สอบเข้ามหาวิทยาลัย

เลือกเรียนธุรกิจการบินแบบไหน? รายได้ถึงจะเพิ่ม 2 เท่า

 
สาขาวิชาธุรกิจการบิน (Aviation Business) จะเป็นการเรียนทั้งด้านวิชาการ และปฏิบัติ ตั้งแต่การจัดการเฉพาะด้านธุรกิจการบิน ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับงานบริการและการปฏิบัติงานบริการบนเครื่องบิน เพื่อให้น้องๆ ไปปฏิบัติหน้าที่ทั้งในส่วนการบริการภาคพื้น และการบริการภาคอากาศได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเห็นได้ว่าโอกาสงานของคนที่จบจากสาขานี้ครอบคลุ่มทั้งงานบริหาร งานบริการ และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
 


ในปี 2561 ที่ผ่านมา มียอดผู้ใช้สนามบินของ บมจ. ท่าอากาศยานไทย (AOT) ทั้ง 6 แห่งได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิ, สนามบินดอนเมือง, สนามบินภูเก็ต, สนามบินเชียงใหม่, สนามบินเชียงราย และสนามบินหาดใหญ่ เป็นจำนวน 139.52 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 8 โดยแบ่งเป็น ผู้โดยสารภายในประเทศ 59.03 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 และผู้โดยสารระหว่างประเทศ 80.49 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ในขณะที่รัฐบาลไทยได้ผลักดันให้มีการขยายท่าอากาศยานภายใต้การดูแลของท่าอากาศยานไทย เพื่อรองรับผู้โดยสารจากเดิม 83.5 ล้านคนต่อปี เป็น 184 ล้านคนต่อปี
 
ธุรกิจการบินของไทยในอนาคตยังคงน่าจับตามอง สะท้อนได้จากปริมาณผู้โดยสารที่เดินทางมายังสนามบินในสังกัดของ บมจ.ท่าอากาศยานไทย และกรมท่าอากาศยานรวม 31 แห่งทั่วประเทศในช่วงปี 2555-2558 ที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 15.2 ต่อปี การเติบโตดังกล่าวเป็นไปในทิศทางที่สอดรับกันกับการเติบโตของธุรกิจการบินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความคึกคักเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ได้มีการพยากรณ์ว่าในปี 2578 จะมีผู้โดยสารที่มีจุดหมายปลายทางมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 2,360 ล้านคน หรือเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.0 ต่อปี
 


ในขณะที่ความต้องการบุคลากรด้านการบินของเอเชียจากการคาดการณ์ของ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ความต้องการบุคลากรด้านการบิน, บุคลากรด้านการควบคุมการจราจรทางอากาศ และช่างอากาศยานในภูมิภาคเอเชียจะมีมากถึง 40,000 คน
 
จากข้อมูลของบริษัทแอร์บัสได้คาดการณ์ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ทั่วโลกจะมีความต้องการเครื่องบินกว่า 4,000 ลำ  และมีความต้องการนักบินจำนวน 5.3 แสนคน และช่างซ่อมบำรุงจำนวน 5.5 แสนคน ในขณะที่บริษัทโบอิ้งระบุว่าทั่วโลกจะมีความต้องการเครื่องบินกว่า 41,000 ลำ และมีความต้องการนักบินจำนวน 6.17 แสนคน ตลอดจนช่างซ่อมบำรุงจำนวน 6.79 แสนคน
 

เลือกเรียนแบบไหนรายได้สูง

เชื่อว่าหลายๆ คนที่กำลังพิจารณา หรือเลือกที่จะเรียนด้านธุรกิจการบิน จะต้องมีความชอบ ความรักในสายงานการบริหาร การบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านการบินเป็นต้นทุนแรกอยู่แล้ว แต่ถ้าหากต้องการที่จะจบออกมามีงานรองรับไม่ตกงาน และที่สำคัญมีรายได้สูง ก็ต้องเลือกที่เรียนดีๆ กันหน่อย
 


