สอบเข้ามหาวิทยาลัย

เลิกสอบเข้า ตัดวิชาไม่จำเป็น เน้นเรียนรู้ตามวัย พรบ.การศึกษาปฐมวัย อนาคตลูกหลานในระบบการศึกษาไทย


คณะ กอปศ. (กรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา) ได้ร่วมมือกับนักวิชาการในการรับฟังและผลักดันความคิดเห็นในการปรับปรุงการศึกษาให้ดีขึ้น โดยได้จัดทำ ร่าง พ.ร.บ.การปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. … ที่ขณะนี้ยังรอเสนอผ่านกระทรวง ต่อ ครม. เพื่อนำไปสู่กระบวนการประชาพิจารณ์ จากนั้นจะนำสู่ชั้น สนช. แล้วจึงประกาศบังคับใช้กฎหมาย โดยเนื้อหาในพรบ.นี้ มีประเด็นน่าสนใจที่ส่งผลต่อระบบการศึกษาและตัวผู้เรียนโดยตรง ประกอบไปด้วย


เรื่องที่ 1 ยกเลิกการสอบและระบบการตัดเกรดของระดับชั้น ป.1 - ป.3
จะไม่มีการจัดสอบเก็บคะแนนและไม่มีการตัดเกรด (GPA) ของเด็กในระดับชั้น ป.1 - ป.3 อีกต่อไป โดยมีความเห็นว่าเด็กในช่วงนี้ อยู่ในวัยที่เหมาะกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ไม่เหมาะกับการได้รับแรงกดดัน เพราะจะทำให้เด็กเป็มปมกับการแข่งขันในระบบการศึกษา


เรื่องที่ 2 ปรับเปลี่ยนการจัดสอบ O-NET และห้ามใช้คะแนน O-NET เป็นเกณฑ์คัดเลือก 
โดยมีความเห็นว่า การจัดสอบแต่ละครั้งนั้นมีการใช้งบประมาณสิ้นเปลือง และไม่สามารถใช้ตัวอย่างจากการที่จัดสอบมานั้น มาปรับปรุงหลักสูตรให้ดีขึ้นไม่ได้เท่าที่ควร ดังนั้น จะไม่บังคับให้เด็กนักเรียนสอบอีกต่อไป แต่จะมีการสุ่มสอบเฉพาะบางโรงเรียน เพื่อคัดตัวอย่างไปปรับหลักสูตรการศึกษา และคะแนน O-NET จะถูกห้ามไม่ให้ใช้เป็นคะแนนสอบคัดเลือกต่างๆ 


เรื่องที่ 3 ยกเลิกระบบการเรียนรู้แบบ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 
คณะกรรมการมีความเห็นว่า การศึกษาไทยในปัจจุบันไม่สามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงได้เท่าที่ควร ทั้งในวัยอนุบาลรวมไปถึงชั้นปฐม อย่างวิชานาฏศิลป์ ถ้าไม่ได้เป็นนางรำ ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะเรียน นอกจากได้รับเป็นความรู้ทั่วไป จึงไม่สมควรที่จะบังคับต้องเรียน ดังนั้น โรงเรียนที่ขึ้นตรงกับกระทรวงศึกษาธิการ จะไม่มีการสอนแบบ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้อีกต่อไป (ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศิลปะศึกษา พลศึกษา และการงานอาชีพ) โดยจะมีหลักสูตรใหม่มาแทนชื่อว่า หลักสูตรฐานสมรรถนะ คือ หลักสูตรที่ประกอบด้วย
- ความรู้ทั่วไป เป็นความรู้ที่ได้รับมาแล้วอาจจะได้ใช้ในอนาคต 
- ความรู้รอบตัว เป็นความรู้ที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน 
- ความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน

เป็นความรู้ที่เกิดจากความสนใจเฉพาะด้านของเด็กแต่ละคน อย่างเช่น ความรู้เรื่องนาฏศิลป์ เกิดจากการที่เด็กอยากจะเป็นนักดรีไทย


แล้วถ้าหากว่าการปฏิรูปนี้เกิดขึ้นจริง ทั้งผู้ปกครองและตัวเด็กนักเรียนเองควรจะปรับตัวกันอย่างไร?

ข้อ 1 การกวดวิชาอาจไม่จำเป็น
เพราะการเรียนมากเกินไปในช่วงวัยนี้ไม่เป็นผลดีต่อเด็กเอง ผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องบังคับเด็กในการกวดวิชามากเกินไป เพราะจะทำให้เด็กเกิดความกดดันและเรียนไม่รู้เรื่องเท่าที่ควร

ข้อ 2 ส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนมีความโดดเด่นเฉพาะตัว 
เพื่อให้เด็กค้นพบตัวตนและฝึกฝนพัฒนาความสามารถต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในอนาคตว่า ตัวเองถนัดอะไร อยากเป็นอะไร ควรพัฒนาอะไรต่อไปบ้าง

ข้อ 3 ส่งเสริมแนะนำให้เด็กเปลี่ยนแนวทางการทำ Portfolio 
ให้มีแต่เรื่องที่เด็กสนใจ และได้แสดงความสามารถเฉพาะด้านอย่างเต็มความสามารถ ด้วยการส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมที่สนใจได้เต็มที่กับความสามารถเพื่อที่เด็กจะได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการจัดทำ Resume หรือ CV (Curriculum Vitae) ในการยื่นสมัครเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา


ที่มา : 
www.thaiedreform.org
www.thepotential.org
www.thaipost.net