สอบเข้ามหาวิทยาลัย

6 สิ่งควรเตรียมไว้ใส่ Portfolio

6 สิ่งควรเตรียมไว้ใส่ Portfolio



ใกล้เข้ามาแล้ว กับ TCAS รอบที่ 1 รอบ Portfolio ซึ่งเป็นรอบที่เหมาะกับน้องๆ ผู้มีผลงานและผู้ที่ชื่นชอบทำกิจกรรมต่างๆ ที่จะร่วมกันชิ่งที่นั่งเพื่อเข้าเรียนในคณะที่ใช่ สาขาที่ชอบ และตามที่เรารู้ๆ กันว่าเมื่อปีที่แล้วที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้กำหนด Portfolio ของผู้สมัครไม่เกิน 10 หน้า แบบไม่รวมหน้าปก โดยที่ 10 หน้านั้นมหาวิทยาลัยมีสิทธิ์กำหนดได้เต็มที่ว่าต้องการให้นำเสนอข้อมูลในสัดส่วนแบบไหน  หรือถ้ามหาวิทยาลัยจะไม่กำหนดจำนวนหน้าของ Portfolio ก็เป็นไปตามมหาวิทยาลัยพิจราณา  โดยตาม Portfolio ที่ทปอ. กำหนดควรมีข้อมูลดังนี้
 
Portfolio 10 หน้า ควรมีอะไรบ้าง
หน้าที่ 0 | หน้าปก (ไม่นับรวมใน 10 หน้า)
หน้าที่ 1 | ประวัติส่วนตัว หรือแนะนำตัว
หน้าที่ 2 | ประวัติการศึกษา
หน้าที่ 3 | เหตุผลที่เลือกเรียนในคณะ/สาขา
หน้าที่ 4 – 7 | รางวัล ผลงาน และเกียรติบัตร
หน้าที่ 8 – 10 | กิจกรรม


ในการทำ Portfolio นั้นหากเรามีการเตรียมการไว้ก่อน ซึ่งอาจจะเป็นการเตรียมข้อมูล จัดลำดับรูปภาพความสำคัญไว้ ก็ทำให้น้องๆ มีเวลาที่จะได้ตรวจสอบข้อมูลของตัวเองนั้นได้ถูกต้อง วันนี้พี่จึงได้ทำข้อมูลดีๆ มาฝากน้องๆ กับ 6 สิ่งควรเตรียมไว้ใส่ Portfolio จะมีอะไรที่น้องต้องเตรียมไว้ไปดูกับเลย!!!

1. หน้าปกและดีไซน์

แน่นอนว่าสิ่งแรกที่จะทำให้กรรมการเห็นและประทับใจนั้นคือ หน้าปกที่มาพร้อมกับดีไซน์ที่สวยงาม  สอดคล้องกับมหาวิทลัยหรือคณ/สาขาที่น้องๆ อยากเข้าศึกษาต่อ  แสดงออกถึงตัวตน และเอกลักษณ์ของน้องๆ ได้อย่างสวยงาม ในส่วนนี้พี่อาจจะต้องรบกวนน้องน้องๆ ศึกษารายละเอียดสักเล็กน้อยเกี่ยวกับข้อกำหนด กฏ กติกาต่างๆ เพื่อที่น้องๆ จะได้ไม้พลาดในรายละเอียดของหน้าปกไป แต่โดยทั่วไปแล้วก็จะประกอบไปด้วยข้อมูล ชื่อ-สกุล / โรงเรียน / คณะ / สาขา / มหาวิทยาลัยที่น้องๆ ต้องการยื่นสมัคร


2. ประวัติส่วนตัว / การแนะนำตัว

เมือดูจากหน้าปกแล้วสิ่งถัดมาที่กรรมการต้องการเลย คือ ต้องการทราบว่าน้องเป็นใคร? โดยในข้อมูลส่วนนี้น้องๆ ควรใส่ข้อมูลพื้นฐานให้ครบ เช่น ชื่อ - สกุล วันเดือนปีเกิด ชื่อเล่น ภูมินำเนา ผู้ปกครอง  เป็นต้น และควรนำเสนอข้อมูลที่ชี้ให้กรรมการเล็งเห็นถึงความสามารถพิเศษ  และทักษะที่น้องๆ ต้องการเข้าศึกษาต่อได้อย่างชัดเจน


3. ประวัติการศึกษา ผลการศึกษา

จากประวัติส่วนตัวแล้ว ก็มาสู่ประวัติการศึกษา ในส่วนนี้พี่ขอแนะนำ น้องๆ อาจจะทำเป็นตาราง แยกให้เห็นชัดเจนว่า ในระดับชั้นมัธยมต้อนต้น  มัธยมศึกษาตอนปลายนั้นน้องๆ เรียนที่ไหน และแสดงผลการเรียนอย่างชัดเจน โดยที่พี่อยากบอกว่าผลการเรียนเทอมนี้สำคัญมากๆ เพราะส่วนมากแล้วในรอบนี้จะรับผลการเรียน 5 เทอม ดังนั้นเทอมนี้น้องๆห้ามเท!!

4. เหตุผลที่เลือกเรียนในคณะ/สาขานี้

หนึ่งในข้อมูลที่กรรมการอยากทราบ   คือ เหตุผลที่น้องๆ อยากเข้าเรียนที่แสดง Passion รวมถึงทัษนคติที่สะท้อนตัวตนของน้องๆ  ที่สอดคล้องกับความสามารถที่น้องๆส่งมาควรเขียนเป็นเรียงความแบบย่อ  ความยาวไม่เกิน 1 หน้า A4 แต่บางโครงการจะกำหนดหัวข้อมาให้ ดังนั้นน้องๆ ควรศึกษาได้จากระเบียบการอีกครั้งก่อนลงมือทำ

5. รางวัล ผลงาน และเกียรติบัตร

สิ่งสำคัญที่สุดใน Portfolio นั้นคือ หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถรางวัลการรันตีต่างๆ  ทั้งระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ หรือจนกระทั้งระดับโลก โดยน้องๆ ควรเน้นผลงานที่โดดเด่น ได้รับรางวัลใหญ่ ไม่จำเป็นต้องใส่ทั้งหมด คัดเฉพาะรางวัลที่สอดคล้องกับคณะ/สาขา หรือโครงการที่น้องๆต้องการเข้าศึกษาต่อ

6.รูปภาพประกอบ/รูปภาพกิจกรรม

รูปภาพนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงหลักฐานอีกหนึ่งรูปแบบ ว่าเรานั้นได้ทำจริงปฏิบัติจริง และควรเลือกรูปภาพที่เห็นน้องๆ ได้ชัดเจน และเห็นถึงกิจกรรมที่น้องๆ ทำด้วย แม้หน้าตาอาจจะไม่สวยไม่หล่อสักเท่าไหร่ก็ไม่เป็นไร ขอให้องค์ประกอบของภาพที่นำเสนอนั้นครบถ้วน

เป็นยังไงกับบ้างน้องๆ กับสาระดีๆที่พี่นำมาฝากวันนี้ อย่าลืมที่กลับไปเตรียมตัวเตรียมข้อมูลไว้ให้ดีๆ นะ พอถ้าถึงเวลามาน้องจะได้ไม่พลาด และมานั่งเสียใจทีหลังอีก!!

ข้อมูลจาก >>>www.tcasportfolio.com