์และวีดิทัศน์   มหาวิทยาลัยรังสิต

      เป็นไงกันบ้างคะ น้องๆ จะเห็นได้เลยว่า มี มหาวิทยาลัยที่เปิด คณะนิเทศ มีค่อนข้างมากทีเดียว ยิ่งถ้าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอุปกรณ์ที่มีความทันสมัยด้วยแล้ว จะช่วยทำให้น้องๆ ได้เรียนและได้ทำงานที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย นะคะ 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : princezip.blogspot.com