สอบเข้ามหาวิทยาลัย

ประวัติการศึกษา (ว่าที่)นายกฯ จากพรรคการเมืองดัง

มาแรงไม่แพ้ TCAS 62 ก็กระแสการเลือกตั้ง 62 นี่แหละ!! น้องๆ คนไหนที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ในปีนี้ คงตื่นเต้นไม่น้อยที่จะได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรกกัน ซึ่งตอนนี้แต่ละพรรคก็มีการเสนอชื่อผู้เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (Candidate) ของพรรคตัวเองกันมาครบแล้ว

และเนื่องจากเว็บไซต์ของเราเกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนั้นบทความนี้ AdmissionPremium จึงได้รวมรวบข้อมูลสำคัญของผู้ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของแต่ละพรรคว่า แต่ละคนมีดีกรีจบการศึกษามาจากสาขาและมหาวิทยาลัยไหนกันบ้าง มาดูเลย
 


พรรคเพื่อไทย

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 

มัธยมศึกษา : โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ 

ปริญญาตรี : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการตลาด

ปริญญาโท : สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาบริหารธุรกิจการเงิน

 

รองศาสตราจารย์ ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

มัธยมศึกษา : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

ปริญญาตรี : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา (เกียรนิยมอันดับ1) 

ปริญญาโท : สถาบันเทคโนโนโลยีแมสซาชูเซสต์ สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง 

ปริญญาเอก : มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ รัฐชิคาโก้ ประเทศสหรัฐอเมริกา สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง

 

ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยเกษม นิติสิริ

มัธยมศึกษา : โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก 

ปริญญาตรี : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์ แผนกนิติศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา

ปริญญาโท : มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา สาขากฎหมาย


 

พรรคประชาธิปัตย์

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

มัธยมศึกษา : Eton College ประเทศอังกฤษ

ปริญญาตรี : มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สาขาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ปริญญาโท : มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

ปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 

 

 

พรรคพลังประชารัฐ

พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา

มัธยมศึกษา : โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 12 

เรียนต่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) รุ่น 23 เหล่าราบ และหลักสูตรเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 63 



พรรคอนาคตใหม่

นายธนาธร จึงรุ่งเรื่องกิจ

มัธยมศึกษา : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

ปริญญาตรี : หลักสูตรวิศวกรรมบัณฑิตสองสถาบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม ประเทศอังกฤษ

ปริญญาโท : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง

    มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา สาขาการเงินระหว่างประเทศ 

    มหาวิทยาลัยซังคท์กัลเลิน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สาขากฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ



จะเห็นได้ว่าผู้สมัครที่เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแต่ละคน ล้วนมีดีกรีการศึกษาที่ไม่ธรรมดา จบจากสาขาเด่นและมหาวิทยาลัยดังทั้งในและต่างประเทศ นี่เป็นอีกตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า การศึกษาเป็นบันไดที่จะช่วยนำพาให้ชีวิตเราดีขึ้น และเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า 

 

 

ที่มา: 
thestandard.co
kapook.com
www.thairath.co.th
www.thairath.co.th
www.thairath.co.th
www.thairath.co.th
www.thairath.co.th

matichon.co.th