สาขาที่จะทำให้จบออกมามีงานทำรายได้สูง ต้องให้ความสำคัญกับทั้ง 3 ด้าน คือทั้งความรู้ทางด้านภาษา วิชาการ และการปฏิบัติงาน เหมือนกับที่ สาขาวิชาธุรกิจการบิน วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน College of Aviation Development and Training (CADT) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ที่จะทำให้น้องๆ จบออกมามีความรู้ความสามารถทางวิชาการและการจัดการธุรกิจการบิน มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับงานบริการและการปฏิบัติงานบริการบนเครื่องบินได้เป็นอย่างดี เพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ทั้งในส่วนการบริการภาคพื้น และการบริการภาคอากาศ เช่น พนักงานฝ่ายการโดยสาร พนักงานฝ่ายบัตรโดยสารและสำรองที่นั่ง ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายการตลาด และพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เป็นต้น ตลอดจนเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานสายการบินทั้งของภาครัฐและเอกชน ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
 


เน้นความรู้ความสามารถทางวิชาชีพหรือด้านปฏิบัติการ (Operation) โดยวิทยาลัยมี Mock Up ที่ใช้ในการศึกษาภาคปฏิบัติของนักศึกษาเป็นเครื่องบินแบบ A300-600 โดยมีอุปกรณ์การฝึกที่ครบสมบูรณ์เสมือนจริง รวมทั้งห้องปฏิบัติการต่างๆ จากอาจารย์ผู้สอนที่มีประสบการณ์ตรง
 


นอกจากนี้ยังต้องมีความสัมพันธ์และการร่วมมือกับองค์กรในอุตสาหกรรมการบิน ซึ่ง CADT ได้ทำการลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการ (MOU) กับหน่วยงาน และองค์กรในอุตสาหกรรมการบินต่างๆ เช่น สายการบินนกสกู๊ต บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัทคิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ สายการบิน MJets เป็นต้น รวมถึงได้สร้างความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือกับองค์กรด้านการบินต่างๆ อีกมากมาย เช่น สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สายการบินไทยสมายล์ สายการบินไทย สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ และสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค เป็นต้น
 

4 ปีเรียนอะไรบ้าง

การเรียนการสอนใน ที่ สาขาวิชาธุรกิจการบิน วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จะเน้นทั้งด้านภาษา วิชาการ และการปฏิบัติ ทำให้มีวิชาเรียนที่หลากหลาย ดังนั้นจึงจะขอยกเอาวิชาที่มีความน่าสนใจมาเป็นตัวอย่างกันก่อน เช่น


 
  • วิชาการบริการบนเครื่องบิน
  • วิชาการบริการภาคพื้นดิน
  • วิชาการสำรองที่นั่งและออกบัตรโดยสารเครื่องบิน
  • วิชาคลังสินค้าทางอากาศ
  • วิชาครัวการบิน
  • วิชาการตลาดในธุรกิจการบิน
 

การรับสมัคร

สมัครออนไลน์ใน 5 ขั้นตอน

  1. กรอกข้อมูลผู้สมัคร ที่ www.dpu.ac.th/onlineadmission/
  2. ชำระเงินลงทะเบียนนักศึกษา ยื่นกู้รายใหม่ 2,000 บาท  / ทุนตัวเอง จ่ายขั้นต้น 10,000 บาท
  3. ตรวจสอบข้อมูล แจ้งหลักฐานการชำระเงิน
  4. รออีเมลยืนยันการสมัคร
  5. มารายงานตัวที่มหาวิทยาลัย
 

ข้อมูลติดต่อ


COLLEGE OF AVIATION DEVELOPMENT AND TRAINING (CADT)
วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 110/1-4 ถนนประชาชื่น หลักสี่ กทม. 10210
โทรศัพท์ : 02-588-6060 ต่อ คณบดี 101, เลขา 100, อาจารย์อาคาร A 109, อาจารย์อาคาร B 102
โทรศัพท์มือถือ : 092-549- 8992
Facebook : www.facebook.com/dpu.cadt
Instagram : dpu.cadt
Twitter : @DpuAviation
Line : @cadt
 
 
 
 
อ้างอิง
https://cadt.dpu.ac.th/
https://www.thansettakij.com/content/102184
https://positioningmag.com/1195077
https://www.thaipost.net/main/detail/5201