สอบเข้ามหาวิทยาลัย

7 ทริคเด็ดสำหรับ เด็กจบใหม่ ในยุคโควิด-19 ทำยังไงให้ได้งาน

สำหรับน้องๆ ที่กำลังจะเรียนจบ หรือคนที่กำลังเรียนอยู่ ไม่อยกาเรียนจบมาแล้วเตะฝุ่น ยื่นสมัครงานที่ไหนก็มีแต่รอการตอบกลับ หรือสัมภาษณ์แล้วแต่โดนปฏิเสธด้วยคำว่า "ไม่มีประสบการณ์" ไม่อยากจบมาเตะฝุ่นตกงาน ไม่แน่ใจเลยว่าจะต้องเตรียมตัวหรือเตรียมประสบการณ์ยังไงบ้าง? เด็กจบใหม่ ในยุคโควิด-19 อย่างเรา จะทำยังไงให้ได้งาน? จะแข่งกับคนอื่นๆ ได้ยังไง?

นอกจากทักษะด้านอาชีพการทำงานแล้ว อะไรคือสิ่งที่นายจ้างมองหาจาก เด็กจบใหม่ ในยุคโควิด-19 ? บทความนี้เรามีข้อมูลเด็ดจาก jobsDB (เว็บไซต์หางานชื่อดัง) ที่จะช่วยให้น้องๆ บัณฑิตจบใหม่พิชิตงานแรกได้แบบไม่ต้องมีประสบการณ์ มาดูกันว่าจริงๆ แล้วนายจ้างหรือผู้ประกอบการเข้าต้องการอะไรจากเด็กจบใหม่อย่างเรา และนี่คือ 7 ทริคเด็ดสำหรับ เด็กจบใหม่ ในยุคโควิด-19 อยากได้ใจนายจ้าง ทำแบบนี้สิได้งาน


เรซูเม่ที่กระชับและตรงประเด็น
มีคู่แข่งอีกมากมายที่พร้อมยื่นใบสมัครในตำแหน่งที่เราเล็งอยู่ เพราะฉะนั้น อย่าลืม เรซูเม่ของเรา คือด่านแรกของเราต้องดึงดูดและดูน่าประทับใจ ควรมีเนื้อหากระชับ ชัดเจน ระบุประสบการณ์ที่โดดเด่นซึ่งสื่อถึงความสามารถที่เรามีได้เป็นอย่างดี และแนะนำว่าควรทำเป็นเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษเอาไว้ ในรูปแบบที่มีตัวหนังสือไม่เยอะ พร้อมกับดีไซน์หรือจัดรูปแบบให้ดูคลีน อ่านง่าย และน่าสนใจ

ประสบการณ์ฝึกงานและผลงานที่โดดเด่น
หลายคนอาจเถียงว่า เด็กจบใหม่จะไปมีประสบการณ์ได้อย่างไร แต่คำว่าประสบการณ์สำหรับน้องๆที่ เพิ่งจบใหม่จะหมายถึง การทำกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัย โปรเจคฝึกงาน หรืองานเสริมที่น้องๆ เคยทำที่ดูน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นงานประกวดตามโครงการต่างๆ การฝึกงาน ทำงานพาร์ทไทม์ หรือโครงงานตอนเรียนที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหน หากตรงกับงานที่เรากำลังจะสมัครก็สามารถนำมาใส่ในเรซูเม่ได้เลย

พัฒนาตัวเอง หาทักษะเพิ่มความรู้ใหม่อยู่เสมอ
การลงเรียนคอร์สเรียนออนไลน์ต่าง ๆ ที่มีเปิดสอนทั่วไปในอินเตอร์เน็ท เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้นายจ้างเห็นว่าเราเป็นคนที่ไม่หยุดที่จะพัฒนาตัวเอง ยิ่งคอร์สไหนที่เมื่อเรียนจบแล้วได้รับใบ Certificate ด้วย ยิ่งเป็นสิ่งที่เราจะนำไปอ้างอิงในเรซูเม่ได้เป็นอย่างดี หรือจะลงเรียนคอร์สที่สอน Soft skills ต่าง ๆ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะทุกวันนี้สิ่งที่นายจ้างมองหาคือคนที่มีสกิลความสามารถหลากหลาย พร้อมทำงานให้องค์กร และสามารถเอาตัวรอดได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ

ความเชี่ยวชาญด้านการใช้เทคโนโลยี
เพราะเราอยู่ในช่วงที่หลาย ๆ บริษัทต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมเพื่อให้ทุกคนทำงานได้ในภาวะ Social Distancing ทำให้การประชุมออนไลน์ หรือ Video Conference เป็นเรื่องปกติมาก แม้แต่การทำงานบางขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนงาน การสั่งงาน หรือส่งงาน ก็อาจจะทำงานผ่านโปรแกรมออนไลน์ จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่นักศึกษาจบใหม่จะต้องมีพื้นฐานการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นอย่างดี อาจจะลองใช้เล่นกับเพื่อนและฝึกเรียนรู้ฟีเจอร์ใหม่ 

ทักษะการคิดวิเคราะห์ที่ยอดเยี่ยม
องค์กรส่วนใหญ่มักมองหาคนที่มองเห็นปัญหาแล้วนำมาวิเคราะห์ถึงต้นตอ ไปจนถึงการหาทางแก้ไขที่จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดในระยะเวลาอันรวดเร็ว เป็นคนที่เจอปัญหาแล้วไม่ยอมแพ้ แต่ใช้วิธีวิเคราะห์เพื่อหาทางออกที่ลงตัวที่สุด เด็กจบใหม่อาจจะฝึกทักษะด้านการคิดวิเคราะห์เพิ่มเติมได้จากเรื่องทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน เช่น ข่าวที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ ถ้าเป็นเราจะแสดงออก ให้ทำอย่างไรให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด หรือจะเป็นการลองวางแผนวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อยของตัวเอง หาทางพัฒนาตัวเองเพื่อให้ได้งานก็ได้

ทักษะการจัดการอารมณ์ขณะสัมภาษณ์งาน
เมื่อน้องๆ จบใหม่ไม่มีประสบการณ์ทำงานเพียงพอ จึงต้องแสดงให้เห็นถึงทักษะทางด้านนี้ ซึ่งนายจ้างจะมองว่าเป็นข้อได้เปรียบหรือข้อดีเข้ามาช่วยเสริมตรงจุดด้อยของเราได้ เช่น เมื่อมีนัดสัมภาษณ์งาน น้องๆ ต้องมีการเตรียมตัว เตรียมข้อมูลตอบคำถามให้มั่นใจ ฉะฉาน มีการแสดงทักษะทางอารมณ์ที่สุขุมและมีไหวพริบให้เห็น เพื่อป้องกันอาการล่กเพราะไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ทำงานมาโดยตรง ลองเตรียมตัวคำพูดถึงทักษะที่มีผลต่อการตำแหน่งงานและหลังจากที่คุณเข้าไปทำงานแล้วเราจะใช้ทักษะดังกล่าวแบบใดต่อบ้าง ร้อยเรื่องราวเข้าด้วยกัน หากยังนึกไม่ออก ลองคิดถึงการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการใช้ทักษะทางด้านอารมณ์ที่ทุกคนสามารถพัฒนากันได้ หรือ หากจะสมัครงานในแผนกการตาด ลองเช็คจากสื่อโซเชียล วิเคราะห์ปัญหาและสร้างแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือวิธีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อแสดงให้นายจ้างเห็นว่าถึงแม้คุณจะไม่มีประสบการณ์ในการทำงานแต่เราก็มีความพยายามเพื่อให้ได้ทำงานที่นี่ และยังแสดงให้เห็นถึงวิธีการคิดอันเป็นระบบและทักษะการแก้ไขปัญหาอีกด้วย


ทัศนคติที่ดี มี Growth Mindset 
หลาย ๆ บริษัทมองหาคนที่มี Growth Mindset มากกว่าคนที่เก่งมาก แต่ไม่ยอมปรับตัว เพราะนายจ้างเชื่อว่าคนที่มีทัศนคติเชิงบวก พร้อมปรับตัวให้ผ่านพ้นวิกฤตได้ตลอดเวลา คือคนที่จะสามารถทำงานภายใต้ภาวะไม่ปกติ และสามารถช่วยนำพาบริษัทให้ไปรอดได้ด้วยวิธีการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ต่างๆได้ และยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นคนที่พร้อมจะเรียนรู้งานใหม่ๆและไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่กลัวที่จะล้ม และยังสามารถลุกขึ้นมาใหม่ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย



ขอบคุณข้อมูลจาก jobsdb.com