สอบเข้ามหาวิทยาลัย

เจาะฐานรายได้ของคนไทย

ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจแบบพอเพียง และการก้าวข้ามนโยบายประชานิยม คือนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

กระนั้นก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา 4 เดือน หลังการยึดอำนาจ 22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ก็เน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มกำลังซื้อให้กับกลุ่มผู้มีรายได้ น้อย โดยเฉพาะกลุ่มข้าราชการระดับล่าง ผ่านการขึ้นเงินเดือน-ค่าตอบแทน ที่ศึกษาและนำเสนอโดยกระทรวงการคลัง ซึ่งนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง นำเสนอต่อ คสช. ว่า ขณะนี้มีการความคืบหน้าการปรับโครงสร้างบัญชีเงินเดือนข้าราชการโดยกรมบัญชี กลาง สรุปวงเงินที่จะใช้สำหรับการปรับขึ้นเงินเดือนตามนโยบายของ คสช. เรียบร้อยแล้ว โดยหลักการขึ้นเงินเดือนนั้นจะมีอยู่ 3 ส่วน คือ 1. ปรับเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำชั้นผู้น้อย 2. ปรับเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ และ 3. ปรับเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง

ทั้งนี้ ความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้เสนอให้ปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนในปีงบ ประมาณ 2558 ในอัตรา 8% โดยเทียบเคียงจากดัชนีราคาผู้บริโภคปีปัจจุบันที่อยู่ระดับ 7.2%

Web

Web

จึงมีแนวโน้มสูงว่า การปรับขึ้นเงินเดือนครั้งใหม่ ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 เมษายน 2558 จะมีกลุ่มข้าราชการ ลูกจ้าง และข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน ได้รับประโยชน์รวม 2.7 ล้านคน ประกอบด้วย ข้าราชการ 1.7 ล้านคน ลูกจ้างประจำ 1.61 แสนคน พนักงานราชการ 2.19 แสนคน ข้าราชการเกษียณที่รับเบี้ยหวัดบำนาญอีก 6.12 แสนคน

ตัวเลขของกรมบัญชีกลางประเมินว่า ในปัจจุบันค่าใช้จ่ายเงินเดือนอยู่ที่เดือนละ 58,500 ล้านบาท ใช้งบทั้งปี 7.02 แสนล้านบาท หากปรับเงินเดือนกลุ่มดังกล่าวทั้งหมดในอัตรา 7% ต้องใช้งบประมาณเดือนละประมาณ 4,000 ล้านบาท และหากปรับขึ้น 8% จะใช้งบเดือนละ 4,700 ล้าน หากมีการเริ่มจ่ายในงวดวันที่ 30 เมษายน 2558 อัตรา 7% จะใช้งบประมาณปีแรก 24,000 ล้านบาท หากปรับขึ้น 8% ใช้เงินปีละ 56,400 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา คสช. ได้อนุมัติเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ชคบ.) สำหรับผู้ที่ได้รับต่ำกว่าเดือนละ 9,000 บาท โดยให้ปรับเพิ่มให้ครบ 9,000 บาท มีข้าราชการได้รับเงินจำนวนนี้ 70,000 คน โดยใช้งบประมาณเพิ่มปีละ 151 ล้านบาท มีผลตั้งแต่ 10 กรกฎาคม 2557

มีการอนุมัติเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวแก่ข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะ ยุติธรรม โดยใช้งบประมาณกลางปี 2557 จำนวน 390 ล้านบาท จะมีผลในวันที่ 1 ตุลาคม 2557 


นอกจากนี้ คสช. ยังได้อนุมัติให้กระทรวงมหาดไทยปรับโครงสร้างบัญชีเงินเดือนและค่าตอบแทน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น ทั้ง อบจ. อบต. และเทศบาล จำนวนกว่า 1.6 แสนคนทั่วประเทศ มีผลในวันที่ 1 ตุลาคม 2557

ในช่วงที่ผ่านมา สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้มีการสำรวจค่าตอบแทนภาคเอกชน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการเปรียบเทียบโครงสร้างและอัตราค่าตอบแทนระหว่างเอกชน และภาคราชการ นำเสนอคณะกรรมการเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) ไปปรับปรุงค่าตอบแทนในภาครัฐให้มีความเหมาะสมต่อไป

ข้อมูลจากการสำรวจในปี 2556 มีสถานประกอบการอยู่ในขอบข่าย 9,475 แห่ง แบ่งเป็นกิจการเศรษฐกิจ 9,279 แห่ง และกิจกรรมโรงพยาบาลเอกชน 196 แห่ง ธุรกิจที่มีพนักงานประจำตั้งแต่ 101 คนขึ้นไป เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคม- 2556 โดยเก็บข้อมูลสถานประกอบการภาคเอกชนทั่วประเทศ ที่ประกอบกิจกรรมเศรษฐกิจเกี่ยวกับเหมืองแร่ เหมืองหิน การผลิต การไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศ การกำจัดน้ำเสีย การจัดการของเสีย และสิ่งปฏิกูล การก่อสร้างและการขายส่งการขายปลีก

