สอบเข้ามหาวิทยาลัย

รีวิว 7 คณะยอดฮิต สายวิทย์เทคโนโลยี

ข่าวดีของเด็กสายวิทย์ และน้องๆ ที่กำลังมองหารีวิวคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี บทควงามนี้ Admission Premium จัดให้!! โดยเราจะจะรวมคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับแต่ละคระสาขาที่เกี่ยวข้องทางด้านนี้ อย่างเช่น เรียนอะไร จบไปทำอาชีพอะไร เหมาะกับใครบ้าง มารีวิวแบบสั้นๆ ง่ายๆ แต่ได้ใจความแน่นๆ กับสายวิทย์เทคโนโลยี ทั้ง 7 คณะ 7 สไตล์ มาดูกันว่าคณะสาขาไหนจะเหมาะกับเรา


คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
- เรียน 4 ปี ส่วนใหญ่จะมีสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาและยั่งยืน สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- เหมาะกับคนที่ชอบวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีเป็นทุนเดิม ชอบค้นคว้าหาสิ่งใหม่ๆ ช่างตั้งคำถามและหาคำตอบ และไม่หยุดพัฒนาตัวเอง
- จบมาทำได้หลากหลายอาชีพ เช่น โปรแกรมเมอร์ วิเคราะห์และออกแบบระบบงานทางคอมพิวเตอร์ ออกแบบและบำรุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ พัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่


คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร
- เรียน 4 ปี จะได้ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีนำมาประยุกต์ใช้กับการเกษตรทั้งการผลิตพืชและสัตว์ รวมถึงการรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศ
- เหมาะกับคนที่มีใจรักด้านการเกษตร เพราะจะได้คลุกคลีกับพืชและสัตว์ตลอดการศึกษา
- อาชีพสายการเกษตรค่อนข้างเฉพาะทาง เช่น อาจารย์ นักวิชาการเกษตร นักวิจัย และนักส่งเสริมการเกษตร หรือสายราชการอย่าง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น


คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ
- เรียน 4 ปี สาขาการเรียนก็จะเกี่ยวข้องกับการแพทย์เป็นหลักเช่น สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และห้องผ่าตัด สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานพยาบาล สาขาการจัดการสาธารณภัย
- เรียนเกี่ยวกับการประเมินความเหมาะสมเครื่องมือแพทย์ จัดเตรียมและติดตั้งเครื่องมือแพทย์ การเฝ้าระวังและติดตามการทำงานเครื่องมือแพทย์
- มีอาชีพให้ทำหลากหลาย เช่น นักปฏิบัติการเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และห้องผ่าตัด นักเทคโนโลยีคลินิก นักอุปกรณ์ชีวการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ หรือการประยุกต์ใช้งานเครื่องมือแพทย์


คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง
- เรียน 4 ปี มีสาขาแยกอย่าง สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและสิ่งแวดล้อม และสาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง
- จะได้เรียนเจาะลึกกับสิ่งมีชีวิตในทะเลเป็นส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ วิทยาศาสตร์ทางน้ำ เทคโนโลยีการเก็บรักษาและแปรรูปสัตว์น้ำ รวมถึงศึกษาด้านการประมง
- เมือจบการศึกษามีอาชีพรองรับอย่าง นักวิชาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ นักวิชาการด้านการสำรวจสมุทรศาสตร์ นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล และมีหน่วยงานอื่นๆรองรับอีกเช่น กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ บริษัทที่ปรึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อม สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ


คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
- เรียน 4 ปี โดยจะได้เรียนวิทยาศาสตร์ชีวภาพและกายภาพ (ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์) และวิศวกรรมศาสตร์ (เทคโนโลยีการผลิต)
- ไม่ได้เรียนทำอาหาร แต่เรียนเจาะลึกถึงกระบวนการผลิตอาหาร เข้าห้องแล็บ
- อาชีพหลังเรียนจบสามารถเป็นได้ทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตหรือควบคุมคุณภาพอาหาร นักวิเคราะห์วิจัยอาหาร ที่ปรึกษาระบบประกันคุณภาพอาหาร เจ้าหน้าที่ฝ่ายประกันคุณภาพอาหาร เจ้าหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร


คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์
- เรียน 4 ปี คณะนี้จะมีสาขาวิชารวมกันทั้งวิชาวิทย์และวิศวะดังนี้ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (บางสถาบันจะเป็นหลักสูตรนานาชาติ)
- คณะนี้แบ่งเป็น 2 วุฒิปริญญา คือ วทบ. วิทยาศาสตร์บัณฑิต และ วศบ. วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต


คณะวิทยาศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม
- เรียน 4 ปี หลายสถาบันจะมี 2 สาขาหลักดังนี้ สาขากระบวนการอุตสาหกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม สาขาเทคโนโลยีพลังงานและการจัดการ (บางสถาบันมีปริญญาตรีควบ 4+1 ปี ด้วยนะ)
- เหมาะกับคนที่รักสิ่งแวดล้อม ช่างคิดวิเคราะห์ 
- สายงานค่อนข้างเฉพาะทางอย่างเช่น นักวิชาการ/นักวิทยาศาสตร์ด้านพลังงานและการจัดการพลังงาน นักวิเคราะห์ระบบและตรวจสอบงานพลังงานในภาคอุตสาหกรรม ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในโรงงานควบคุม ผู้ช่วยนักวิจัยและนักพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานและการจัดการ ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในอาคารควบคุม ตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือวิเคราะห์ทางเคมีและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น


ต้องบอกก่อนเลยว่า คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ค่อนข้างมีความหลากหลายในการเรียนเพราะมีคณะที่เน้นสอนเฉพาะทางที่เยอะอีกทั้งยังรองรับนักศึกษาในจำนวนมากๆอีกด้วย อีกทั้งคณะและสาขาในแต่ละสถานศึกษาอาจมีความแตกต่างกันบ้าง ขึ้นอยู่กับทางสถาบันนั้นเป็นผู้กำหนดอาจจะทำให้สับสนได้ต้องเช็คก่อนยื่นสอบด้วยนะคะ และหากมีคณะหรือวิทย์แขนงใหม่ขึ้นมา ทางเราจะรีบนำมาแนะนำและแนะแนวน้องๆ ทันที