สอบเข้ามหาวิทยาลัย

9 TED Talk แนะนำ สำหรับนักเรียนและผู้ใหญ่ที่มีใจใฝ่เรียนรู้

UploadImage



TED เกิดมาจากแนวคิดหลักที่ต้องการสร้างพื้นที่สำหรับเผยแพร่ไอเดียที่มีคุณค่าผ่าน Powerful Talk ภายในเวลาสั้นๆ โดยเหล่า speaker ที่มีประสบการณ์และอยากแบ่งปันเรื่องราวที่มีคุณค่านั้นไปสู่ผู้คนเป็นวงกว้าง ดังเจตนารมณ์ของ TED ที่ว่า… “Ideas Worth Speading”
 
เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1984 นิยามตัวเองเป็น ‘nonprofit, nonpartisan foundation’ คือองค์กรที่เป็นกลางและไม่แสวงหากำไร มีจุดเริ่มต้นจากงานสัมมนาที่พูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่อง Technology, Entertainment และ Design (ที่มาของคำว่า TED) และมีการจัดงานมาอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นรูปแบบของเวทีทอล์คที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับเผยแพร่ไอเดียที่มีพลัง จากเหล่า Speaker ที่มีเวลาพูดไม่เกิน 18 นาที ส่วน Speaker นั้นมาจากการคัดเลือกของกรรมการและทีมงานของ TED
 
หัวข้อสำหรับพูดใน TED ปัจจุบันนั้นขยายออกไปสู่ประเด็นอื่นๆเกือบจะทุกหัวข้อตั้งแต่ประเด็นวิทยาศาสตร์, ธุรกิจ ไปจนถึง ประเด็นใหญ่ๆในโลก  ไม่ได้จำกัดเฉพาะสามหัวข้อข้างต้นอีกต่อไป  และยังพยายามทำลายข้อจำกัดการเข้าถึงด้านภาษา ด้วยการแปลเป็นภาษาอื่นๆกว่า 100 ภาษา

 
TED Talk ในประเทศไทย

บ้านเรามีการริ่เริ่ม TED Talk ขึ้นแล้วในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น TEDxChiangMai, TEDxBKK,  TEDxChulalongkornU, TEDxYouthNIST, TEDxThammasatU และ TEDxBangkok ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง


 
UploadImage



9 TED Talk แนะนำ สำหรับนักเรียนและผู้ใหญ่ที่มีใจใฝ่เรียนรู้
 
และนี้คือ TED Talk ทั้ง 9 ครั้งที่เราเห็นว่ามีความน่าสนใจ เหมาะกับน้องๆ ในวัยเรียน และผู้ใหญ่ที่พร้อมเปิดใจรับการเรียนรู้การศึกษา และทำความเข้าใจเด็กๆ เป็น TED Talk 9 ครั้งที่ได้รับความชื่นชอบจากนักเรียน ซึ่ง TED ได้สำรวจจากสมาชิกทั่วโลกมากที่สุด เพื่อแนะนำแก่คนรุ่นใหม่ ถึงคนรุ่นใหม่

1.Cameron Russell: Looks aren’t everything. Believe me, I’m a model (ภาพลักษณ์ไม่ใช่ทุกอย่าง เชื่อสิ ฉันเป็นนางแบบ) (มีซับไทย)
นี่เป็นทอล์คที่ช่วยย้ำเตือนให้เห็นว่าสิ่งสำคัญคือสิ่งที่อยู่ภายใน ไม่ใช่แค่เปลือกนอก
 



 
2.Takaharu Tezuka: The best kindergarten you’ve ever seen (โรงเรียนอนุบาลที่ดีที่สุดที่คุณเคยเจอ) (มีซับไทย)
เป็นอีกหนึ่งในทอล์คที่ได้รับการเลือกมากที่สุดซึ่งทำให้บางคนหันมาพิจารณาและมองการศึกษาในเชิงวิพากษ์มากขึ้น
 