นอกจากนี้ยังมีกิจการประเภทการซ่อมแซมยานยนต์และจักรยานยนต์ การขนส่งทางบก คลังสินค้า ที่พักแรม การบริการด้านอาหาร ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร กิจการทางการเงินและการประกันภัย กิจการอสังหาริมทรัพย์ กิจกรรมทางวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ กิจกรรมโรงพยาบาลเอกชน และธุรกิจบันเทิง กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ ผลการสำรวจระบุด้วยว่า ในช่วง 16 ปีที่ผ่านมา พนักงานเอกชนมีแนวโน้มค่าตอบแทนเฉลี่ยสูงขึ้นมาโดยตลอด

Web

ค่าตอบแทนของพนักงานเอกชน ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่สูงที่สุดคือ พนักงานที่ทำงานในสถานประกอบการไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศ ได้ค่าตอบแทนเฉลี่ยเดือนละ 83,748 บาท รองลงมาคือสถานประกอบกิจการเหมืองแร่ เหมืองหิน ได้ค่าตอบแทนเดือนละ 69,636 บาท กิจการขนส่ง คลังสินค้า กิจการข้อมูลข่าวสาร ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 67,483-68,640 บาท ส่วนพนักงานประจำในสถานประกอบการอื่นๆ ได้ค่าตอบแทนเฉลี่ยต่อเดือน 44,777-65,000 บาท

หากเทียบระดับตำแหน่งจะพบว่า ในตำแหน่งระดับผู้อำนวยการฝ่าย ได้ค่าตอบแทนสูงที่สุด ประมาณ 134,193 บาทต่อเดือน (ไม่รวมโบนัส) ระดับผู้จัดการแผนก ได้ค่าตอบแทนเดือนละ 72,321 บาท ระดับหัวหน้างานที่มีวุฒิปริญญาตรีขึ้นไป ได้เงินค่าตอบแทนเดือนเฉลี่ย 25,513-41,631 บาท ส่วนผู้ปฏิบัติงานวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ได้ค่าตอบแทนเฉลี่ย 16,185 บาท

สำหรับค่าตอบแทนของพนักงานประจำในโรงพยาบาลเอกชน ระดับผู้อำนวยการได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ยสูงสุด อัตรา 206,566 บาทต่อเดือน ตำแหน่งรองผู้อำนวยการได้รับ 131,403 บาทต่อเดือน กลุ่มงานผู้ช่วยผู้อำนวยการ/หัวหน้าฝ่าย/ผู้อำนวยการฝ่าย ได้รับเงินเดือน 95,006 บาท และ 59,380 บาท ส่วนหัวหน้าแผนก ผู้จัดการแผนก ได้ค่าตอบแทนไม่เกินเดือนละ 42,000 บาท

ในส่วนของค่าตอบแทนแพทย์ ตำแหน่งแพทย์เฉพาะทางได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ยสูงสุด เดือนละ 169,483 บาท รองลงมาคือทันตแพทย์และแพทย์ทั่วไป ได้รับ 120,809 บาท 108,350 บาทตามลำดับ เภสัชกรจะได้เงินเดือน 32,511 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่บริการทางการแพทย์ นักรังสีวิทยา ได้เงินเดือน 36,452 บาท ส่วนนักนักเทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด ได้รับค่าตอบแทน 29,066-28,226 บาท ตามลำดับ

ตำแหน่งนักโภชนาการ ได้รับเงินค่าตอบแทนเฉลี่ยน้อยที่สุดในกลุ่มนี้ คือ เดือนละ 24,072 บาท

โครงสร้างเงินเดือนบรรจุใหม่

หากแบ่งตามกลุ่มวุฒิการศึกษาจะพบว่า กลุ่มพนักงานใหม่แรกบรรจุ ที่มีวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อาชีพเภสัชกรได้ค่าตอบแทนสูงสุด คือ 20,003 บาท รองลงมาคือตำแหน่งสถาปนิกและนักทรัพยากรธรณี ได้รับ 18,266 บาท และ 18,039 บาท ตามลำดับ

กลุ่มพนักงานใหม่ ที่แรกบรรจุในวุฒิปริญญาโท/เอก หรือเทียบเท่า พบว่า ตำแหน่งแพทย์ได้รับเงินเดือนแรกเข้าสูงกว่าตำแหน่งอื่น ประมาณ 63,082 บาท 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ไทยพับลิก้า www.thaipublica.org