3.Drew Dudley: Everyday leadership (ภาวะผู้นำในทุกๆ วัน)
Isabella Scal นักเรียนจากซานฟรานซิสโกเชื่อในข้อความที่ Dudley พยายามสื่อไปถึงหลายคน เธอบอกว่า "การแสดงถึงความอ่อนโยนเล็กๆ น้อยๆ สามารถเปลี่ยนชีวิตใครสักคนได้ และแต่ละคนล้วนส่งอิทธิพลเชิงบวกต่อผู้คนรอบข้างในแบบของตัวเอง ทอล์คนี้ทำให้ฉันรู้สึกขอบคุณเพื่อนๆ และผู้ใหญ่ทั้งหลายเป็นอย่างมาก เพราะฉันรู้ว่าพวกเขาช่วยทำให้ฉันเป็นฉันทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต"
 


 

4.Angela Lee Duckworth: Grit: the power of passion and perserverence (ความอดทน: พลังของความกระหาย และความยึดมั่นไม่ย่อท้อ) (มีซับไทย)
นักเรียนหลายคนเลือกที่จะแนะนำทอล์คนี้ Koshi Joshi จากจอร์เจียบอกว่า นี่เป็นทอล์คที่มีผลต่อเธอมาก มันสอนให้รู้ว่า การเรียนรู้มาจากความพยายาม และการทำงานหนัก และการทำงานหนักคือหัวใจสำคัญสู่ความสำเร็จ
 



5.Julian Treasure: How to speak so that people want to listen (จะพูดอย่างไรให้คนฟังคุณ) (มีซับไทย)
ทอล์คของ Julian Treasure เป็นอีกทอล์คยอดนิยม นักเรียนหลายคนเลือกที่จะทำตามคำแนะนำของเขา 
 



 
6.Susan Cain: The power of introverts (พลังของคนที่ชอบเก็บตัว) (มีซับไทย)
Rachel Fan นักเรียนจากอาร์เจนตินาบอกว่า ทอล์คของ Cain ช่วยยืนยันความรู้สึกและประสบการณ์ของเธอ และช่วยขับดันให้เธอเปิดรับการอยู่กับตัวเอง มันทำให้เธอได้แนวทางใหม่ในการเข้าใจคนรอบข้าง และช่วยพัฒนาทัศนคติต่อบุคลิกภาพของตัวเอง
 



 
7.Casey Neistat: High school stories (เรื่องเล่าในโรงเรียน ม.ปลาย)
Nathan Cao นักเรียนม.ปลายจากแคลิฟอร์เนียบอกว่า ทอล์คอของ Neistat ทำให้เขารู้ว่าตัวเองโชคดีแค่ไหนที่ได้อยู่ในอเมริกา และได้ไปโรงเรียนชั้นดี มันทำให้เขาคิดว่าตัวเองต้องหาโอกาสช่วยคนอื่นที่ไม่ได้มีโอกาสเหมือนอย่างเขา
 



8.Chimamanda Ngozi Adichie: The danger of a single story (อันตรายจากความจริงด้านเดียว) (มีซับไทย)
Alisha Somani นักเรียนจากเท็กซัสอธิบายถึงสิ่งที่ได้จากการฟังทอล์คนี้ว่า "มุมมองด้านเดียวเป็นสิ่งที่ทำให้คนใจแคบ และไม่ตระหนักรู้ถึงโลกรอบๆ ตัวเอง"
 


 

9.Adora Svitak: What adults can learn from kids (สิ่งที่ผู้ใหญ่เรียนรู้ได้จากเด็กๆ) (มีซับไทย)
นี่เป็นทอล์คที่ได้รับความนิยมจากทั้งครูและนักเรียน มันช่วยย้ำเตือนให้เราเข้าใจว่าทำไมการฟังเสียงของเยาวชนเป็นเรื่องสำคัญ
 


 

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
MarketingOops!
TED-Ed Blog